ข้อมูลล่าสุด ที่มา เพจสื่อศาล
มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน
หนี้ที่ท่านต้องการแก้ไขเข้าตามลิงค์นี้ คือ
www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx
ตอนแรกทางต้นทางให้ลิงค์นี้มา
www.1213.or.th/App/DMed/V1
จากการทดสอบที่ให้มาพบว่าพบว่ามันเข้ายากมากๆ+ไม่ตรงกับสิ่งที่สมาชิกต้องการเท่าไหร่ ให้เข้าอันนี้แทน
www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx
ไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล
mediation.coj.go.th
มีไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องซึ่ง ถ้าเป็นหนี้ที่หยุดจายมานานจนเปลี่ยนเจ้าหนี้ไปเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว
ควรเช็คให้แน่ใจว่าชำระครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เพราะเกี่ยวพันกับอายุความในการสู้คดี
ถ้าฟ้องแล้วก็มี 2 ทางคือเข้าคลินิคแก้หนี้หรือไกล่เกลี่ยไปถ้าไม่เข้าเงื่อนไขของคลินิคแก้หนี้
ปัญหาวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนในวงกว้าง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม มีมาตรการเพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงเพิ่ม "ทางด่วนแก้หนี้" เพื่อเป็นช่องทางเสริมสำหรับประชาชนและธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อน
โดย ธปท.จะช่วยรับเรื่องและเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ติดต่อหรือเจรจากับผู้ให้บริการทางการเงินในกรณีจำเป็น
นอกจากนี้ ยังมีช่องทาง "คลินิกแก้หนี้" เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ค้างชำระและเป็น NPL
กับผู้ให้บริการเพียงรายเดียวหรือหลายราย รวมทั้งหนี้ที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว
ซึ่งมีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิทเป็นผู้ดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้
หาทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม ธปท. จึงได้ร่วมมือกับองค์กรที่เป็นเสาหลักทางยุติธรรม
ในการสร้างวัฒนธรรมการไกล่เกลี่ยให้เกิดขึ้นในระบบการเงินของไทย เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
กล่าวคือ ลูกหนี้จะมีทางเลือกในการชำระหนี้มากขึ้น โดยจะได้รับข้อเสนอที่ผ่อนปรนทำได้จริง ขณะที่เจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์
เช่นกันจากการได้รับชำระหนี้คืน เพราะลูกหนี้จะยังผ่อนชำระหนี้ต่อเนื่อง ไม่ต้องไปฟ้องร้องบังคับคดี สามารถรักษาสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ซึ่งจะช่วยลดปริมาณคดีในศาล และลดต้นทุนของระบบการเงินในภาพรวม
สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่จะดำเนินการเป็นลำดับแรก คือ ความร่วมมือของสำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ ธปท. จัดงาน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล"
ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 14 เมษายน 2564 ประชาชนที่มีหนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่ว่าจะมีสถานะเป็นหนี้ดีที่ยังผ่อนชำระปกติ
แต่เริ่มขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือหนี้ NPL ทั้งที่ยังไม่มีการฟ้อง อยู่ระหว่างฟ้อง หรือที่มีคำพิพากษาแล้ว สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรม
ในครั้งนี้เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาที่มีกับเจ้าหนี้ได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัจจุบันยังจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
งานมหกรรมที่จะจัดขึ้นจึงเป็นการไกล่เกลี่ยแบบออนไลน์ (Online mediation)
เป้าหมายสำคัญและถือเป็นความพิเศษของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ คือ การไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
ในส่วนที่มีคำพิพากษาและถูกบังคับคดีแล้ว ซึ่งไม่สามารถเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ และปกติเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้เจ้าหนี้มักจะไม่ยอมเจรจา
แต่ผู้ให้บริการทางการเงินจำนวน 22 แห่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องผ่อนปรนเงื่อนไขให้ปฏิบัติได้จริง
เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้ โดยจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในชั้นบังคับคดีเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้อีกครั้งหนึ่ง
ข้อเสนอที่ลูกหนี้จะได้รับในงานนี้จะมีความผ่อนปรนตามแนวทางของคลินิกแก้หนี้ ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้จะผ่อนชำระเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างถ้ามีจะยกให้ ถ้าลูกหนี้จ่ายชำระตามแผนได้สำเร็จ และที่สำคัญจะมีระยะเวลาผ่อนชำระยาวถึง 5 ปี ซึ่งจะทำให้ค่างวด
ที่ลูกหนี้ต้องจ่ายไม่สูงนักและอยู่ในวิสัยที่ชำระได้ เช่น ถ้าเงินต้น 50,000 บาท ปีที่ 1-3 จ่ายเพียงเดือนละ 1,111 บาท ปีที่ 4-5 เดือนละ 416 บาท
สำหรับลูกหนี้ที่สถานะเป็น NPL ทั้งที่ยังไม่ถูกฟ้องหรือถูกฟ้องแล้ว สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้สมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ได้เลย
และเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาลไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากศาลรับข้อเสนอของคลินิกแก้หนี้เป็นหนึ่งข้อเสนอที่ใช้ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล
ถือเป็นความคืบหน้าภายหลังที่การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมกับ ธปท. นอกจากนี้ คลินิกแก้หนี้ได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของ
ผู้เข้าร่วมโครงการจากเดิมที่จะต้องเป็นหนี้ NPL ก่อน 1 กรกฎาคม 2563 เป็น NPL ก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้ครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤติโควิด19 ด้วย
นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่เป็น NPL แต่เริ่มขาดสภาพคล่อง สามารถเข้าร่วมมหกรรมการไกล่เกลี่ยหนี้ได้ เช่น ขอเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้
ที่มีระยะเวลาผ่อนนานขึ้นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ซึ่งจะช่วยลดภาระลงได้ และดีกว่าการผ่อนขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ อาจขอให้เจ้าหนี้คงวงเงินบัตรเครดิต
บางส่วนเอาไว้ได้อีกด้วย ทั้งนี้ การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ระยะยาวดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งของมาตรการขั้นต่ำในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท.
ซึ่งจะไม่กระทบประวัติในฐานข้อมูลเครดิตบูโร
ประชาชนที่มีหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน สามารถเข้าร่วมงานมหกรรม ไกล่เกลี่ยออนไลน์ในครั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป
ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานศาลยุติธรรม กรมบังคับคดี ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) รวมทั้งผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วม
ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ศึกษาแนวทางกรอกข้อมูลอย่างละเอียด ตรวจเช็คไม่ให้ผิดพลาด เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว หากต้องการความช่วยเหลือหรือ
คำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. โทร 1213 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.
กรณีนอกเวลาทำการท่านสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรืออีเมล์มาที่
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เพื่อที่เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป
ข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์:
สำนักงานยุติธรรม :
www.coj.go.th
กรมบังคับคดี :
www.led.go.th
ธนาคารแห่งประเทศไทย :
www.bot.or.th
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน :
www.1213.or.th
รายชื่อผู้ให้บริการทางการเงิน 22 แห่ง
ที่เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลโดยการสนับสนุนของ ธปท.
และกรมบังคับคดี ธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง
1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพมหานคร
6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
10. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
Non-bank จำนวน 12 แห่ง
1. บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
2. บริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
3. บริษัท เทสโก้ โลตัส มันนี่ เซอร์วิส จำกัด
4. บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
6. บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
9. บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
11. บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
12. บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)