ศาลให้หาทนายในการสู้คดี

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #73637 โดย suda555
ดิฉันได้รับหมายศาลจากเฟริส์ช้อยแล้วไปขึ้นศาลยื่นคำให้การไปแล้วเมื่อสับดาที่ผ่านมา
ศาลว่าให้ไปหาทนายมาสู้คดี
ดิฉันขอถามเพื่อนๆหรือผู้รู้หน่อยนะค่ะว่า ดิฉันต้องไปหาทนายจริงๆ มาสู้คดีหรือค่ะ หรือยื่นคำให้การจำเลยในศาลนัดหน้าค่ะ หรือควรทำอย่างไรค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #73639 โดย Pych
ใครเขียนคำให้การให้ครับ

หากเป็นทนายก็น่าจะให้เขาเป็นทนายให้คุณ แต่หากว่าคุณเขียนคำให้การเอง ผมเดาว่า ศาลท่านอ่านคำให้การของคุณแล้ว อาจจะเขียนไม่ถูกต้องตามแบบฉบับของคำให้การ ไม่ได้อ้างอิงตามกฎหมายมาตราต่างๆ ให้ถูกต้อง หรือพูดง่ายๆ ว่า คำให้การใช้ไม่ได้ แต่ศาลท่านก็อยากจะช่วยคุณ เลยให้โอกาสไปหาทนายมาลองสู้คดีดูใหม่

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #73764 โดย suda555
เรียนคุณ Anakin
ดิฉันให้เพื่อนเขียนคำให้การให้ค่ะ เค้าเคยให้ทางชมรมเขียนมาก่อนค่ะ
คือ ครั้งต่อไปในนัดสืบพยาน เราสามารถอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ต้องมีทนายได้ใช่ไหมค่ะ
เพราะถ้าต้องไปหาทนายมาจริงๆ คงไม่สามารถหาได้เนื่องจากเรื่องค่าใช้จ่ายค่ะ
รบกวนด้วยค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #73787 โดย FFM
ผมก็โดนแบบเดียวกับคุณ คือท่านให้หาทนาย เพราะฉะนั้น จำไว้เลยครับ หากคิดจะสู้คดีต้องมีทนายและต้องมีค่าใช้จ่ายแน่นอน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #74018 โดย suda555
ใครเคยขึ้นศาลครั้งที่สองมั้งค่ะ แบ่งปันประสบการณ์หน่อยได้ไหม
หรือเพื่อนๆ ท่านใดมีลิงค์ ช่วยส่งลิงค์ให้ด้วยนะค่ะ
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #74156 โดย Chokdee
ครั้งที่สองไปยื่นคำให้การ คุณอาประพัฒน์ให้เสมียน ไปแทนนะคะ เราไปอยากไปฟังแต่ทางเสมียนเกรงว่าถ้าทนายฝ่ายโน้นจำได้เราอาจถูกซักถาม เลยไม่ได้ให้เข้าไปฟังคะ กำลังจะไปนัดสามเพื่อสู้คดีกันคะ

ไม่ทราบว่าของคุณนัดาองแบบไปให้การหรือเปล่าคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #74552 โดย suda555
ครั้งแรกที่ไป คือ ไปยื่นคำให้การค่ะ
ครั้งที่สอง ศาลนัดให้สืบพยานค่ะ ศาลว่าให้หาทนายมาด้วยอ่ะค่ะ
อยากทราบว่ามีทางไหนที่ไม่ต้องใช้ทนายได้ไหมค่ะ คือจะอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ต้องมีทนายได้ไหมค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #76549 โดย Chokdee
ลองปรึกษาอ.ไพโรจน์คะ เพราะต้องยื่นคำให้การ (ทนายต้องเขียนให้) แล้ววันนัดสืบพยานมีเอกสารอีกฉบับหนึ่ง(อ.ไพโรจน์เขียนให้)คะ เราเป็นพยานตัวเองได้แต่ต้องเข้าใจนะคะ อันนี้ืที่คุยกะอ.ไพโรจน์ในเคสเรา และ ถามเพื่อให้คะ ลองคุยดูนะคะ โชคดีคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #76557 โดย jackTs

suda555 เขียน: อยากทราบว่ามีทางไหนที่ไม่ต้องใช้ทนายได้ไหมค่ะ คือจะอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ต้องมีทนายได้ไหมค่ะ


กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า หากจะสู้คดี จำเลยจะต้องว่าจ้างทนายทุกครั้งไป ตัวจำเลยเองสามารถเป็นพยานในการซักค้านในชั้นสืบพยานได้

แต่...คุณมั่นใจหรือครับ? ว่าคุณสามารถซักค้านโจทก์เป็น และคุณสามารถตอบในข้อโต้แย้งของฝ่ายโจทก์ได้ เพราะถ้าคุณพลาดในจุดนี้ ต่อให้คุณเขียนคำให้การจำเลยมาดีอย่างไร คุณก็ต้องแพ้คดีอยู่ดี หากคุณไม่สามารถสืบพยานโจทก์ได้อย่างคล่องแคล้วและชำนาญ

แล้วเพื่อนของคุณที่อาสาเขียนคำให้การสำหรับจำเลยนั้น เขาเป็นทนายความด้วยหรือเปล่า? เพราะถ้าหากไม่ได้เป็นทนาย ผมเกรงว่าจะเขียนคำให้การออกมาแล้วใช้ไม่ได้น่ะสิครับ


ยังอ่อนประสบการณ์อยู่ช่วยแนะนำด้วยคับ
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40345&Itemid=64#49433

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

8 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #76900 โดย Pheonix
ปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชี ยอดถึงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ จำเลยผิดนัดไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และ จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์เลย คงมีแต่รายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน และค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ต่อมาเท่านั้น พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า คู่สัญญาไม่ประสงค์ที่จะทำสัญญากันอีกต่อไป สัญญาจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๗ เมื่อถือว่าสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในสัญญาผูกพันจำเลยอีกไม่ได้ การคิดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน และค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ หลังเลิกสัญญา เท่ากับเป็นการคิดค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย Website www.bot.or.th อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๑ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี กำหนดให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน ในอัตราร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำหนดให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน ในอัตราร้อยละ ๑.๐๕ ถึง ๑.๕๐ ต่อปี โจทก์เป็นบริษัทในเครือของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถ้าคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิกแล้ว ในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน ร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ ๒๖.๕๐ ต่อปี (๒๘ ลบ ๑.๕๐ เท่ากับ ๒๖.๕๐) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๑,๗๖๖.๖๗ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๒๖.๕๐ หาร ๑.๕๐ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๑,๗๖๖.๖๗) ถ้าคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิกแล้ว ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี หักด้วยต้นทุนเงินฝากประจำ ๑๒ เดือน ร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ ๑๓.๕๐ ต่อปี (๑๕ ลบ ๑.๕๐ เท่ากับ ๑๓.๕๐) เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินฝากประจำร้อยละ ๑.๕๐ ต่อปี โจทก์มีกำไรขั้นต้นอัตราร้อยละ ๙๐๐.๐๐ ของต้นทุนเงินฝากประจำ (๑๓.๕๐ หาร ๑.๕๐ คูณ ๑๐๐ เท่ากับ ๙๐๐.๐๐) เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ จำเลยได้ขอสินเชื่อเฟิร์สช้อยส์ กับโจทก์ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา เกือบ ๘ ปี หากคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี ระยะเวลา ๘ ปี คิดเป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินมากถึงจำนวน ๒๒๔ ของต้นเงิน ๑๐๐ บาท ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยประสบปัญหาอย่างรุนแรง เนื่องจากการส่งออกติดลบมาหลายเดือแล้ว ถ้าจะแก้ไขให้เศรษฐกิจของประเทศไทยกลับฟื้นขึ้นมาได้ ต้องทำให้ประชาชนผู้บริโภคมีกำลังซื้อ จำเลยเห็นว่า ในเรื่องเบี้ยปรับนั้น ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ ซึ่งพิพากษาโดยท่านไพโรจน์ วายุภาพ ท่านปัญญา ถนอมรอด และท่านวรนาถ ภูมิถาวร ได้พิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานเป็นอย่างดี เหมาะกับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รายละเอียดปรากฏตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข ๒ วางหลักกฎหมายในเรื่องเบี้ยปรับไว้ว่า อย่างไรก็ตาม ความตามสัญญาข้อ ๔ นี้เป็นการกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสูงอันเนื่องมาจากการที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๗๙ ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓ และเมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินรายนี้แล้ว เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงมาก เช่น บางช่วงอัตราร้อยละ ๑๙ ต่อปี และบางช่วงสูงถึงร้อยละ ๒๔ ต่อปี นับว่าเป็นเบี้ยปรับในลักษณะดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนไปมาก เห็นสมควรลดลงเหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี เท่านั้น ในส่วนที่นำคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๓/๒๕๔๗ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ จำเลยขอกราบเรียนว่า ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลได้ในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นประกาศที่ออกมาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ คิดถึงวันนี้ เป็นเวลา ๑๐ ปี แล้ว ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ มียอดหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลค้างชำระรวม ๓๑๗,๐๐๓ ล้านบาท หากคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี เป็นเงินค่าดอกเบี้ยปีละ ๘๘,๗๖๐.๘๔ ล้านบาท หากไม่แก้ปัญหา ระยะเวลา ๑๐ ปี ผ่านไป เป็นค่าดอกเบี้ยมากถึง ๘๘๗,๖๐๘.๔๐ ล้านบาท ถึงวันนั้น เศรษฐกิจประเทศไทยก็จะพังหมด เพราะประชาชนผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ ต้องนำเงินไปจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากเป็นเวลานาน การแก้ปัญหา จึงต้องทำให้ประชาชนผู้บริโภคเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ก็จะมีกำลังซื้อจากประชาชนผู้บริโภคกลุ่มนี้เกิดขึ้น จากการที่ไม่ได้บริโภคมาเป็นเวลานานแล้ว ธนาคารและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคลเสียหายหรือไม่ ไม่เสียหายครับ เพราะได้ไปมากถึง ๑๐ ปี แล้ว อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒๘ ต่อปี คิดเป็น ๒๘๐% ของต้นเงินที่ให้กู้ยืม ๑๐๐ บาท ไปแล้ว เจ้าหนี้บางรายนำหนี้ที่เน่าเสียไปขายเพียงร้อยละ ๕ ของเงินต้นที่ค้างชำระ การคิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี เจ้าหนี้ได้มากกว่า เพราะต้นเงิน ๑๐๐ บาท ก็ยังอยู่ครบ และยังได้เบี้ยปรับอีกในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ส่วนลูกหนี้ก็มีกำลังใจที่จะจ่ายหนี้ให้หมด และประเทศชาติจะมีกำลังซื้อจากประชาชนผู้บริโภคกลุ่มนี้ เมื่อชำระหนี้ได้หมด ก็จะไปขอสินเชื่อใหม่อีก ธุรกิจก็จะกลับมาเป็นปกติอีก ถ้าคิดอย่างนี้ ทุกคนได้ ไม่มีใครเสีย เศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะฟื้นคืนขึ้นมา

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.506 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena