สารพันสรรสาระ และข่าวสารเพื่อเพื่อนชาวหนี้ ปี 55-56

11 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #26019 โดย Mommyangel
คราวนี้มาว่ากันเรื่องค่าลดหย่อน...นอกจากค่าใช้จ่ายแล้วก็ยังมีค่าลดหย่อน...ซึ่งเยอะ...มีข้อแม้และเงื่อนไขมากมาย....เกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น...ให้ดูตัวเองก่อน

มาตรา 47 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกต่อไปนี้
(1) ลดหย่อนให้สำหรับ
(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย
(1) ที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือ ที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท
(2) ที่เกิดหลัง พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน
ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้งตาม (1) และ (2) การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้นำบุตรตาม (1) ทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป จะนำบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) จำนวนไม่ถึงสามคนให้นำบุตรตาม (2) มาหักได้โดยเมื่อรวมกับบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน
การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42
การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้แต่ฐานะเดียว
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(ง) เบี้ยประกันภัยที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
( ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2534 เป็นต้นไป )
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับการประกันชีวิตของสามีหรือภริยานั้นตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 ใช้บังคับปีภาษี 2517 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509 ข้อ 2 (61) )
(จ) ( ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2525 เป็นต้นไป )
(ช) เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตามมาตรา 65 ตรี (2) ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
( แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2534 เป็นต้นไป )
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเงินสะสมของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526 ใช้บังคับปีภาษี 2527 เป็นต้นไป)
(ซ) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน10,000 บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาคารดังกล่าวให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
( แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2534 เป็นต้นไป )
(ฌ) เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2533 ใช้บังคับ 3 ก.ย. 2533 เป็นต้นไป )
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าว ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
“(ญ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาทโดยบุคคลดังกล่าวต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2547 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2548 เป็นต้นไป”
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 ใช้บังคับ 13 มกราคม 2548 เป็นต้นไป )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) )
( ดูประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ )
“(ฎ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละหกหมื่นบาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการ และคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ที่อธิบดีประกาศกำหนด
การหักลดหย่อนสำหรับบุตรบุญธรรม ให้หักได้ในฐานะบุตรบุญธรรมเพียงฐานะเดียว
ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป”
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ. ๒๕๕๒ ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป )
(2) ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อนตาม (1) (ก) และ (ข) ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตาม (1)(ก) และสำหรับการหักลดหย่อนตาม (ค) (ฉ) และ (ซ) ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(3) ในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนตาม (1)(ข)(ค) และ(ฉ) ให้หักได้เฉพาะสามีหรือภริยาและบุตรที่อยู่ในประเทศไทย
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2525 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(4) ในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ใช้บังคับปีภาษี 2505 เป็นต้นไป)
(5) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดก ให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
(6) ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้หักลดหย่อนได้ตาม (1)(ก) สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับปีภาษี 2535 เป็นต้นไป )
(7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1)(2)(3)(4)(5) หรือ (6) แล้วเหลือเท่าใด ให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น
(ก) เงินที่บริจาคแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ
(ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือแก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กล่าวใน (ก) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 ใช้บังคับปีภาษี 2509 เป็นต้นไป )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 274) พ.ศ. 2537 )
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 317) พ.ศ. 2541 )
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )


ตรงนี้ ก๊อปปี้มาวาง...มิได้พิมพ์เอง..กลัวพิมพ์ผิด...อ่านแล้วตาลาย....

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #26021 โดย Mommyangel
ตรงนี้ เป็นข้อกฎหมาย...ไว้เรามาพูดกันแบบชาวบ้านคราวหลังนะคะ

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26107 โดย น้ำมนต์
ขออนุญาตินำข้อธรรมะเล็กๆ น้อยๆ มาฝากที่กระทู้นี้ค่ะ


ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26118 โดย june
ขออนุญาตเฮียเหนอเข้ามาแจมด้วยนะคะ

ฝึกมองโลกในแง่ดี แล้วเราจะพบว่า สุขภาพจิตดี ก็คือ
สุขภาพความคิดที่ดี 29 วิธีการ ในการใช้ชีวิตให้มีความสุขสำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนตัวเอง

1). อย่าทำลายความหวังใคร เพราะเขาอาจมีความหวังเหลืออยู่เท่านั้นก็ได้
2). เมื่อมีคนเล่าว่าตัวเขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องคุยทับ
ปล่อยให้เขาฟุ้งไปตามสบาย
3). รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆ เท่านั้น
4). หยุดอ่านสถานที่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ริมทางเสียบ้าง
5). จะคิดการใดๆจงคิดการให้ใหญ่ๆเข้าไว้ และเติมความสุขสนุกสนานลงไปด้วย
6 ). หัดทำสิ่งดีๆ ให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
7). จำไว้ว่าข่าวทุกชนิด ล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8). ใครจะวิจารณ์เราอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องเสียเวลาโต้ตอบ
9). ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่สอง
10). อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุขก็ลาออกไป
11). ทำตัวให้สบายอย่าคิดมาก อะไรๆมันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ที่แรกซะทุกที
12). ใช้เวลาให้น้อยในคิดว่า “ใครผิด” แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า อะไรคือสิ่งที่ "ถูก"
13). เราไม่ได้ต่อสู้กับ “คนโหดร้าย” แต่เราสู้กับ “ความโหดร้าย”
14). คิดอะไรให้รอบคอบ ก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
15). เมื่อมีคนสวมกอดคุณด้วยความรักและความยินดี ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
16). ยอมที่จะแพ้สงครามย่อยๆ หากแพ้นั้นจะทำให้เราชนะสงครามใหญ่ๆ
17). เป็นคนถ่อมตัวบ้าง
18). ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายเพียงใด...สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
19). อย่าไปหวังเลยว่า ชีวิตนี้จะมีความยุติธรรมอยู่ตลอดเวลา
20). อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย
21). อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็คือ 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากับคนอื่นๆ
22). เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกับไปดูอดีตเราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำ
แล้วไม่ได้ทำมากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
23). ประเมินด้วยมาตรฐานของตัวเอง ไม่ใช่มาตรฐานของคนอื่น
24). จริงจังและเคี่ยวเข็ญต่อตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
25). ความคิดดีบางทีอาจมาจากบุคคลที่มีความคิดอยู่เพียงผู้เดียว แต่ไอเดียดีๆ
ใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้หลายครั้งก็มาจากผู้อื่นได้มี
ส่วนออกความเห็นร่วมกับเราบ้าง
26). คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผยอ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็นแบบเด็กๆบ้าง
27). ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานที่เขาทำนั้นจะต่ำต้อย
หรือเล็กเพียงใด
28). คำนึงการมีชีวิตให้ “กว้างขว้าง” มากกว่าการมีชีวิตที่ “ยืนยาว”
29). มีมารยาทและให้เกียรติกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ คนมองโลกในแง่ดี จะมีความสุข
และจะก้าวผ่านช่วงต่างๆ ในชีวิตไปได้อย่างไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องหนักหนาเกินกว่าจะรับมือไหว



รักษาเกียรติของคุณไว้
เมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างไม่สุภาพ...
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, ntps, Champcyber99, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26245 โดย Mommyangel
มาต่อเรื่องการยื่นแบบนะคะ..

เมื่อเรารู้ประเภทของเงินได้แล้ว...รู้ค่าใช้จ่าย..รู้ค่าลดหย่อนแล้ว...คราวนี้ก็มาคยื่นแบบชำระภาษีกันนะคะ

อย่างที่บอก...การยื่นแบบ..มีสองประเภท..คือ แบบ ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.90

ลักษณะ หลักเกณฑ์และวิธีการเสียภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา มี 2 วิธี

วิธีที่ 1
(1) เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
(2) เงินได้สุทธิ X อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = ภาษีที่ต้องชำระ


วิธีที่ 2
เงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป X 0.005 = ภาษีต้องชำระ นำภาษีที่ต้องชำระตามวิธีที่ 1 และ 2 มาเปรียบเทียบกัน วิธีใดได้ภาษีมากกว่า ให้ชำระยอดภาษีนั้น

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีดังนี้

1 ถึง 150,000 บาท ได้รับยกเว้น
150,001 ถึง 500,000 ร้อยละ 10
5000,001 ถึง 1,000,000 ร้อยละ 20
1,000,001 ถึง 4,000,000 ร้อยละ 30
4,000,001 ขึ้นไป ร้อยละ 37

ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนะคะ...

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly, Pych, ntps, june

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26272 โดย ntps
น้องซิงห์คิดว่าไงค่ะ ขอความเห็นด้วยค่ะ



ด้วยกระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 1 วงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี อายุ 3 ปี จำนวน 1 รุ่น วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท (1 หน่วย) และวงเงินซื้อขั้นสูง 2,000,000 บาท (2,000 หน่วย) ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อต่อราย แต่วงเงินรวมที่ซื้อไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท ต่อ 1 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมของนักลงทุนรายย่อย และประชาชนทั่วไป


ด้วยกระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ครั้งที่ 1 วงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี อายุ 3 ปี จำนวน 1 รุ่น วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท (1 หน่วย) และวงเงินซื้อขั้นสูง 2,000,000 บาท (2,000 หน่วย) ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เข้าซื้อต่อราย แต่วงเงินรวมที่ซื้อไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท ต่อ 1 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมของนักลงทุนรายย่อย และประชาชนทั่วไป

ผู้ที่สนใจซื้อพันธบัตรสามารถทำรายการซื้อพันธบัตรดังกล่าว ผ่านเคาน์เตอร์และเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ของธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 – 5 เมษายน 2556 โดยเริ่มเปิดจำหน่ายตั้งแต่เวลา 8.30 น.ของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 5 เมษายน 2556 และมีจำหน่ายพันธบัตรรุ่นนี้ที่บูธสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในงาน SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 22 - 25 พฤศจิกายน 2555

ผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ฯ แบบไร้ใบตราสาร (Scripless)รายใหม่ที่ไม่เคยลงทะเบียนข้อมูลและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 มาก่อนต้องลงทะเบียน และเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย (ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารกสิกรไทยฯ และธนาคารไทยพาณิชย์ฯ)

การลงทะเบียนใช้หลักฐานดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการ (กรณีนิติบุคคล) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
2. สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารตัวแทนจำหน่าย พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่

ผู้ที่สนใจซื้อพันธบัตรสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายหรือที่ www.bangkokbank.comwww.ktb.co.th , www.kasikornbank.com , www.scb.co.thwww.pdmo.go.th , www.bot.or.th

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ploylyly

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26310 โดย Champcyber99
พลังงานแจกบัตรรูดปื๊ดแอลพีจีเผือกร้อนพิสูจน์ฝีมือ"เฮียเพ้ง"


กระแสการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มของรัฐบาล ยังคงทำให้ประชาชนคนไทยกว่า 20 ล้านครัวเรือน ต้องเกิดอาการใจหายใจคว่ำอย่างต่อเนื่อง...ไม่แพ้นโยบายการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ที่ทำให้ลูกจ้างและนายจ้าง กินแหนงแคลงใจกันมาโดยตลอด

ที่สำคัญอาการใจหายใจคว่ำที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การรวมพลังต่อต้านนโยบายของรัฐบาลอย่างรุนแรงได้ หากรัฐบาลตัดสินใจแบบคิดไม่รอบคอบหรือคิดแบบไม่เบ็ดเสร็จ รวมทั้งไม่มีมาตรการออกมารองรับหรือช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เพราะต้องยอมรับว่าการ “ลอยตัวแอลพีจี” ย่อมส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของคนไทยแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อปากท้องของคนทั้งประเทศ เพราะเมื่อราคาก๊าซแอลพีจีเพิ่มสูงขึ้นก็ทำให้ต้นทุนการทำอาหารปรับเพิ่มตามไปด้วย สุดท้ายทั้งข้าวแกงข้างถนนไปจนถึงอาหารสุดหรูย่อมแพงขึ้น

จำเป็นต้องปรับโครงสร้าง

กระทรวงพลังงานยืนยันว่าความจำเป็นในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลอยตัวแอลพีจี เป็นเพราะที่ผ่านมาความต้องการใช้แอลพีจีปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก และยังมีการนำมาใช้ในรถยนต์ซึ่งไม่ได้อยู่ในแผนการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมไปถึงการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มปิโตรเคมีก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ขณะที่ราคาแอลพีจีในตลาดโลกได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามแนวโน้มราคาน้ำมัน

นำเข้าเดือนละ 1.8 แสนตัน

ปัจจุบันความต้องการใช้แอลพีจีของไทยมีจำนวน 640,000 ตันต่อเดือน แต่กำลังการผลิตในประเทศอยู่ที่ 453,000 ตัน ส่งผลให้ต้องนำเข้าแอลพีจีในราคาสูงที่ 180,000 ตันต่อเดือนเฉลี่ยที่ราคา 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ต้องนำมาขายในราคาต่ำ 333 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยยอดการใช้แอลพีจีส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มของครัวเรือนที่ใช้เฉลี่ยเดือนละ 250,000 ตัน เพิ่มจากปีก่อน 13.7% ส่วนหนึ่งมาจากครัวเรือนมีการทำอาหารที่บ้านกันมากขึ้นเพื่อลดรายจ่ายจากค่าครองชีพที่สูง รวมถึงมีร้านอาหารต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนภาคปิโตรเคมี ใช้ 22,000 ตัน เพิ่ม 4.8% และภาคขนส่ง 88,000 ตัน เพิ่ม 14.9%

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 51,000 ตันต่อเดือน ลดลง 18.8% สาเหตุที่ปริมาณการใช้ลดลงอย่างมากเพราะรัฐบาลได้ประกาศปรับขึ้นราคาแอลพีจีไปในภาคอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยล่าสุดราคาอยู่ที่ 30.13 บาทต่อ กก. ซึ่งต่างจากแอลพีจีภาคครัวเรือนที่ตรึงราคาที่ 18.13 บาทต่อ กก. ภาคขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาทต่อ กก.

แต่ราคาทั้งหมดในไทยยังต่ำกว่าราคาตลาดโลกอย่างมาก โดยหากคำนวณราคาที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จะตีเป็นเงินไทยในราคาขายปลีกอยู่ที่ 40 บาทต่อ กก. ขณะที่บ้านเราตรึงราคาที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดโลกถึง 3 เท่าตัว

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับ รมว.พลังงานป้ายแดง แต่หน้าเก่า อย่าง “พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล” ที่ประกาศตัวจะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับกลไกตลาดโลก

แนวคิด รมว.พลังงานในการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีเน้นลอยตัวภาคขนส่ง อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี แต่จะให้ความสำคัญกับแอลพีจีในกลุ่มครัวเรือนอย่างคนมีรายได้น้อย พ่อค้าแม่ค้าหาบแผงลอย และผู้ประกอบการรายย่อย โดยวิธีการให้เงินอุดหนุนในการซื้อแอลพีจี เพื่อลดความเดือดร้อนของคนกลุ่มนี้

ควักเนื้ออุดหนุน 2.8 พันล้าน

เบื้องต้นประเมินว่าประเทศไทยมีครัวเรือนที่ยากจนประมาณ 4 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าฟรีไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน โดยคาดว่ากลุ่มนี้จะใช้ก๊าซหุงต้มครัวเรือนละ 6 กก.ต่อเดือน หรือใช้เงินอุดหนุนเดือนละ 60 บาท หรือปีละ 720 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็นเงินในการอุดหนุน 2,880 ล้านบาทต่อปี

ส่วนกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าแผงลอย และบรรดาพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย คงต้องมาขึ้นทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิรับเงินอุดหนุนซื้อแอลพีจีในราคาต่ำกว่า และหากรวมทุกกลุ่มแล้วจะใช้เงินอุดหนุนเพียงปีละ 5,000 ล้านบาท เรียกได้ว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการตรึงราคาที่ต้องใช้เงินอุดหนุนมากถึงปีละ 30,000-40,000 ล้านบาท

ช่วยผ่านบัตรเครดิต

โดยวิธีการอุดหนุนในเบื้องต้นจะอุดหนุนผ่านบัตรเครดิตพลังงาน โดยการซื้อก๊าซหุงต้มในราคาเต็ม จากนั้นจึงหักส่วนชดเชยคืนผ่านบัตรเครดิตให้ ซึ่งจะดำเนินการเหมือนกับการช่วยเหลือกลุ่มรถสาธารณะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี เพราะเป็นแนวทางที่ดีกว่าการชดเชยวิธีอื่น เนื่องจากทำให้เกิดการรั่วไหลน้อย

ทั้งนี้แนวทางการปรับโครงสร้างด้วยวิธีนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคม เพราะหากมีการตรึงราคาไปแบบนี้นาน ๆ อาจทำให้ประเทศล่มสลายได้เพราะตั้งแต่ปี 51-ปัจจุบัน มีการอุดหนุนราคาแอลพีจีแล้ว 100,000 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นการอุดหนุนครัวเรือนเกิน 60% หากตรึงราคาต่อไปยิ่งทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น และหากนำไปผสมโรงกับนโยบายประชานิยมอื่น ทั้งรับจำนำข้าว ทั้งรถยนต์คันแรกและอีกสารพัด ไม่ต้องคิดเลยว่าอนาคตคนไทยคงเป็นหนี้หัวโต!
อย่างไรก็ตามประเด็นที่ชาวบ้านเป็นห่วงคือแนวทางการอุดหนุนจะสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้ครอบคลุมหรือไม่ เพราะหากรัฐบาลจะคิดคำนวณในการช่วยเหลือโดยใช้ฐานครัวเรือนที่ยากจนโดยวัดจากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนนั้น เชื่อว่าความวุ่นวายจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลแน่นอน

ต้องคิดให้รอบคอบก่อน

ตรงนี้จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐมนตรีพลังงานคนใหม่ ต้องหยุดคิดให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจอยู่ได้ไม่นานเหมือนกับรมว.พลังงาน 2 คนที่ผ่านมา

ตัวเลขที่กระทรวงฯ นำมาระบุว่าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยมีประมาณ 4 ล้านครัวเรือนนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะหากครอบครัวใดมีทีวี ตู้เย็น หลอดไฟ ก็คงเกิน 50 หน่วยต่อเดือนอย่างแน่นอน และในเวลานี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าบ้านในต่างจังหวัด ต่างมีทั้งทีวี ตู้เย็น และพัดลม เกือบทุกบ้านอยู่แล้ว หากครัวเรือนใช้ทุกอย่างพร้อมกัน รับรองได้ว่าเกินอัตราที่กำหนดไว้ทุกราย ขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน อาจมีให้เห็นบ้างเพียงเล็กน้อยที่เป็นครอบครัวที่ยากจนมาก จริง ๆ เท่านั้น

หากคำนวณเบื้องต้นสำหรับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน จะพบว่าในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนนั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ ได้ 3 ดวง ใช้ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน, โทรทัศน์สีขนาด 100 วัตต์ 1 เครื่อง ไม่เกิน 3 ชั่วโมง, พัดลมตั้งโต๊ะขนาด 45 วัตต์ 1 เครื่อง ไม่เกิน 6 ชั่วโมง และใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าขนาด 600 วัตต์ 1 เครื่อง ใช้ไม่เกินครึ่งชั่วโมง เมื่อรวมกันแล้วจะได้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 1.59 หน่วยต่อวัน หรือ 47.7 หน่วยต่อเดือน จึงเข้าข่ายผู้ใช้ไฟฟ้าฟรีได้

อีกประการหนึ่งคือเรื่องของการใช้วิธีการอุดหนุนครัวเรือนที่ยากจน 4 ล้านครัวเรือน โดยวิธีการหักลบผ่านบัตรเครดิต ซึ่งแนวทางนี้แค่คิด... ก็ถือว่าผิดแล้ว เพราะคนจนจริง ๆ ในกรณีใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 50 หน่วยต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีบัตรเครดิต และใช้บัตรเครดิตไม่เป็น และที่สำคัญยังหวาดกลัวกับการใช้บัตรเครดิต

ไม่ถนัดใช้บัตรเทวดา
ทั้งนี้การใช้บัตรเครดิตถือเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับกลุ่มคนจน สุดท้ายเผลอ ๆ อาจมีคนสละสิทธิเป็นจำนวนมากแน่ เหมือนกับกรณีของบัตรเครดิตพลังงานที่ให้กับคนใช้มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่กระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายมีคนเข้าร่วมโครงการ 100,000- 200,000 คน แต่พอถึงเวลาจริงกลับมีคนมาสมัครเข้าโครงการเพียงแค่ 3,000-4,000 คนเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีเพราะลดราคาน้ำมันโซฮอล์ได้ถึงลิตรละ 3 บาท

ดังนั้น...หากรัฐบาลต้องการรักษาสถานภาพให้ครบวาระ 4 ปี จำเป็นอย่างยิ่งต้องหาแนวทางช่วยเหลือให้ครอบคลุม และต้องเป็นวิธีที่ง่ายทั้งการใช้และการสร้างความเข้าใจ แม้จะมีการรั่วไหลบ้างแต่คงไม่มาก เช่น การแจกคูปองส่วนลด ซึ่งคนทั่วไปใช้เป็นกันหมดและง่ายที่สุด ซึ่งแนวทางหนึ่งรัฐบาลอาจใช้วิธีการแจกคูปองแก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เพื่อซื้อก๊าซแอลพีจีในราคาต่ำกว่าท้องตลาด ก็ได้

นอกจากนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขยายฐานครัวเรือนที่รัฐบาลต้องการช่วยเหลือให้มากขึ้น เช่น เปลี่ยนการคำนวณครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน เป็น ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100 หรือไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ซึ่งจะช่วยครอบคลุมครัวเรือนในกลุ่มคนยากจนและพอมีอันจะกินได้บ้าง และที่ผ่านมามีนักวิชาการได้ทำวิจัยเรื่องนี้ หากใช้เกณฑ์ในการประเมินผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100-150 หน่วยต่อเดือน มีครัวเรือนเข้าข่ายประมาณ 10.2 ล้านครัวเรือน

อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลแจกคูปองที่มีมูลค่า 5 บาทต่อแอลพีจี 1 กก. หรือใช้ครัวเรือนละ 50-100 บาทต่อเดือน รัฐบาลต้องใช้เงินอุดหนุนปีละ 6,000-12,000 ล้านบาท ถือว่าคุ้มค่าดีกว่าที่จะให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปอุดหนุนปีละ 30,000-40,000 ล้านบาท แต่เรื่องที่สำคัญคือต้องหาแนวทางควบคุมและป้องกันกรณีการเกิด “คูปองปลอม” และการถ่ายเทก๊าซแอลพีจีที่ผิดวัตถุประสงค์อย่างเข้มงวด เพียงเท่านี้เชื่อได้แน่ว่าปัญหาความวุ่นวายจะน้อยกว่าการแจกบัตรเครดิตแอลพีจีแน่นอน

การใช้บัตรเครดิตพลังงานเข้ามาเป็นเครื่องมือหาเสียงอีกครั้งของรัฐบาลครั้งนี้ แม้มองดูผิวเผินแล้วถือว่าเป็นเจตนาดีที่ต้องการช่วยเหลือครัวเรือนที่เดือดร้อนอย่างแท้จริง แต่อย่าลืมว่าที่ผ่านมามีตัวอย่างให้เห็นแล้วทั้งการนำไปใช้กับกลุ่มแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ รมว.พลังงานคนใหม่ ต้องหยุดคิด...สักนิด เพื่อเสถียรภาพของรัฐบาล.

มนัส แววมนัสจิตร
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Ploylyly, june, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26313 โดย Mommyangel
เจตนาที่พีลีเอาเรื่องภาษีมาลงให้อ่านกัน.ก็เพราะเห็นว่า...เรื่องภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้...และใกล้ตัวเรา...ถ้าอ่านข้างบนแล้วยังไม่เข้าใจ..เพราะเป็นภาษากฎหมาย...เข้าใจยาก...ก็มาถามเจาะทีละประเด็นไปนะคะ...พี่ลียินดีจะตอบให้ค่ะ....แต่ถ้าคำถามลึกๆ ไม่สามารถตอบหน้าบอร์ดได้...ก็คงต้องหลังไมด์..นะคะ

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: june

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26334 โดย Pych

พี่ลี เขียน: เจตนาที่พีลีเอาเรื่องภาษีมาลงให้อ่านกัน.ก็เพราะเห็นว่า...เรื่องภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้...และใกล้ตัวเรา...ถ้าอ่านข้างบนแล้วยังไม่เข้าใจ..เพราะเป็นภาษากฎหมาย...เข้าใจยาก...ก็มาถามเจาะทีละประเด็นไปนะคะ...พี่ลียินดีจะตอบให้ค่ะ....แต่ถ้าคำถามลึกๆ ไม่สามารถตอบหน้าบอร์ดได้...ก็คงต้องหลังไมด์..นะคะ


พี่ลีครับ น่าจะเอาเรื่องค่าลดหย่อนต่างๆ มาลงด้วยจะดีมากเลยนะครับ เช่นประกันชีวิตสามารถนำมาหักได้เท่าไหร่ กองทุน LTF, RMF มีลูกกี่คน ยังศึกษาอยู่หรือไม่ อะไรปะรมาณนี้น่ะครับ ใกล้สิ้นปีแล้ว เผื่อหลายๆ คนจะได้มีแนวทางลดหย่อนภาษีกันบ้างครับ

ขอบคุณครับ

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26337 โดย Mommyangel
ลงแล้ว...อยู่ข้างบนโน่น..มาตรา 47 ค่าลดหย่อน...แต่จะเอาแยกเป็นอย่างๆ แบบละเอียดก็ได้นะ...

มะ....มา...ว่ากัน..


(1) ลดหย่อนให้สำหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย

(1) ที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือ ที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท

(2) ที่เกิดหลัง พ.ศ. 2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน


ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้งตาม (1) และ (2) การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้นำบุตรตาม (1) ทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป จะนำบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) จำนวนไม่ถึงสามคนให้นำบุตรตาม (2) มาหักได้โดยเมื่อรวมกับบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน

การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้แต่ฐานะเดียว

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Pych

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26341 โดย Mommyangel
สำหรับบุตร..มีคำชี้แจงของกรมสรรพากรเพิ่มเติมดังนี้

(๓) สำหรับบุตรและการศึกษาบุตร ตามมาตรา 47(1)(ค)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร

(ก) กรณีสามีหรือภริยามีเงินไ้ด้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

(ข) กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหัดลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Pych

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26343 โดย Mommyangel
4. ลดให้สำหรับ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

4.1 บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

4.2 ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน) และการหักลดหย่อนหักได้ตลอดปีภาษี

4.3 หักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และหักลดหย่อนได้สำหรับบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ 30,000 บาท

4.4 ถ้าเดิมต่างฝ่ายต่างหักบิดามารดาของตนอยู่แล้ว ต่อมาสมรสกัน ในปีแรกที่สมรสนั้น ต่างฝ่ายต่างหักบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท และในปีที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีนั้น หากภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นเสียภาษี ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ทั้งฝ่ายของตนและภริยา แต่หากภริยาแยกยื่นแบบเสียภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักบิดามารดาของตน

4.5 บุตรหลายคน รับอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ให้บุตรคนใดคนหนึ่งที่มีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นผู้มีสิทธิ หักลดหย่อนด้วยแบบ ล.ย.03

4.6 ผู้มีเงินได้ มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนได้ เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

4.7 ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบิดามารดาในแบบ ภ.ง.ด.90

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Pych, ntps, Champcyber99, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26365 โดย Champcyber99
ปีหน้ายอดรูดปรื้ดโตต่อเนื่อง 18%ตลาดบัตรเครดิตโค้งท้ายคึกคัก "แบงก์-นอนแบงก์" เร่งปั๊มยอดใช้จ่าย-เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ค่าย "บัวหลวง" เตรียมเปิดแผนกระตุ้น หลังส่งCo-Brandชิงรถยนต์โตโยต้า 3 คัน 3 สไตล์ สำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตทุกประเภท
"เคทีซี" ให้ลุ้นโชคนับ 10 ล้านบาท "กสิกรไทย" มาเป็นแพ็กเกจช็อป-ชิม-ท่องเที่ยว "ธนชาต" ชูเงินคืนผ่านปั๊ม-ซูเปอร์มาร์เก็ต
นายโชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตปี 2556 คาดว่าทั้งระบบจะมียอดการใช้จ่ายเติบโตไม่ต่ำกว่าอัตรา 18% ภายใต้สองปัจจัย คือ ไม่เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยและไม่มีปัญหาการเมือง ปัจจุบันธนาคารอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่ายอีก หลังจากออกบัตรเครดิต "โค แบรนด์" หรือ Co-Brand TOYOTA คาดว่าสิ้นปีนี้ฐานบัตรของธนาคารจะเพิ่มเป็น 1.35 ล้านบัตรตามเป้า จากฐานลูกค้าตอนนี้ราว 1.3 ล้านบัตร โดยมียอดการใช้ต่อคนเฉลี่ย 1.6 หมื่นบาท หรือบัญชีเคลื่อนไหวสม่ำเสมอสัดส่วน 60% และมียอดใช้จ่ายอยู่ที่ 1.2 หมื่นบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 26-27% สูงกว่าตลาดที่เติบโต 17%
นายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ภายใต้เครือ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ช่วงที่เหลือของปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรสูงสุดในรอบปี เฉลี่ยสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าถึง 38% ซึ่งกรุงศรี จะเน้นใน 4 กลุ่มที่มียอดการใช้จ่ายขยายตัวสูง เช่น ท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงพยาบาล และซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง เช่น สมาร์ท โฟน และแท็บเลต เป็นต้น
ที่ผ่านมา 9 เดือน กรุงศรีคอนซูเมอร์มีลูกค้ารวม 5.85 ล้านบัญชี เป็นลูกค้าใหม่ 6 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน, บัตรเครดิต 2.3 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 26% และลูกค้าสินเชื่อบุคคล 3.7 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 40% ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 9.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% คาดว่าสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 9.9 หมื่นล้านบาท และยอดใช้จ่ายรวม 1.74 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% คาดว่าสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 2.51 แสนล้านบาท
สอดคล้องกับนายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การทำตลาดช่วงที่เหลือธนาคารให้ความสำคัญใน 4 หมวดหลักเช่นเดิม คือ ช็อปปิ้ง ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และสุขภาพ-ความงาม ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร โดยเฉพาะหมวดช็อปปิ้งซึ่งเป็นหมวดที่มียอดใช้จ่ายสูงสุด โดยมีอัตราเติบโต 30% ทั้งปีคาดว่าจะเติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 36% เพราะไตรมาสสุดท้ายการใช้จ่ายผ่านบัตรจะมีการเติบโตสูงถึง 20-30% ด้านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7 หมื่นบาทต่อบัตรต่อเดือน เพิ่มขึ้นจาก 1.2 หมื่นบาทต่อบัตรต่อเดือน และยังมีสัดส่วนการใช้จ่ายสม่ำเสมอมากถึง 70% จากฐานลูกค้าอยู่ที่ 2 ล้านใบ เป็นฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นจากต้นปี 5 แสนใบ
นายปิยศักดิ์ เตชะเสน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มงานผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย บมจ.บัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวว่า เคทีซีมีฐานลูกค้าทั้งสิ้น 2.2 ล้านราย แบ่งเป็นสมาชิกบัตรเครดิต 1.6 ล้านบัตร และสมาชิกสินเชื่อบุคคล 6 แสนราย ยอดรวมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบาท และยอดของพอร์ตสินเชื่อบุคคลรวมอยู่ที่ 1.15 หมื่นล้านบาท สำหรับไตรมาส 4 ของทุกปีจะเป็นช่วงที่สมาชิกใช้จ่ายมากกว่าปกติ 10% และการจัดแคมเปญต่างๆ ของเคทีซีทำให้มั่นใจว่าสิ้นปีนี้ยอดการใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20-30%(ดูตารางประกอบ)
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,791 วันที่ 11-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



เคทีซีไตรมาส 3 กำไรสุทธิ 132 ล้านบาท โตกระฉูด 223%

เคทีซีไตรมาส 3 กำไรสุทธิ 132 ล้านบาท โตกระฉูด 223% ล้างผลขาดทุนเกลี้ยง
ด้วยพอร์ตลูกหนี้ 41,661 ล้านบาท ปลื้มทิศทางคุณภาพหนี้เป็นบวก เร่งเครื่องรุกหนักทั้งตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล
เคทีซีรายงานผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2555 เท่ากับ 132 ล้านบาท
เติบโตถึง 223% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีผลกำไรสุทธิรวม 9 เดือน 63 ล้านบาท ล้างผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ได้ทั้งหมด จากการปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตามหนี้ และควบคุมคุณภาพพอร์ตลูกหนี้อย่างเข้มข้น โดยมียอดลูกหนี้รวมสุทธิ 41,661 ล้านบาท
จากฐานสมาชิกรวม 2.12 ล้านบัญชี วางแผนบุกตลาดอย่างหนักทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ด้วยแคมเปญที่สมาชิกจะได้รับประโยชน์ พร้อมการันตีความพอใจและความคุ้มค่าเหนือใคร รวมทั้งการจับมือกับพันธมิตรธุรกิจไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน
เพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่และเพิ่มยอดการใช้จ่ายจากฐานสมาชิกเดิม
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมสินเชื่อบัตรเครดิตในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงเติบโตต่อเนื่องที่ 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ขยายตัวที่ 12% สูงกว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัว 8% ส่วนธุรกิจสินเชื่อบุคคลเติบโตที่ 15% โดยธนาคารพาณิชย์ขยายตัวมากกว่าสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารที่ 31% และ 9% ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยหนึ่งเป็นผลจากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ
ทำให้อุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”
“ในส่วนของเคทีซีมีผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา
กำไรสุทธิ 63 ล้านบาท และจากการใช้นโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตามหนี้
และการควบคุมดูแลคุณภาพพอร์ตลูกหนี้อย่างใกล้ชิด โดยบริหารจัดการหนี้ตั้งแต่ก่อนจะเป็นหนี้เสีย (Pre-Delinquent) ทำให้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 และ 3 สามารถล้างผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ได้ทั้งหมด โดยในไตรมาส 3 มีกำไรสุทธิ 132 ล้านบาท เติบโตถึง 223%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงกว่า 40%
จากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญน้อยลง เพราะคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลสะท้อนภาพที่ดีขึ้น และการควบคุมค่าใช้จ่ายการเงินให้คงที่”
“ทั้งนี้ ฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 บริษัทฯ
มีสินทรัพย์รวม 46,043 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมสุทธิเท่ากับ 41,661 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 2.12 ล้านบัญชี ประกอบด้วย บัตรเครดิต 1,517,323 บัตร ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิ 29,685 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล “เคทีซี แคช” เท่ากับ 606,580 บัญชี
ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเคทีซี แคช สุทธิ 11,686 ล้านบาท เป็นต้น”
“บริษัทฯ มีรายได้รวมไตรมาส 3 ปี 2555 เท่ากับ 3,117 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่ ผ่านมา โดยที่รายได้ดอกเบี้ยรับ (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) และรายได้ค่าธรรมเนียม เท่ากับ 1,972 ล้านบาท 788 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมภาษีเงินได้) ลดลงจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนหน้า 5% จาก 3,044 ล้านบาท อยู่ที่ 2,883 ล้านบาท
หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเหลือเพียง 661 ล้านบาท จาก 1,101 ล้านบาทในปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ ตัดหนี้สูญเร็วขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะสิ้นสุดลง แต่บริษัทฯ ยังคงมูลค่าสำรองหนี้สงสัยจะสูญกรณีลูกหนี้น้ำท่วมจำนวนที่เคยตั้งเดิมไว้ โดยนำมาเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยทางเศรษฐกิจ ตามนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทฯ และเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในอนาคต”
“สำหรับสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2555 บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) ทั้งสิ้น 28,160 ล้านบาท ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin) ไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปีที่ 13.6% แม้ว่าต้นทุนเงินทุนของบริษัทฯ จะสูงขึ้นจาก 4.9% เป็น 5.1% แต่บริษัทฯ ยังสามารถเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยรับรวมเฉลี่ยสูงขึ้นจาก 18.6% เป็น 18.7% ทำให้สามารถคงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้ อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 8.3 เท่า ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 8.5 เท่า และยังต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”
“ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2555 เคทีซีจะเน้นทำการตลาดในเชิงรุก ทั้งการนำเสนอสิทธิประโยชน์ผ่านการใช้คะแนนสะสม KTC Forever Rewards ด้วยการเพิ่มจุดแลกคะแนนสะสมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และการร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจไลฟ์สไตล์ชั้นนำ เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกหลากหลายกลุ่ม รวมถึงสมาชิกบัตรเครดิตระดับกลางซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และสมาชิกระดับบน ซึ่งมีไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายผ่านบัตรและมีความสามารถในการชำระสูง โดยล่าสุดได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทยเปิดตัวบัตรเครดิต “เคทีซี-เคทีบี เพรชัส พลัส วีซ่า อินฟินิท” ส่วนสินเชื่อบุคคลจะยังคงเน้นการตลาดผลิตภัณฑ์สินเชื่อพร้อมใช้ “เคทีซี แคช รีโวล์ฟ” เป็นหลัก เพราะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้ลูกค้า โดยจัดแคมเปญการตลาดมหกรรมลดอัตราดอกเบี้ยครึ่งหนึ่งให้กับสมาชิกที่มียอดเงินโอนและยอดเงินคงค้างตามกำหนด”
“อย่างไรก็ตาม การที่เคทีซีได้ปรับโครงสร้างการทำงานภายในตั้งแต่ต้นปี โดยการนำงานที่เคยใช้บริการจากภายนอกเข้ามาบริหารจัดการเอง และการขยายขอบเขตงานจากคอลล์ เซ็นเตอร์ (Call Center) มาเป็นคอนแท็ค เซ็นเตอร์ (Contact Center) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานแบบองค์รวม ให้รู้จุดเริ่มต้นของงานจนถึงจุดสิ้นสุดของงานนั้นๆ (End to End) จะช่วยให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าจะเห็นภาพดังกล่าวได้อย่างชัดเจนในปี 2556 และเมื่อสิ้นสุดปี 2555 นี้ เคทีซีจะมีผลการดำเนินงานเป็นบวก” นายระเฑียรกล่าวปิดท้าย

ในปีหน้านี้ชมรมเราก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าใช้จ่ายกันแบบไม่รู้ตัว
แล้วในที่สุดธนาคารก็ได้กำไรจากเราไป มีแต่ได้กับได้อยู่ดี
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: june

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26370 โดย Lyncns31
แหม..!!!

คุยโวโอ้อวดกันยกใหญ่...เจ้าหนี้..รวยมหาศาลทุกเจ้า...

..............................ลูกหนี้...ซวยทุกคน...

..................หมดหนี้แล้ว...อย่าไปหาเป็นมันอีก..หนี้เฮงซวย..


................................ :upset: :upset: :เฮ้อ:

และแล้ว...หนี้ข้าก็สิ้นสุด..อิสรภาพมาถึงแล้ว.
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, june

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26378 โดย Pych

พี่ลี เขียน: ลงแล้ว...อยู่ข้างบนโน่น..มาตรา 47 ค่าลดหย่อน...แต่จะเอาแยกเป็นอย่างๆ แบบละเอียดก็ได้นะ...

มะ....มา...ว่ากัน..


พี่ลีใจดีมากๆ เลยครับ พอดีผมงานยุ่งๆ เลยไม่ได้อ่านกระทู้ดูให้ถ้วนถี่ครับ
ขอบคุณนะครับ ที่มาลงให้แบบละเอียดกันอีกครั้ง

คิดถึงนะครับ

(o_O) (o_O) (o_O)

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26381 โดย ntps
ถ้าเป็นแก้วจ๋าคงโวยเจ้าน้องชายตัวแสบไปแล้ว ไม่ดูแล้วมาว่ากัน แต่เป็น

พี่ลีผู้น่ารัก อุตส่าห์โพสใหม่ เอาแบบคละสี เผื่อตาบอดสีจะได้เห็นชัดขึ้น ^^

แก้วจ๋าขอมาเพิ่มเติมแทนพี่ลี ก่อนที่พี่ลีจะมาลงรายละเอียดแบบลึก ๆนะค่ะ




การหักลดหย่อน หมาย ถึง รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่ง เรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ เพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้

1.4 เบี้ยประกันภัย ที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร

ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับการ ประกันชีวิตของสามีหรือภริยานั้นตามเกณฑ์ข้างต้น
การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ก็อยู่ในข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย

1.5 เงินสะสม ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนำจำนวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมิน ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท โดย ต้องจ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

1.6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้

(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเฉพาะที่กำหนดไว้ ได้แก่ ธนาคาร บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ ลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่เขารับ ช่วงสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมดังกล่าว กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมี สิทธิครอบครอง

(3) ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดิน เป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม

(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม(3)นั้นเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับ ยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้าง ซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้อาคารหรือห้องชุดนั้นอยู่ อาศัยได้

(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่ง สำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3)

(6) ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท

(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลด หย่อนสำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้หักลดหย่อนรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ ขอหักลดหย่อน และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้าง ชำระนั้น
ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือ รับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด จากผู้ให้ให้กู้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการ ดังกล่าวนั้นด้วย

1.7 เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ข้างต้นและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตาม เกณฑ์ข้างต้น

1.8 เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มี สิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

1.9 การยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับ การบริจาคเงิน ให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น ให้ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตาม มาตรา ๔๗ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับการจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลด หย่อนแล้ว ทั้งนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 217) )

1.10 เงินบริจาค เมื่อหักลดหย่อนต่าง ๆ หมดแล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับ เงินบริจาค เงิน บริจาคที่หักค่าลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศล สาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว
การบริจาค ได้แก่
(1) การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ (ต้องเป็นองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา)
(2) การบริจาคเงินให้แก่คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระ เกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา
(3) การบริจาคเงินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในโครงการปลูกป่าเทิดพระเกียรติเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 90 พรรษา
(4) การบริจาคเงินให้แก่กองทัพอากาศในโครงการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริฯ
(5) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
(6) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50
(7) การบริจาคเงินให้แก่โครงการอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 50 ปี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
(8) การบริจาคเงินให้แก่โครงการสืบสานพระราชปณิธาน "กาญจนาภิเษก"
(9) การบริจาคเงินให้แก่โครงการร้อยใจช่วยเยาวชนไทยในภาวะวิกฤต
(10) การบริจาคเงินให้แก่โครงการโพธิ์ทองของชาวไทย
(11) การบริจาคเงินให้แก่โครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงพระชนม์มายุ 72 พรรษา
(12) การบริจาคเงินให้แก่ส่วนราชการที่จัดขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(13) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนคุ้มครองเด็ก และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
(14) การบริจาคเงินเพื่อการกีฬา ให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาสมัครเล่น
(15) การบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับเงิน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

1.11. การหักลดหย่อนในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้า ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ให้หักลดหย่อนรวม กันได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีหรือภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี หรือภริยาแยกคำนวณเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต่างหากจากสามี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท และสำหรับการหักลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้อื่น ๆ ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณีเฉพาะในปี ภาษีนั้น

1.12. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ บุตร และการศึกษาของบุตรของผู้มีเงินได้

1.13. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

1.14 การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้30,000 บาท

1.15 การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่ อยู่ในประเทศไทยคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

ผิดถูกประการใด พี่ลีโปรดชี้แนะแก้ไขให้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26486 โดย ntps
ธปท.จ่อหารือนายแบงก์ เบรกโปรโมชั่นสินเชื่อลด แลก แจก แถม หวั่นล้างสมองคนไทยให้นิยมจ่ายก่อนผ่อนทีหลัง ไร้วินัยออมเงิน เผยผู้มีรายได้น้อยเริ่มผิดนัดชำระหนี้ และเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น...

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในเดือนหน้าที่จะถึงนี้ ธปท.จะมีการหารือกับธนาคารพาณิชย์ เกี่ยวกับการกระตุ้นการก่อหนี้ของภาคครัวเรือน ซึ่งในขณะนี้เริ่มเห็นชัดว่า ผลจากการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ หรือสร้างวัฒนธรรมให้คนคิดว่า ไม่จำเป็นต้องออม เพราะมีธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินตลอดเวลา เริ่มทำให้ผู้มีรายได้น้อย 10,000-15,000 บาทต่อเดือนมีหนี้สินเกินตัว คือเริ่มมีหนี้สินมากกว่าความสามารถในการชำระหนี้รายเดือนของตัวเองแล้ว

“สิ่งที่ผมเห็นคือ การแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านมา ทั้งการโหมโฆษณาที่ต่อเนื่อง มีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่างๆ แบบแข่งขันกันรุนแรง รวมถึงการปล่อยสินเชื่อแบบมีของแถม เช่น แจกของ หรือชิงโชคทองคำ น่าจะมากเกินไป ถือเป็นการะตุ้นให้คนเป็นหนี้สิน และสร้างวัฒนธรรมที่ใช้ก่อนจ่าย และไม่มีการออมเงิน โดยเฉพาะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาให้กับตัวบุคคลที่มีรายได้น้อย แต่ได้รับการเสนอให้กู้เงินได้จำนวนมาก ทำให้มีปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้”

ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวต่อว่า ในส่วนของการโปรโมชั่น การโฆษณา ลด แลก แจก แถม ชิงโชค อะไรต่างๆ นี้ ตนเห็นว่าควรจะเบาลงหน่อย ซึ่ง ธปท.ก็วางแผนว่าจะคุยกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ในเดือนหน้า ทั้งนี้ ในส่วนของ ธปท.เริ่มเห็นการผิดนัดชำระหนี้และการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากในเดือนที่ผ่านมานั้น ถ้าคิดเป็นมูลค่าเงินเทียบกับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อแต่ละแห่งถือว่าไม่มาก ไม่กระทบระบบสถาบันการเงินโดยรวมแน่นอน

“หนี้ส่วนบุคคลถ้ามีปัญหาจะเห็นได้ง่าย และแก้ไขปัญหา หรือตัดหนี้สูญได้ง่าย เพราะมีมูลค่าไม่สูง แต่สิ่งที่ ธปท.อยากเห็นคือ การสร้างวัฒนธรรมในการใช้จ่าย การออม และการก่อหนี้ของสังคมไทยที่ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องการให้การแข่งขันในระบบธนาคารพาณิชย์ กลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเงินที่ไม่ถูกต้อง และอาจจะก่อปัญหาทางการเงินให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยด้วย ซึ่ง ธปท.ก็ติดตามตัวเลขสินเชื่อบุคคลและการผิดนัดชำระหนี้ในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง” ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว.



ที่มา : www.thairath.co.th

ความสุข ไม่ใช่การ... "เพิ่ม"...สิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในชีวิต
แต่มัน คือ การ "ลด"....สิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิต
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Mommyangel, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26506 โดย Mommyangel
5. อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ

5.1 การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามี หรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดา หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละ 60,000 บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือเป็นคนทุพพลภาพ ตามมาตรา 47(1)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพ ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน สำหรับบุคคลซึ่งเป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้
(ก) บิดามารดาของผู้มีเงินได้
(ข) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(ค) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(ง) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้
(จ) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
(ฉ) บุคคลอื่นนอกจาก (ก)(ข)(ค)และ(จ) ซึ่งเป็นคนพิการที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือซึ่งเป็นคนทุพพลภาพและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ จำนวน 1 คน

กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (ก)(ข)(ค)(ง)(จ)และ(ฉ) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลัก อันเป็นปกติเยื่ยงบุคคลทั่วไป อันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมา ไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน

ยังไม่หมดนะคะ.....
(2)

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26693 โดย Mommyangel
(๒) บุคคลตาม (๑) ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนต้องมีเงินได้พึงประเมิน
ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ แห่งประมวลรัษฎากร


กรณีบุคคลตาม (๑) เป็นทั้งคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว

(๓) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

(๔) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิหักลดหย่อน

(ก) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (๑) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน

กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้ และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้

(ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือหลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนผู้รับรองตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และรับรองผู้มีเงินได้ ได้ไม่เกิน ๑ คน สำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด

(๕) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามประกาศนี้ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ทั้งนี้ การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวรรคสองของ (๑) ด้วย

(๖) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

ข้อ ๒ บุคคลตามข้อ ๑ (๑) ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนตามประกาศนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร

ข้อ ๓ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องแนบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔) ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(๑) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนพร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย

(๒) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้
(ก) ใบรับรองแพทย์ตามข้อ ๑(๔)(ก)
(ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔-๑) ตามข้อ ๑(๔)(ข) โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้


ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑ และคนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวเป็นบุตรตามข้อ ๑ (๑) (ง) และ (จ) และผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร และใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ซึ่งสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท สำหรับบุตรซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้น ตามมาตรา ๕๗ เบญจ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(๑) ภาพถ่าย แบบ ล.ย. ๐๔ ของผู้มีเงินได้ตามข้อ ๓ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

(๒) ภาพถ่ายหลักฐานตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) (ก) และ (ข) ของผู้มีเงินได้ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #26696 โดย Mommyangel
6. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส
6.1 บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท ขึ้นไป
6.2 ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริกาของผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ) และใช้สิทธิยกเว้นฯ ได้ตลอดปีภาษี
6.3 ผู้มีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันให้ิบิดามารดาของตนและบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
6.4 ผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้ยกเว้นภาษีเงินได้ เฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
6.5 ถ้าเดิมต่างฝ่ายต่างหักเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของตนอยู่แล้ว ต่อมาสมรสกัน ในปีแรกที่สมรสนั้น ต่างฝ่ายต่างใบ้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของตนได้ ตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และในปีที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภา๊ษีนั้น ทั้งกรณีภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นเสียภาษี หรือใช้สิทธิแยกเยื่นแบบเสียภาษีให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นฯ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของตน
6.6 กรมธรรม์หนึ่งกรมธรรม์ใด มีการจ่ายชำระจากบุตรผู้มีเงินได้หลายคน ให้ใช้สิทธิยกเว้นฯ ได้ทุกคนโดยเฉลี่ยเบี้ยประกัน ตามส่วนจำนวนบุตรผู้มีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
6.7 ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองที่มีข้อความอย่างน้อยตามประกาศอธิบดีฯ กำหนดจากบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
6.8 ผู้มีเงินได้ ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของบิดามารดาในแบบ ภ.ง.ด.90

ขอเป็นเก้าอี้พักใจ....
ให้เธอได้พักพิง...
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Champcyber99, Lyncns31

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 1.353 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena