SMEs ที่มี บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #76048 โดย Pheonix
อยากแชร์ข้อมูลที่ไปช่วย SMEs ที่มี บสย.ค้ำประกัน ถูกฟ้อง สายด่วนคนเป็นหนี้ คุณอาไพโรจน์ 087-016-4541

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #76074 โดย Pheonix
สินเชื่อกรุงศรี3x บสยค้ำประกัน มีo/d 2ล้าน1แสน(ใช้เงินสดค้ำประเป็กันเต็มจำนวน) และมีเงินกู้ บสย
3ล้านห้าแสนผ่อน56100ต่อเดือน ค้างชำระ72งวด เห็นคำฟ้องของ ธ.กรุงศรี หนี้ที่มี บสย.ค้ำประกัน แก้ง่ายนิดเดียวครับ สายด่วนคนเป็นหนี้ ไพโรจน์ 087-016-4541

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #76536 โดย Pheonix
ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ( www.bot.or.th ) ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๒ ปรากฎว่า

บัตรเครดิต จำนวนบัญชีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๕,๖๑๕ บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง ๒๙๗,๑๗๓ ล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๕๙,๔๓๔.๖๐ ล้านบาท

สินเชื่อส่วนบุคคล จำนวนบัญชีทั้งสิ้น ๑๒,๔๒๕,๑๗๕ บัญชี ยอดสินเชื่อคงค้าง ๓๑๘,๑๑๖ล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๘๙,๐๗๒.๔๘ ล้านบาท

รวมดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นเงินปีละ ๑๔๘,๕๐๗.๐๘ ล้านบาท

หากไม่แก้ปัญหา ระยะเวลา ๑๐ ปี ผ่านไป เป็นค่าดอกเบี้ยมากถึง ๑,๔๘๕,๐๗๐.๘๐ ล้านบาท ถึงวันนั้น เศรษฐกิจประเทศไทยก็จะพังพินาศหมด เพราะประชาชนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ ต้องนำเงินไปจ่ายดอกเบี้ยที่สูงมากเป็นเวลานาน การแก้ปัญหา จึงต้องทำให้ประชาชนผู้บริโภคมีกำลังซื้อ โดยพิพากษาให้ประชาชนผู้บริโภคเสียเบี้ยปรับอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ก็จะมีกำลังซื้อจากประชาชนผู้บริโภคกลุ่มนี้เกิดขึ้น จากการที่ไม่ได้บริโภคมาเป็นเวลานาน ธนาคาร/ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต,สินเชื่อบุคคลเสียหายหรือไม่ ไม่เสียหายครับ เพราะได้ไปมากถึง ๑๐ ปี แล้ว อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตร้อยละ ๒๐ ต่อปี ระยะเวลา ๑๐ ปี เป็นค่าดอกเบี้ย ๒๐๐% ของเงินต้นบัตรเครดิต ๑๐๐ บาท สินเชื่อส่วนบุคคลอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ ต่อปี ระยะเวลา ๑๐ ปี คิดเป็นค่าดอกเบี้ย ๒๘๐% ของเงินต้นที่ให้กู้ยืม ๑๐๐ บาท ไปแล้ว เจ้าหนี้บางรายนำหนี้ที่ติดตามไม่ได้ ไปขายเพียงร้อยละ ๖ ของเงินต้นที่ค้างชำระ ประชาชนผู้บริโภคถูกไล่ล่าไม่เลิกรา กำลังซือจึงหายไป การคิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี เจ้าหนี้ได้มากกว่า เพราะต้นเงิน ๑๐๐ บาท ยังอยู่ครบ และยังได้เบี้ยปรับในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ลูกหนี้ก็มีกำลังใจที่จะชำระหนี้ให้หมด ประเทศชาติก็จะมีกำลังซื้อจากประชาชนผู้บริโภคกลุ่มนี้ ธุรกิจก็จะกลับมาเป็นปกติอีก ถ้าคิดอย่างนี้ ทุกคนได้ ไม่มีใครเสีย (Win-Win) เศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะฟื้นคืนขึ้นมาได้

เจ้าหนี้ส่วนใหญ่เป็นของทุนต่างชาติ คิดอย่างเดียวที่จะเอากำไรให้ได้มากที่สุด ไม่เคยคิดว่า ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยพังพินาศลงไป ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร การจะแก้อัตราดอกเบี้ยที่สูงมากเช่นนี้ ยังไม่มีใครกล้าไปแตะ มีแต่ศาลเท่านั้น จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยกำหนดเบี้ยปรับให้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ จะทำให้กำลังซื้อค่อยๆ เกิดขึ้น จะเป็นการช่วยเสริมนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัว ช่วยชาติกันเถิดครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #76559 โดย Pheonix
ข้อ ๑. ตามคำฟ้อง เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ จำเลยได้สมัครใช้บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจกับโจทก์ ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีแนวความคิดเป็นการร่วมมือกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดย บสย. จะทำข้อตกลง MOU กับแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการค้ำประกัน และสัดส่วนความรับผิดชอบของ บสย. โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องส่งคำขอให้ บสย. ค้ำประกันภายใน ๑ ปี

หลังจากนั้น บสย. จะพิจารณาออกหนังสือค้ำประกันเป็นรายลูกหนี้ มีระยะเวลาค้ำประกันเป็นเวลา ๕ ปี และธนาคารจะเป็นผู้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ บสย.จะไม่พิจารณาซ้ำ และไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกันต่อ บสย. ซึ่งการนับภาระการค้ำประกันของ บสย. ของ SMEs นับเป็นรายเดียวเฉพาะในนามบุคคลธรรมดาและคู่สมรสที่จดทะเบียน จำเลยได้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ พร้อมยื่นเอกสารการเข้าโครงการค้ำประกันสินเชื่อกับ บสย. กับโจทก์แล้ว

ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ โจทก์อนุมัติสินเชื่อให้แก่จำเลยเป็นเงินจำนวน ๔๖๗,๐๐๐ บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อธุรกิจสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นคี (MCR) บวกด้วยร้อยละ ๙.๕๐ ต่อปี ขณะทำสัญญากู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อธุรกิจสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี MCR อยู่ที่ร้อยละ ๑๒ ต่อปี จำเลยตกลงจะชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ระยะเวลา ๖๐ เดือน ชำระเดือนละ ๑๒,๗๗๐ บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ เริ่มชำระงวดแรกวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ และงวดต่อไป จะชำระทุกๆ วันที่ ๘ ของเดือนถัดไป หากไม่ชำระเงินตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญา ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมด ต่อมา บสย. ได้พิจารณาหนี้รายนี้แล้ว ได้ออกหนังสือค้ำประกันหนี้รายนี้ให้แก่โจทก์ หลังจากจำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยได้ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โดยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ เป็นเงินจำนวน ๑๓,๕๐๐ บาท หลังจากนั้น ผิดนัดผิดสัญญาไม่ได้ชำระอีกเลย ปรากฏ ณ วันฟ้อง วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ เป็นต้นเงินจำนวน ๔๐๒,๗๘๖.๙๗ บาท ดอกเบี้ย ๓๓,๗๔๖.๓๒ บาท ค่าเบี้ยปรับชำระล่าช้า ๘๓๔.๖๐ บาท รวมเป็นเงิน ๔๓๗,๓๖๗.๘๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๓๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๔๐๒,๗๘๖.๙๗ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์


ข้อ ๒. จำเลยขอให้การว่า บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีวิสัยทัศน์และพันธกิจดังนี้ วิสัยทัศน์ “สถาบันค้ำประกันสินเชื่อแห่งชาติ” ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พันธกิจ

๑. ช่วยเหลือ SMEs ให้ได้รับสินเชื่อจากสถาบันจำนวนมากขึ้น

๒. ช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ SMEs มากยิ่งขึ้น

๓. เร่งกระจายสินเชื่อไปยัง SMEs ทั่วประเทศได้เร็วขึ้น

๔. ช่วยให้การพัฒนา SMEs บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

รัฐบาลให้ความเห็นชอบโครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการ โครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ดังนี้

๑.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) เพื่อช่วยเหลือประคับประคองผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และสถาบันการเงินเอกชนชะลอการปล่อยสินเชื่อ และส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่พอจะมีศักยภาพ จำเป็นต้องปรับปรุงกิจการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้สามารถก้าวข้าม วัฏจักรขึ้นเป็นขนาดกลาง เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (ASEAN Economics Community : AEC) สามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาด AEC ได้ เป็นการสร้างเครดิตให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs

๕. มาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐบาลชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs ในปีแรก ที่ให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ ๕ เพิ่มอีกจำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อช่วยให้ SMEs สามารถได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินได้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน และมีการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น

๙. โครงการจัดตั้ง Website เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายสินค้า และบริการ SMEs รายย่อย เพื่อสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศไทยและในกลุ่ม ASEAN+6 โดยเฉพาะ SMEs ขนาดเล็กและรายย่อยให้เข้าถึงผู้ซื้อทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศได้โดยตรง และเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาสินค้าให้กับ SMEs และผู้ซื้อ

๑๐. โครงการศูนย์ให้บริการธุรกิจ SMEs แบบครบวงจร (SMEs One-stop Servive Center) โครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐ และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการของ SMEs ซี่งจะทำให้ SMEs มีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ SMEs ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยังไม่พื้นตัว ให้สามารถยังคงดำเนินการต่อไปได้โดยเร็ว มีโครงการค้ำประกันสินเชี่อผู้ประกอบการ SMEs ที่เกี่ยวข้อง ๒ โครงการ คือ

๑.โครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ ๕ (PGS 5)
กลุ่มเป้าหมาย สำหรับผู้ประกอบการ SMEs วงเงินโครงการ ๒๔๐,๐๐๐ ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย SMEs สูงสุดไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท ต่อราย ต่อสถาบันการเงิน ระยะเวลาค้ำประกัน สูงสุดไม่เกิน ๗ ปี ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน อัตราร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน ฟรีค่าธรรมเนียม ค้ำประกันปีแรก (สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการค้ำประกันสินเชื่อโครงการ PGS ระยะที่ ๕ ตั้งแต่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ หรือวงเงินค้ำประกันสำหรับฟรีค่าธรรมเนียมครบ ๕๕,๐๐๐ ล้านบาท แล้วแต่เงื่อนไขใดจะถึงก่อน) ระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน สิ้นสุดรับคำขอ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ หรือวงเงินค้ำประกันครบ ๒๔๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วแต่เงื่อนไขใดถึงก่อน สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ๒๐ ธนาคาร

๒. โครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ปี ๒๕๕๗
กลุ่มเป้าหมาย - สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป ที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) วงเงินโครงการ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อราย SMEs สูงสุดไม่เกิน ๔๐ ล้านบาท โดยนับเฉพาะการค้ำประกันภายใต้โครงการนี้ ระยะเวลาการค้ำประกัน สูงสุดไม่เกิน ๕ ปี ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน อัตราร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน คุณสมบัติของ SMEs - บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย - มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน ๒๐๐ ล้านบาท (ไม่นับรวมที่ดิน) - ประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี - ที่เป็นลูกหนี้ปกติตามเกณฑ์ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน สิ้นสุดรับคำขอวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ รายละเอียดปรากฏตามข้อมูล บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำเลยอ้างส่ง ศาลหมาย ล.๑

จำเลยสอบถามเจ้าหน้าที่ บสย.ทางโทรศัพท์ว่า ในช่วงที่ผ่านมาปี ๒๕๕๗ มีการชุมนุมประท้วง ทางการเมือง ทำให้ขายสินค้าไม่ค่อยได้ ถ้าธุรกิจประสบปัญหาจะให้ทำอย่างไร เจ้าหน้าที่ตอบว่า ให้ธนาคารยื่นฟ้องผู้กู้ไปก่อน เมื่อยื่นฟ้องแล้ว ธนาคารสามารถนำคำฟ้องมาขอให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมจ่ายชำระหนี้ได้เลย โดยไม่ต้องรอศาลพิพากษา เมื่อศาลพิพากษาแล้ว ธนาคารจะส่งคำพิพากษาให้ บสย. และ บสย. จะมีหนังสือเชิญผู้ประกอบการ SMEs ไปพบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ โดยจะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี หากปฏิบัติตามแผนแล้ว ยังไม่สำเร็จ บสย.จะให้โอกาสยื่นแผนฟื้นฟูกิจการใหม่ได้อีก จนกว่าจะสำเร็จตามแผน และสามารถจ่ายหนี้คืน บสย.ได้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้ได้รับสินเชื่อที่มากเพียงพอในการทำธุรกิจ โดยเสียดอกเบี้ยอัตราต่ำ ถ้าไม่มีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ผู้ประกอบการ SMEs ก็จะไม่มีโอกาสได้รับสินเชื่อ ไม่มีเงินทุนไปทำธุรกิจ สิ่งนี้คือบุญคุณท่วมหัว


ข้อ ๓. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ จำเลยอ้างส่ง ศาลหมาย ล.๒ วางหลักกฎหมายเรื่องเบี้ยปรับไว้ว่า ส่วนการคิดดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น ตามสัญญากู้เงิน เอกสารหมาย จ.๓ ข้อ ๔ ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่ระบุในสัญญาข้อ ๒ ซึ่งหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ และในกรณีที่มีการผิดนัดแล้วเช่นนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว ในอัตราผิดนัดสูงสุดสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารหมาย จ.๑๕ ข้อ ๓ (๔) ดังกล่าวมาแต่อย่างใด สัญญาข้อ ๔ นี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม ความตามสัญญาข้อ ๔ นี้เป็นการกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสูงอันเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ และเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินรายนี้แล้ว เห็นว่า ฯ อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามที่ระบุในสัญญากู้เงินข้อ ๔ ที่กำหนดไว้เป็นอัตราผิดนัดสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงมาก เช่น บางช่วงอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี และบางช่วงสูงถึงร้อยละ ๒๔ ต่อปี นับว่าเป็นเบี้ยปรับในลักษณะดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนไปมาก เห็นสมควรลดลงเหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี เท่านั้น ฯ

จำเลยขอให้การว่า ตามการ์ดคำนวณภาระหนี้ชำระไม่ตามกำหนด สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๗ จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ที่ต้องชำระเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โดยถือว่าสัญญาที่มีต่อกันสิ้นสุดลงในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในสัญญาผูกพันจำเลยอีกไม่ได้ การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ในอัตราร้อยละ ๒๑.๕๐ ต่อปี และในวันที่ถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘) ในอัตราร้อยละ ๓๕ ต่อปี เป็นต้นมา และโจทก์คิดกค่าปรับชำระล่าช้าอีกเดือนละ ๒๗๘.๒๐ บาท อีก ๔ เดือน หลังเลิกสัญญาแล้ว เท่ากับเป็นการคิดค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และให้นำเงินที่จำเลยชำระหลังจากเลิกสัญญาแล้วในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ จำนวนเงิน ๑๓,๕๐๐ บาท มาหักออกจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย Website www.bot.or.th อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ จำเลยอ้างส่ง ศาลหมาย ล.๓ ปรากฏว่า โจทก์ กำหนดให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน แก่ผู้ฝากเงิน ในอัตราร้อยละ ๑.๓๐ ถึง ๑.๕๕ ต่อปี เฉลี่ยเท่ากับอัตราร้อยละ ๑.๔๒๕ ต่อปี (๑.๓๐ บวก ๑.๕๕ เท่ากับ ๒.๘๕ หาร ๒ เท่ากับ ๑.๔๒๕)

โจทก์คิดดอกเบี้ยหลังจากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ในอัตราร้อยละ ๒๑.๕๐ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำเฉลี่ยร้อยละ ๑.๔๒๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ ๒๐.๐๗๕ ต่อปี (๒๑.๕๐ ลบ ๑.๔๒๕ เท่ากับ ๒๐.๐๗๕) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำร้อยละ ๑.๔๒๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๑,๔๐๘.๗๗ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๒๐.๐๗๕ หาร ๑.๔๒๕ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๔๐๘.๗๗) ซึ่งเป็นกำไรที่สูงมาก จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนอันสมควร

โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดนัดนับจากวันถัดจากวันฟ้อง (วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ในอัตราร้อยละ ๓๕ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำเฉลี่ยร้อยละ ๑.๔๒๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ ๓๓.๕๗๕ ต่อปี (๓๕ ลบ ๑.๔๒๕ เท่ากับ ๓๓,๕๗๕) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำร้อยละ ๑.๔๒๕ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๒,๓๕๖.๑๔ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๓๓.๕๗๕ หาร ๑.๔๒๕ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๒,๓๕๖.๑๔) ซึ่งเป็นกำไรที่สูงมาก จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนอันสมควร ศาลมีอำนาจปรับลดลงให้ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร


ข้อ ๔. ในส่วนที่นำคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ จำเลยขอกราบเรียนว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลได้ในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นประกาศที่ออกมาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ คิดถึงวันนี้ เป็นเวลา ๑๐ ปี แล้ว ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ มียอดหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลค้างชำระรวม ๓๑๗,๐๐๓ ล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๘๘,๗๖๐.๘๔ ล้านบาท หากไม่แก้ปัญหา ระยะเวลา ๑๐ ปี ผ่านไป เป็นค่าดอกเบี้ยมากถึง ๘๘๗,๖๐๘.๔๐ ล้านบาท ถึงวันนั้น เศรษฐกิจประเทศไทยก็จะพังหมด เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ จะเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เป็นจำนวนมหาศาล


ข้อ ๕. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) เพื่อช่วยเหลือประคับประคองผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และสถาบันการเงินเอกชนชะลอการปล่อยสินเชื่อ โครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐ และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการของ SMEs ซี่งจะทำให้ SMEs มีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ SMEs ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศยังไม่ฟื้นตัว ให้สามารถยังคงดำเนินการต่อไปได้โดยเร็ว โจทก์สมัครใจเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือ SMEs กับรัฐบาล โจทก์ก็ควรจะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก อย่างนี้ไม่ใช่ช่วยเหลือ แต่เป็นการทำลาย


ข้อ ๖. ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ปี ๒๕๕๗ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๑ กำหนดไว้ว่า กลุ่มเป้าหมาย • สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป ที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จหำกัด (มหาชน) ตามคำฟ้อง ธนาคารจะเป็นผู้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ บสย.จะไม่พิจารณาซ้ำ ซึ่งโจทก์ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว ตามโครงการค้ำประกันของโจทก์ กลุ่มเป้าหมายสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป ที่ได้รับสินเชื่อจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ดังนั้น การที่โจทก์ส่งเรื่องของจำเลยให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน เท่ากับโจทก์ยอมรับว่า จำเลยเป็นผู้ประกอบการ SMEs ดังนั้นโจทก์จึงต้องคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามประกาศโจทก์ ตาราง ๒ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ เริ่มใช้ตั้งแต่ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘ ข้อ ๑๐. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Minimum Loan Rate) SME MLR อัตราร้อยละ ๙.๗๕ ต่อปี ลูกค้าที่ใช้อัตราดอกเบี้ย SME MLR ในการอ้างอิง ได้แก่ ลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ และในประกาศข้อ ๑๖. อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในกรณีปกติ ลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เงินกู้ระยะยาว เกินกว่า ๑ ปี อัตรา SME MLR + ๔.๗๕% ต่อปี รวมแล้วเท่ากับอัตราร้อยละ ๑๔.๕๐ ต่อปี และตามข้อ ๑๗. อัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ ๑๕.๐๐ ต่อปี

ดังนั้น การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยโดยอ้างอิงตามข้อ ๔. อัตราดอกเบี้ยเพื่อธุรกิจ ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Commecial Rate) MCR เท่ากับ ๑๒.๐๐% โจทก์ให้คำนิยามว่า MCR คือ อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ลูกค้าที่ใช้อัตราดอกเบี้ย MCR ในการอ้างอิงลูกค้าวงเงินสินเชื่อเพื่อธุรกิจสำหรับุคคล และตามข้อ ๑๔, วงเงินสินเชื่อเพื่อธุรกิจสำหรับลูกค้าบุคคล อัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีปกติ MCR + ๒๓.๐๐% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ๓๕.๐๐% จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ถูกต้องตามประกาศของโจทก์ เพราะโจทก์ยอมรับแล้วว่า จำเลยเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs จึงให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน การคิดออกเบี้ยของโจทก์จึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะ เงินที่ผ่อนชำระหนี้ไปแล้ว ๑๖๗,๒๐๐ บาท จึงต้องนำไปหักชำระต้นเงิน ๔๖๗,๐๐๐ บาท หักแล้ว คงเหลือต้นเงินค้างชำระ ๒๙๙,๘๐๐ บาท รายละเอียดปรากฏตามตารางสรุป การ์ดคำนวณภาระหนี้ ฯ จำเลยอ้างส่ง ศาลหมาย ล.๔./

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.514 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena