ถาเพื่อความมั่นใจค่ะเรื่องหมดอายุความ

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20824 โดย poohhaha
ได้อ่านบทความในเวบนี้มาบ้างเเล้วเเต่อยากถามเพื่อความมั่นใจ
พอดีได้หมายศาลมาที่บ้านหมายลงวันที่ 23 สิงหาคม 2555
การนับเรื่องการหมดอายุความเท่าที่อ่านดูคือวันที่เราผิดนัดชำระเงินในกรณีของเราคือ
งวดที่ 1 มีข้อความระบุ กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 1 มิย 50
งวดที่ 2
งวดที่ 3 มีข้อความระบุ กรุณาชำระเงินภายในวันที่ 1 ส.ค 50 ไม่ได้ชำระค่ะ
งวดที 4 เเจ้งว่าให้ชำระเงินทันที่
เเละไม่ได้ติดต่อกันเลยกับทางสถาบันการเงินนี้เนื่องจากย้ายบ้านเเละลาออกจากงาน มาขายของตามตลาดนัด
กรณีนี้คือเป็นการขอสินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปีใช่ไหม
เเล้วเเบบนี้จะถือได้ว่าหมดอายุความไหมค่ะ

สินเชื่อควิกเเคช ค่ะ

รบกวนไขข้อข้องใจให้ด้วยนะคะด้วยนะคะจะได้ไปเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล..ขอบคุณค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20835 โดย ntps
อ่านก่อนตั้งกระทู้ค่ะ





คำถามของคุณ หาคำตอบได้ในกระทู้นี้

อายุความในการฟ้องร้อง คดีแพ่ง (หนี้เงิน)

อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี

สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับผู้รู้ทางกฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ

- หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี
- หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 10 ปี
- หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล...อายุความ = 5 ปี (สัญญากู้ยืมที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ)
- หนี้เงินกู้...อายุความ = 10 ปี (สัญญากู้ยืมที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว)
- หนี้ที่เกิดจาก สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...พวกเรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า
นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง

ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ

ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20837 โดย poohhaha
ขอบคุณที่เเวะมาตอบนะคะ

งั้นในกรณีนี้ก็ถือว่าหมดอายุความเเล้วใช่ไหมค่ะ เพราะถ้าเอาเรื่องไปเเย้งในชั้นศาลโดยที่ยังไม่เเน่ใจกลัวว่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20838 โดย jackTs

poohhaha เขียน: กรณีนี้คือเป็นการขอสินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปีใช่ไหม

ใช่ครับ


poohhaha เขียน: เเล้วเเบบนี้จะถือได้ว่าหมดอายุความไหมค่ะ

ต้องใช้คำว่า"ขาดอายุความ"ครับ...ไม่ใช่"หมดอายุความ"


poohhaha เขียน: รบกวนไขข้อข้องใจให้ด้วยนะคะด้วยนะคะจะได้ไปเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล..ขอบคุณค่ะ

การไปขึ้นศาล มีอยู่ 3 แนวทาง...ดังนี้


1. ไปศาลเพื่อไปต่อสู้คดี เพื่อให้รู้ผล แพ้-ชนะ คดี กันไปข้างหนึ่ง ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่งแนวทางนี้ จะต้องเขียน คำให้การในการต่อสู้คดี โดยใช้แบบฟอร์มของศาลที่มี“ตราครุฑ” ๑๑(ก.) สำหรับคดีแพ่ง หรือแบบฟอร์ม ผบ.๓ สำหรับคดีผู้บริโภค โดยเขียนคำให้การต่อสู้เป็นภาษากฏหมาย ซึ่งถ้าเขียนเองไม่เป็น ก็ต้องจ้างทนายช่วยเขียนให้

ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้

หากจำเลยไม่เขียนคำให้การไปยื่นต่อศาล...ศาลจะถือว่าจำเลยมีเจตนา“ไม่ต้องการสู้คดี” ต่อให้จำเลยมีหลักฐานอันแน่นหนาว่า โจทก์โกง , โจทก์ผิดกฏหมาย , โจทก์ฉ้อฉล , คดีขาดอายุความไปแล้ว...ฯลฯ ศาลท่านก็จะไม่พิจารณาตามหลักฐานดังกล่าวเลย เพราะถือว่า จำเลยไม่ยอมปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของศาล


อ้างอิงข้อมูลจาก
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=9240&Itemid=29


ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป


อ้างอิงข้อมูลจาก
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: poohhaha

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20841 โดย poohhaha
ขอบคุณมากกค่ะ สำหรับคำตอบ ที่ทำให้ใจชื้นขึ้นมาอีกหลังจากที่นอนไม่หลับทั้งคืน

สรุป คือ ขาดอายุความ จะได้นำไปเเย้งต่อศาล

ขอบคุณมากค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20883 โดย Pych

poohhaha เขียน: ขอบคุณมากกค่ะ สำหรับคำตอบ ที่ทำให้ใจชื้นขึ้นมาอีกหลังจากที่นอนไม่หลับทั้งคืน

สรุป คือ ขาดอายุความ จะได้นำไปเเย้งต่อศาล

ขอบคุณมากค่ะ


อย่าลืมที่พี่นกกระจอกเทศบอกไว้นะครับว่า

ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: ntps

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #20903 โดย jackTs

poohhaha เขียน: ขอบคุณมากกค่ะ สำหรับคำตอบ ที่ทำให้ใจชื้นขึ้นมาอีกหลังจากที่นอนไม่หลับทั้งคืน

สรุป คือ ขาดอายุความ จะได้นำไปเเย้งต่อศาล

ขอบคุณมากค่ะ


เฮ้ออออ...สงสัยคงต้องตอบให้ฟังดังๆอีกครั้งแล้วมั๊งครับเนี่ย

จะต้องเขียน คำให้การในการต่อสู้คดี โดยใช้แบบฟอร์มของศาลที่มี“ตราครุฑ” ๑๑(ก.) สำหรับคดีแพ่ง

หรือแบบฟอร์ม ผบ.๓ สำหรับคดีผู้บริโภค

โดยเขียนคำให้การต่อสู้เป็นภาษากฏหมาย ซึ่งถ้าเขียนเองไม่เป็น ก็ต้องจ้างทนายช่วยเขียนให้




ขอย้ำว่า...การต่อสู้คดีบนชั้นศาล จะต้องยื่นคำให้การด้วยทุกครั้ง

ไม่สามารถสู้คดีด้วยปากเปล่าได้




หากจำเลยไม่เขียนคำให้การไปยื่นต่อศาล...

ศาลจะถือว่าจำเลยมีเจตนา“ไม่ต้องการสู้คดี”

ต่อให้จำเลยมีหลักฐานอันแน่นหนาว่า

โจทก์โกง , โจทก์ผิดกฏหมาย , โจทก์ฉ้อฉล , คดีขาดอายุความไปแล้ว...ฯลฯ

ศาลท่านก็จะไม่พิจารณาตามหลักฐานดังกล่าวเลย

เพราะถือว่า จำเลยไม่ยอมปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของศาล

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: ntps

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.505 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena