โทรศัพท์จากจนทเฟิร์สช้อยส์ (ครั้งที่1) หลังได้รับหมายศาล

7 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #85617 โดย นักรบมังกร
สวัสดีเราเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังลุกขึ้นเผชิญหน้ากับปัญาหนี้บัตรเครดิตเฟิร์สช๊อยส์ เราขอเล่าสั้นๆดังนี้
- ยอดหนี้บัตร(รวมทุกสิ่งอย่างตามที่เค้าอ้างมา) 104,xxx ต้นจริงๆคือ 81,xxx
- หยุดส่งตั้งแต่ พค2558 (ครบ 1 ปีปุ๊บฟ้องปั๊บ)
- ได้รับหมายศาลเมื่อต้นเดือนพคนี้ และแจ้งให้ไปขึ้นศาลวันที่ 7 มิย 2559

วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากจนทที่แจ้งว่าเปนจนทจากบัตรเฟิร์สช๊อยส์ โทรมาสอบถามว่าพอจะปรับปรุงโครงสร้างนี้กับทางเค้าวันนี้เลยไหม เพื่อจะได้ให้ทนายเตรียมพิมพ์เอกสารประนอมหนี้สำหรับวันที่จะไปขึ้นศาลโดยบอกว่า เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาขึ้นศาล แค่เซนต์เอกสารก็กลับบ้านได้เลย

จนทพูดดีมากดูช่วยเหลือ แต่พอเราถามว่ายอดที่ต้องเป็นหนี้กันใหม่คือเท่าไร กลับบอกว่าเท่ายอดเดิมที่ฟ้อง แต่จะให้ผ่อนชำระเป็นงวดตามที่เราสะดวกจะส่ง เราเลยบอกไปว่า ส่งไม่ไหว เงินเดือนไม่เหลือ ลูกอีก 2 คนค่าเทอมยังแทบไม่พอจ่าย ถามเราอีกว่าเงินเดือนตอนนี้เท่าไร เราบอกเท่าที่ตอนสมัครบัตรไปแหล่ะ 20,xxx เรารอดูทีท่าว่าจะยื่นข้อเสนอส่วนลดอะไรให้บ้างไหม สรุปจนทไม่พูดอะไรถึงแนวทางว่าจะลดให้ พูดเพียงแต่จะให้เราผ่อนกะเค้า ก่อนวางสายก้อไซโคเราเยอะเหมือนกันว่า จะอายัดเงินเดือนนะประมาณนี้

ก่อนวางสายถามเราด้วยว่าจะไปศาลไหม เราบอกไปแน่นอน จนทก้อวางสายไป

จากที่เราเล่ามา เราอยากถามเพื่อนๆสมาชิกที่เคยมีประสบการณ์ว่า วันที่ไปขึ้นศาลทางเจ้าหนี้จะเสนอลดหนี้ให้บ้างไหม เราเคยอ่านกระทู้เก่าที่แชร์กันไว้เห็นว่าได้ลดหนี้กัน (ของเฟิร์สช๊อยส์นะคะ) แล้ววันที่ไปขึ้นศาลเราควรเจรจาอย่างไรเพื่อที่จะให้เค้าเปิดประเด็นเสนอส่วนลดให้น่ะค่ะ รบกวนเล่าสู่กันฟังหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ :pray:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #85630 โดย chanisorn
อ่านมาก ๆ เตรียมพร้อมการไปศาลค่ะ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคุณ
คุณมีเงินเก็บหรือไม่ ในอนาคตจะมีเงินเมื่อไร มีสัก 50 %ของยอดหนี้ไหม เช่น โบนัสออก หรือยืมญาติ
พี่น้องได้ไหม หรือไม่มีเลย
1. ถ้าพอมีสัก 50 % ก็ติดต่อขอลดหนี้ ชี้แจงว่ามีแค่นี้จริง ๆ เท่านี้แล้วปิด hair cut ไป
2. ไปศาล ไปเจรจาขอเลื่อนนัดศาลเพื่อต่อรองกับเจ้าหนี้ยืดเวลาไปอีกสัก 2 เดือน
3. ไปเจรจาขอผ่อนเดือนละ น้อย ๆ ไปก่อน สักพัก พอมีเงินก็ติดต่อขอปิดแบบมีส่วนลด
ก็ลองคุยดูค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #85670 โดย Pheonix
ข้อ ๕. ตามคำฟ้องข้อ ๒. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โจทก์อ้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งให้ปฏิบัติในเรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายจริงและพอสมควรแก่เหตุเกี่ยวกัยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (อัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี) เมื่อรวมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมแล้ว ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี ปรากฏตามสำเนาใบอนุญาต กระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘ ถึง ๑๑ ตามคำฟ้องข้อ ๓. เมื่อประมาณเดือน เมษายน ๒๕๕๖ จำเลยได้ตกลงตอบรับเข้าเป็นสมาชิกสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า คาร์ด ซึ่งเป็นสัญญาวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระสินค้า และสินเชื่อเงินสด รวมอยู่ในสัญญาเดียวกัน และเป็นการรวมวงเงินสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ ที่จำเลยมีอยู่กับโจทก์เข้าเป็นวงเงินสินเชื่อบุคคลภายใต้ภายใต้สินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า คาร์ด ทั้งนี้ การรวมวงเงินสินเชื่อดังกล่าวไม่ได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด วงเงินสินเชื่อจะเป็นไปตามที่โจทก์กำหนด และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร โจทก์ตกลงรับจำเลยเข้าเป็นสมาชิก และอนุมัติวงเงินสินเชื่อรวมจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท (ต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินอนุมัติเป็นจำนวน ๖๓,๐๐๐ บาท) ประกอบด้วยวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต จำนวน ๑๑,๐๐๐ บาท วงเงินสินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระสินค้าและสินเชื่อเงินสดจำนวน ๕๒,๐๐๐ บาท ปรากฏตามสำเนาใบตอบรับการเป็นสมาชิก เฟิร์สช้อยส์ วีซ่า คาร์ด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๒ ๓.๒ จำเลยได้ใช้บัตรสมาชิกที่โจทก์ออกให้ เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติทั้งสิ้นจำนวน ๙๑,๒๐๐.๐๐ บาท ปรากฎตามสำเนาเอกสารการเบิกถอนเงินสด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๕ ในการเบิกถอนเงินแต่ละครั้ง จำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๑๓ ต่อปี ของยอดเงินต้นที่จำเลยเบิกถอน ในการชำระเงินคืน โจทก์จำเลยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแบบขั้นต่ำ ซึ่งสามารถชำระได้เพียงร้อยละ ๕ ของเงินต้นที่เบิกถอนพร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน โดยไม่มีกำหนดจำนวนงวดของการผ่อนชำระ ต่อมา จำเลยผิดสัญญาโดยชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน คงเหลือยอดหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นเงินต้นจำนวน ๕๑,๐๖๔.๓๕ บาท ดอกเบี้ยจำนวน ๕,๐๙๕.๐๖ บาท ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน ๔,๔๑๕.๗๑ บาท ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ๑๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวน ๖๐,๕๘๕.๑๒ บาท ตามคำฟ้องข้อ ๔. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ๔.๒ สินเชื่อเงินสดเป็นเงินจำนวน ๖๐,๕๘๕.๑๒ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมกันในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ๕๑,๐๖๔.๓๕ บาท นับแต่วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยคำนวณดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ถึงวันฟ้องรวมกันเป็นเงินจำนวน ๔,๐๓๔.๗๘ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๖๔,๖๑๙.๙๐ บาท ข้อ ๖. ตามประกาศกระทรวงคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๗ ความว่า อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๔ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๕ ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศกำหนดให้การให้สินเชื่อส่วนบุคคล อันเป็นกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการธนาคาร ซึ่งมีลักษณะตามที่ระบุไว้ในประกาศนี้ เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. ในประกาศนี้ “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดา โดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง “สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ” หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์ หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ฯ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘ ความว่า ๑. เหตุผลในการออกประกาศ ประกาศนี้เดิมออกมาตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนและเป็นการป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ๒. อำนาจตามกฎหมาย อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน ปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ คำนิยาม ๔.๒ ในประกาศนี้ “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดา โดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง “สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ” หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ฯ
ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ๔.๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในเรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ใด ๆ และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ ๑๕ ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ดังกล่าว รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๒๘ ต่อปี (Effective rate) (๒) นอกจากดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ตาม (๑) แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ ฯ ข้อ ๗. จำเลยขอให้การว่า ตามประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ให้คำนิยามไว้ว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดา การให้กู้ยืมเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด จึงต้องมีตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด เป็นสำคัญ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ที่ ๓๐๕๙/๒๕๕๒ ระหว่าง บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์ นางต่อพงษ์ พิพิธหิรัญการ จำเลย สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๓ ความว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะมีพยานเอกสารมาแสดงว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืม ถือได้ว่าสัญญากู้ยืมบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง แต่เนื่องจากเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ซี่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายชื่อจำเลยผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลก็มิอาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าใบสมัครสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ ซึ่งเป็นหลักฐานว่า จำเลยลงลายมือชื่อกู้ยืมเงินโจทก์สูญหายไป ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน เอกสารหมาย จ.๕ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่า ต้นฉบับใบสมัครสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ที่สูญหายไปมีข้อความเช่นไร อันจะถือได้ว่า เป็นหลักฐานการกู้ยืมและมีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ในฐานะผู้ยืม เมื่อตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ.๕ ระบุแต่เพียงว่า เอกสารดังกล่าวสูญหายไป และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวที่สูญหายมีข้อความอันจะถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมโดยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ยืม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ข้อ ๘. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โจทก์อ้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งให้ปฏิบัติในเรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายจริงและพอสมควรแก่เหตุเกี่ยวกัยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (อัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี) เมื่อรวมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมแล้ว ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี ปรากฏตามใบอนุญาตกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘ ถึง ๑๑ ตามประกาศกระทรวงคลังเรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๕ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๕๘ (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน สำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘ - ๑๐ ให้คำนิยามไว้ว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดา ฯ การให้กู้ยืมเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามคำฟ้องข้อ ๓. เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๖ จำเลยได้ตอบรับเข้าเป็นสมาชิกสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า คาร์ด ซึ่งเป็นสัญญาวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระสินค้า และสินเชื่อเงินสด โจทก์อนุมัติวงเงินสินเชื่อรวมจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท ตามคำฟ้องข้อ ๓.๒ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ จำเลยได้เบิกถอนเงินกู้ผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ ทั้งสิ้นจำนวน ๙๑,๒๐๐ บาท ปรากฏตามสำเนาเอกสารการเบิกถอนเงินสด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๕ ตามประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ให้คำนิยามไว้ว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดแก่บุคคลธรรมดาฯ จำเลยขอปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดกับโจทก์ ตามที่โจทก์ฟ้องมา จำเลยขอให้การว่า การให้กู้ยืมเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จำเลยจึงขอให้โจทก์นำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ ตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๙๑,๒๐๐ บาท มาแสดงต่อศาล หากโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลย ผู้ยืมเป็นสำคัญ จำเลยกราบขอประทานศาลได้โปรดยกฟ้องโจทก์เสียทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามนัยแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ที่ ๓๐๕๙/๒๕๕๒ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๓ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์จะมีพยานเอกสารมาแสดงว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ยืม ถือได้ว่าสัญญากู้ยืมบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง แต่เนื่องจากเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ซี่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายชื่อจำเลยผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลก็มิอาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ ข้อ ๙. ประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๐๔ ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวดนี้ (หมวด ๖ อากรแสตมป์) ๕. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท หรือเศษของ ๒,๐๐๐ บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี ค่าอากรแสตมป์ ๑ บาท ฯ มาตรา ๑๑๘ ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว ฯ การที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน จำนวน ๙๑,๒๐๐ บาท เกินจากหลักฐานที่ทำไว้เดิม ๓๐,๐๐๐ บาท เพิ่มอีกจำนวน ๖๑,๒๐๐ บาท ในส่วนนี้เป็นการกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไป มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ และไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวดนี้ ๕. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน ๒,๐๐๐ บาท หรือเศษของ ๒,๐๐๐ บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี ค่าอากรแสตมป์ ๑ บาท ตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๑๘ ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ การที่โจทก์ประทับตราบนใบสมัครบัตรกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๒ ว่า ชำระอากรแล้ว จึงมีความหมายเพียงว่า ชำระอากรตามตราสารวงเงินที่อนุมัติให้กู้ยืมเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น ส่วน วงเงิน ๖๑,๒๐๐ บาท ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ และไม่ได้มีการปิดอากรแสตมป์ลงบนตราสารที่ให้กู้ยืมเงินนั้น จึงห้ามรับฟังเป็นพยานเอกสารในคดีแพ่ง จำเลยจึงกราบเรียนขอประทานศาลท่านได้โปรดพิจารณา

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #85707 โดย นักรบมังกร
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ
ตอนนี้ก้อเก็บเงินไว้เตรียม H/C อย่างเดียวค่ะ จะได้จบๆกันไป
แต่มีอีกประเด็นนึงคือ ตามที่ฟ้องมาบอกเราสมัครบัตรปี 2557 ซึ่งเราเชคเอกสารสำเนาใบสมัครบัตร มันเป็น ปี 2555 ซึ่งโจกย์ฟ้องมาข้อมูลไม่ตรงกัน อย่างนี้ เรายังไม่ตกลงใดๆต่อหน้าศาลได้ไหมคะ เหมือนเค้าไม่ตรวตสอบความถูกต้องก่อนฟ้องเราเลยค่ะ (เอกสารสำคัญขนาดนี้น่าจะตรวจสอบให้ดีก่อนใช่ไหมคะ)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #87394 โดย นักรบมังกร
ขอสอบถามพี่ๆน้องๆสามาชิกทุกท่านค่ะ พอดีเรากำลังเจรจาปิดบัญชีสินเชื่อบุคคล CIMB เนื่องจากจนท.สำนักงานกฎหมายเสนอให้เราปิดยอดบัญชีที่ 45000 บาท (จากยอดหนี้ 65xxx+ดบและค่าธรรมเนียม=79xxx) แต่เราไม่ไหวจริงๆ และขอต่อเหลือ 30000 บาท(ทั้งเนื้อทั้งตัวเหลือเท่านี้แล้วค่ะ)

จนทบอกว่าให้เราทำหนังสือถึง CIMB เพื่อขอส่วนลดเอง ให้ลองทำเข้าไปก่อนและชี้แจงว่าเราขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างไรบ้าง โดยจนทบอกว่าไม่รับประกันผลลัพทธ์แต่ถ้าเค้าไม่ลดให้ก้อต้องจ่ายตามเค้ากำหนดเท่านั้น

ท่านสมาชิกมีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา #87395 โดย jackTs

นักรบมังกร เขียน: ขอสอบถามพี่ๆน้องๆสามาชิกทุกท่านค่ะ พอดีเรากำลังเจรจาปิดบัญชีสินเชื่อบุคคล CIMB เนื่องจากจนท.สำนักงานกฎหมายเสนอให้เราปิดยอดบัญชีที่ 45000 บาท (จากยอดหนี้ 65xxx+ดบและค่าธรรมเนียม=79xxx ) แต่เราไม่ไหวจริงๆ และขอต่อเหลือ 30000 บาท (ทั้งเนื้อทั้งตัวเหลือเท่านี้แล้วค่ะ)

จนทบอกว่าให้เราทำหนังสือถึง CIMB เพื่อขอส่วนลดเอง ให้ลองทำเข้าไปก่อนและชี้แจงว่าเราขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างไรบ้าง โดยจนทบอกว่าไม่รับประกันผลลัพทธ์แต่ถ้าเค้าไม่ลดให้ก้อต้องจ่ายตามเค้ากำหนดเท่านั้น

ท่านสมาชิกมีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


ถ้าคุณอยากได้ส่วนลด(Haircut)ที่เยอะจริงๆ ก็ส่งเอกสารตามที่มันบอกไปให้มันเถอะครับ รวมทั้งส่งหมายศาลของเฟิร์สช้อยส์ที่เคยถูกฟ้องไปให้มันดูด้วย(ถ่ายเอกสารหมายศาล เฉพาะหน้าแรกไปให้มันดูด้วย)

เหตุผลและรายละเอียด ผมเคยเขียนอธิบายไว้อยู่ในกระทู้นี้แล้ว

ใครที่ยังไม่เข้าใจว่า Hair cut คืออะไร?...กรุณาเข้ามาอ่าน (อยู่ในอันล่างสุดของกระทู้)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=749&Itemid=64#40212


แต่ราคา Haircut ที่คุณขอไป คือ 30,000 บาท จากยอดหนี้ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 79xxx บาทนั้น ผมว่ามันไม่น่าเป็นไปได้หรอกครับ(เพราะเป็นการขอส่วนลดที่เยอะมากเกินไป) เต็มที่มันก็คงลดให้ได้เหลือแค่ 40,000 บาทเท่านั้นแหละ
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #89733 โดย นักรบมังกร
มาอัพเดทค่ะ
- CIMB ปิดยอดที่ 45000 แบ่งจ่าย 3 งวดๆละ 15000 จ่ายไประ 1 งวด กำลังจะจ่ายงวดที่ 2 สิ้นเดือนนี้ (ฮึบๆสู้ๆค่ะ)
- First choice ศาลพิภาคษาแล้วให้ชำระตามที่ฟ้องมา อันนี้โทษตัวเองค่ะไม่โทษใครเพราะจำวันขึ้นศาลผิดเอง
ตั้งสติ แต่ว่าคำพิพากษาก้อยังไม่ส่งมาที่บ้านซักทีตั้งแต่วันที่มีคำตัดสินคือ 2 สิงหาคม
- ไม่ทราบว่าเค้านะทำเรื่องอายัดเงินเดือนเราเมื่อไร เพราะเราจะยอมให้หักเงินเดือน 30% ไปก้อแล้วกัน แต่ใจก้อกังวลว่าเรายังผ่อนบ้านด้วยไม่รู้เค้าจะอายัดบ้านหรือเงินเดือนก่อน
- ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจากพี่ๆเพื่อนๆชาวชมรมค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.608 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena