อายุความของหนี้ แต่ละประเภท

4 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา - 2 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #113682 โดย konsiam
อายุความของหนี้ แต่ละประเภท 
-บัตรเครดิต​ 2 ปี
-สินเชื่อ​เงินสด​ สินเชื่อบุคคล เงินกู้  ผ่อนชำระรายเดือน  5ปี
-บัตรกด​เงินสด​และอื่นๆ 10 ปี
- ดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Badman, pond_wara, kan_kas, Aungpho88, konsupan, kimoou18, monsterangle, minnie mint, nw2526, Dadada, Ongsa777, Poohpooh, Rojer, Mamablue69, Hajijang, Dukdae9884, Muay, t04271

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #119824 โดย Satang
สรุปบัตรกดเงินสดอายุความ 10ปีหรอครับ ทำไมในบอร์ดแจ้งว่า 5ปีอะครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #119828 โดย tulunu

Satang เขียน: สรุปบัตรกดเงินสดอายุความ 10ปีหรอครับ ทำไมในบอร์ดแจ้งว่า 5ปีอะครับ

อันที่คุณอ่าน มัน 10 ปีที่แล้ว // ในกระทู้หัวข้อ อายุความ เป็นข้อมูลปีที่แล้ว // เช็คความปัจจุบันของข้อมูลด้วยค่ะ // กฎหมาย มีปรับเปลี่ยนตลอดค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #119834 โดย Badman
ผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้

1. บัตรเครดิตที่ให้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วย ถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการของบัตรเครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี
นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระหนี้หรือวันที่ผู้ถือบัตรเครดิตชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193 / 34 (1), (7)

อ้างอิงคำพิพากษาฎีกา 3101/2551
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบธุรกิจให้บริการประเภทบัตรเครดิต
มีลักษณะเป็นการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและการใช้บริการ
ส่วนการให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิต
เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว
โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้แก่สมาชิก
การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนก็ดี
หรือให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็ดี
ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป
การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)

2. สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีข้อตกลงการให้บริการสินเชื่อ
ลักษณะเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่มีการผ่อนต้นเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ
มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
193/33 (2) ประกอบคำพิพากษาฎีกาที่ 6854 / 2553

3. บัตรกดเงินสด ที่มีข้อตกลงการให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเป็นสัญญากู้ยืมเงิน แบบไม่ต้องผ่อนต้นเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ
และไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง บัตรกดเงินสดประเภทนี้จะมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/30 ประกอบคำพิพากษาฎีกาที่ 4088/2560

ที่มา www.thairath.co.th/news/local/1967181
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu, Looknok, Estrella_Liora, Rojer, Mamablue69, Hajijang, Hippocrite, Muay

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 4 เดือน ที่ผ่านมา #121035 โดย musi
สอบถามครับอายุความบัตรเครดิต 2 ปี นับจากวันที่หยุดจ่ายใช่ไหมครับแล้วกรณีที่มีการขายหนี้ให้บริษัทอื่นให้นับจากวันที่ขายหนี้หรือจากวันที่หยุดจ่ายของบริษัทเก่าครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 4 เดือน ที่ผ่านมา #121036 โดย tulunu

musi เขียน: สอบถามครับอายุความบัตรเครดิต 2 ปี นับจากวันที่หยุดจ่ายใช่ไหมครับแล้วกรณีที่มีการขายหนี้ให้บริษัทอื่นให้นับจากวันที่ขายหนี้หรือจากวันที่หยุดจ่ายของบริษัทเก่าครับ


นับจากวันผิดนัดชำระ ไม่ใช่ วันหยุดจ่าย
รอบการนัดชำระหนี้ ธนาคารมีแจ้งชัดเจนอยู่แล้ว

ถึงขายหนี้ไปแล้ว ก็ยังนับเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนมือเจ้าหนี้

เข็คเครดิตบูโรได้ มันจะมีวัน ผิดนัดชำระหนี้ อยู่ในหัวข้อหนี้ แต่ละใบ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 4 เดือน ที่ผ่านมา #121037 โดย musi
ขอบคุณครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #121396 โดย Nnnsugar
ถ้าสถาบันเดิมขายหนี้ให้บริษัทอื่น แล้วมีการทบต้นและดอก และให้จ่ายยอดทั้งหมด ไม่มีการลดหนี้ ควรทำยังไงดีคะ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #121405 โดย Badman
ควรดูว่ามีประเด็นสู้เรื่องอายุความได้ไหม เคยเก็บเครดิตบูโรล่าสุดไว้เป็นหลักฐานบ้างไหมเพื่อเป็นหลักฐานสู้เรื่องอายุความต่อไป

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 2 เดือน ที่ผ่านมา #121532 โดย Badman
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีอายุความ 10 ปี

หากลูกค้าบัตรเครดิตรายใดที่ไปตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ หรือสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือบันทึกรับสภาพหนี้ก็จะทำให้อายุความของคดีเป็น 10 ปีเลยนะครับ
ส่วนการแปลงหนี้นั้นก็จะครอบคลุมวิธีการต่างๆที่สถาบันการเงินหรือธนาคารจะมีการทำบันทึกทำความเข้าใจว่าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ครั้งนั้นจะมีวิธีการอย่างไร เช่น
ห้ามปล่อยสินเชื่อใหม่ไปชำระหนี้เดิม ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย เป็นต้น

ส่วนวิธีการของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดต้นเงิน ลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาชำระหนี้ เปลี่ยนหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว เป็นต้น
หากทำสัญญาแปลงหนี้ไปแล้ว อายุความของคดีเปลี่ยนจาก 2 ปี เป็น 10 ปีเลยนะครับผม
ที่มาโดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
น.บ. , น.บ.ท. , น.ม. (กฎหมายมหาชน)
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121649 โดย Attha365
บัตร อิออน กับ อีซี่บาย ยูเมะพลัส เข้าข่าย ข้อ 1 หรือ ช้อ 3 ครับ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: jaranphophan577@gmail.com

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121663 โดย Badman
บัตรอิออนถ้าเป็นยัวร์แคช กับบัตรยูเมะพลัส ซึ่งเป็นบัตรกดเงินสดมีอายุความ 10 ปีครับ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: jaranphophan577@gmail.com, Muay

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121853 โดย Ben32
 แล้วสินเชื่อดรอมิสกี่ปีคะ บางคนบอก5บางคนบอก10ปี ก็เลยไม่แน่ใจค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121854 โดย tulunu

Ben32 เขียน:  แล้วสินเชื่อดรอมิสกี่ปีคะ บางคนบอก5บางคนบอก10ปี ก็เลยไม่แน่ใจค่ะ


เท่าที่เข้าใจนะคะ
ถ้ากู้เงิน มาหนึ่งก้อน แล้ว ผ่อนชำระ 10 งวด งวดละ เท่าๆ กัน
แบบนี้ 5 ปี

แต่ถ้ากดเงินสด ใช้จ่าย และ ต้องชำระคืนทุกรอบกำหนดชำระ จะจ่ายขั้นต่ำ จะปิดหมด
แบบนี้ 10 ปี

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121855 โดย Ben32
คือเรากู้พรอมิสมา ได้เงินมาหนึ่งก้อน โอนเข้าบัญชี แล้วเราก็จ่ายเป็นงวด งวดละ2,000กว่าๆ จะจ่ายมากกว่านั้นก็ได้ แต่เราหยุดจ่ายมาได้7ปีแล้ว ตอนนี้ดอกแซงต้นไปแล้วค่ะ ก็เลยอยากทราบว่าลักษณะแบบนี้ อายุความกี่ปี  ขอบคุณนะคะ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #121864 โดย Badman

Ben32 เขียน: คือเรากู้พรอมิสมา ได้เงินมาหนึ่งก้อน โอนเข้าบัญชี แล้วเราก็จ่ายเป็นงวด งวดละ2,000กว่าๆ จะจ่ายมากกว่านั้นก็ได้ แต่เราหยุดจ่ายมาได้7ปีแล้ว ตอนนี้ดอกแซงต้นไปแล้วค่ะ ก็เลยอยากทราบว่าลักษณะแบบนี้ อายุความกี่ปี  ขอบคุณนะคะ


ถ้าเป็นแบบนี้มีอายุความ 5 ปีครับ เช็คบูโรและหาใบแจ้งหนี้เก่าๆเก็บไว้รอหมายฟ้องมาครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #121944 โดย Badman

musi เขียน: สอบถามครับอายุความบัตรเครดิต 2 ปี นับจากวันที่หยุดจ่ายใช่ไหมครับแล้วกรณีที่มีการขายหนี้ให้บริษัทอื่นให้นับจากวันที่ขายหนี้หรือจากวันที่หยุดจ่ายของบริษัทเก่าครับ


นับจากวันที่ผิดนับชำระจากบริษัทเดิมครับ หรือถ้าไม่มีบอกวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายคงต้องนับวันที่ขายหนี้แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่หมดอายุความครับ
วิธีการนับอายุความของบัตรเครดิตเป็นไปตามนี้ครับ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #121962 โดย NG2426
เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี ครั้งแรกได้รับเป็นเงินก้อน ผ่อนจ่ายรายเดือนเท่าๆกัน เคยปิดบัญชีไปแล้ว ต่อมาธนาคารส่งบัตรมาให้ สามารถกดเงินสดได้ แต่ผ่อนสินค้าไม่ได้ แบบนี้สินเชื่อนี้มีอายุความกี่ปีคะ ตอนนี้หยุดจ่ายมา 11 เดือนแล้ว กรุงศรียังโทรมาให้จ่ายหยอดอยู่ ให้ส่วนลดน้อย กังวลกลัวจะขายหนี้ด้วยค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #121963 โดย Badman
ถ้าไม่มีจำนวนงวดต่อเดือนที่แน่นอนจ่ายแค่ขั้นต่ำเดือนละ 500 หรือ 1000.- จะเป็นบัตรกดเงินสดครับ
มีอายุความ 10 ปี เช่นบัตรกดเงินสดยูเทะพลัส อิออนยัวร์แคช ยูโอบีแคชพลัส สปีดี้แคช

อายุความ 10 ปี : กรณีหนี้ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ เช่น
>>> 3.1 สัญญากู้ยืม ที่มีการกำหนดชำระทุนคืนทั้งหมด "ในครั้งเดียว" (ไม่ใช่แบบผ่อนชำระเป็นงวดๆ)
>>> 3.2 บัญชีเดินสะพัด เบิกเงินเกินบัญชี
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: NG2426

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 3 ปี 3 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #121991 โดย Badman
อายุความคืออะไร?
ที่มา th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1
อายุความ (อังกฤษ: prescription หรือ limitation) คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์
หากปล่อยเนิ่นนานไปจนล่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเช่นว่าจะเป็นอันยกขึ้นอ้างอีกมิได้ ซึ่งเรียกว่า "การขาดอายุความ" เช่น
สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ คดีขาดอายุความ หนี้ขาดอายุความ เป็นต้น

เหตุผลของอายุความ
การที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้นั้นมีเหตุผลสามประการ ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิตินโยบายของรัฐเพื่อดำรงความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในการอ้างสิทธิของบุคคล
อันเป็นการห้ามปรามมิให้มีการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้วมาเรียกร้องต่อกัน

เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้วนั้นย่อมยุ่งยากสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์แก่กัน
พยานหลักฐานอาจสูญหาย เสื่อมสภาพ บกพร่อง หรือคลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลาได้
ซึ่งจะส่งผลให้การวินิจฉัยข้อพิพาทนั้นไม่อาจเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง

2. เป็นโทษสำหรับเจ้าหนี้ที่ปล่อยปละละเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตนเสียที จนกระทั่งล่วงเลยอายุความที่กำหนดไว้
ซึ่งส่งผลให้ลูกหนี้เกิดมี "สิทธิปฏิเสธ" (อังกฤษ: right of refusal) ขึ้นสามารถปฏิเสธการเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่เพิ่งมากระทำ
เมื่อล่วงเลยอายุความไปแล้วได้ดังนั้น อายุความจึงเป็นเครื่องกระตุ้นให้เจ้าหนี้ระแวดระวังในการใช้สิทธิของตนมากขึ้น

3. เป็นการช่วยปลดเลื้องภาระของลูกหนี้ในอันที่จะต้องเก็บรักษาหลักฐานในการชำระหนี้ไว้ ไม่ต้องคอยพะวงรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้จนชั่วชีวิต
เพราะเมื่อล่วงอายุความไปแล้ว ลูกหนี้ก็สามารถปฏิเสธการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้โดยเพียงต่อสู้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้วเท่านั้น

โดยปกติในคดีแพ่งถึงแม้ว่าหนี้ของเราขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้
การที่สิทธิเรียกร้องหรือหนี้ขาดอายุความเป็นแต่เพียงเป็นเหตุให้ลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น
ไม่ทำให้เจ้าหนี้เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดี เพราะการที่หนี้ขาดอายุความไม่เป็นเหตุ
ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องได้อยู่ ศาลจะพิพากษายกฟ้องไปเลยยังไม่ได้

ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่หนี้ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง
แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม
ศาลก็ไม่อาจเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/23 “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
ศาลจะอ้างเอาอายุความเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้”

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด
ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าใด แม้จะขาดอายุความ หากยังไม่ได้ชำระหนี้กัน
หนี้ก็ยังคงเป็นหนี้อยู่ตลอด

ดังนั้นหากภายหลังที่หนี้ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว แต่ลูกหนี้ได้มาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
หนี้ก็เป็นอันระงับลงและภายหลังลูกหนี้จะเรียกเงินคืน  โดยอ้างเหตุหนี้ขาดอายุความแล้วไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/28 “การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้
แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม”

ลูกหนี้ที่ชำระหนี้บางส่วนไปภายหลังที่หนี้ขาดอายุความส่วนการที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ หรือชำระหนี้ให้บางส่วน
ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ
อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง

แต่การกระทำดังกล่าวจะเป็นการรับสภาพหนี้ได้ต้องกระทำระหว่างหนี้นั้นยังไม่ขาดอายุความ
ถ้าหากหนี้ขาดอายุความไปแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะรับสภาพหนี้ได้
ดังนั้น การที่ลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วนไปภายหลังที่หนี้ขาดอายุความแล้ว
จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่
แต่มีผลเพียงว่า ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปแล้ว เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น ไม่สามารถเรียกคืนได้

ไม่ว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปโดยรู้หรือไม่รู้กำหนดอายุความก็ตาม
หนี้ส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีการชำระก็ยังคงถือว่าขาดอายุความต่อไป
ลูกหนี้ยังคงมีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระหนี้ในส่วนนี้ได้ต่อไป
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: tulunu, Mamablue69, NeverGiveUp, jaranphophan577@gmail.com

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.537 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena