จะปิดบัตรKTC ต้องเจรจาต่อรองยังไงดีครับ

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43730 โดย alps
KTC ยอด 98,000.- เคยขอประนอมหนี้ แล้วตัดสินใจหยุดจ่ายมา 4ปี ยอดกลายเป็น 139,000.- หลังจากกราดกระสุนน้ำลายใส่มันไปไม่เคยโทรมาอีกเลยครับ ตอนนี้มันโทรมาบอกว่ามีโครงการจะปิดบัตรหรือไม่ผมอยากปิดครับแต่ไม่รู้จะต่อรองกับมันยังไงดี และยอดเงินปิดควรจ่ายเท่าไหร่ดีครับ ทรัพยืสินบ้านที่ดินไม่มีติดตัวแล้วครับ มีแต่เงินเดือนเลี้ยงชีพครับ ขอบคุณพี่ๆล่วงหน้าครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43733 โดย tomyumkung
ค่อย ๆ ว่ากันทีละชอต นะครับ


สามารถไปศึกษารายละเอียดเรื่องการทำ Hair-cut

เพิ่มเติมได้ที่กระทู้ตามใน Link นี้

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=749&Itemid=29



ของคุณ หยุดจ่ายมา 4 ปี ช่วยหยุดต่อไปให้ครบ 5 ปี เลยจะดีกว่านะครับ


www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29 อายุความในการฟ้องร้องคดีแพ่ง(หนี้เงิน)

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=500&Itemid=29 รวบรวมเรื่องราวของอายุความ





เรื่องสุดท้ายถ้าไม่มี ทรัพย์สินให้ยึด ปล่อยฟ้อง ให้ แล้วขอความเมตตาศาลท่านให้ช่วยลด

ดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม ค่าปรับต่าง ลงบางส่วน ก็ยังดีครับ

แล้วหากยังไม่มีเงินปิด ก็ให้เจ้าหนี้ อายัดเงินเดือนไปครับ


www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40205&Itemid=64#40517 แนวทางรับมือเมื่อได้รับหมายศาล​แบบบ้านๆ





เทคนิคการจ่ายหลังมีคำพิพากษาออกมาแล้ว และหักคอจ่าย

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=31566&limitstart=6 พี่นกแนะนำวิธีจ่ายหนี้ขณะฟ้องและคำพิพากษาออกมาแล้ว เคสอิสิควาย ของเด็กดอย

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=2388 ข้อสงสัยในคำพิพากษา มีการจ่ายแบบหักคอพี่นกแนะนำ และอธิบาย “คำขออื่นให้ยก”

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=2996 ความหมายของคำว่าปฏิบัติตามคำพิพากษา ความหมายของคำว่าบังคับคดี

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=8746&Itemid=29 หากหนี้(จำเลย)ไม่มีเงินเดือ​นและทรัพย์สิน...จะเป็นอย่างไร?​

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=11682&Itemid=29#11682 ข้อควรระวังของการใช้วิธีหักคอจ่าย ของคุณเก่ง FamilyMan

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=13737 เทคนิคการเตะถ่วงผ่อนจ่ายหลังขึ้นศาลของคุณใกล้เป็นไท

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=18655 เทคนิคการจ่ายหยอดหลังพิพากษา

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=15909 จ่ายหยอดหลังพิพากษา





เกณฑ์การอายัดทรัพย์ อายัดเงินเดือน การเป็นเจ้าของทรัพย์ เจ้าบ้าน รถ สินสมรส เงินในบัญชี จะถูกยึดไหม?

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=28147&Itemid=52#28154 ไขข้อข้องใจ "การอายัดเงินเดือน" By: นกกระจอกเทศ

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=40192&Itemid=64 เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเ​งินเดือน

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=801&catid=2&limitstart=6 อายัดเงินเดือน คิดจากยอดรายได้ทั้งหมด

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=2194&Itemid=29 กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=7238&Itemid=29 ขอคำปรึกษา ไม่รู้จะทำอย่างไรดี กลุ้มมาก ครับ (ไปอ่านคำแนะนำของพี่นกกระจอกเทศเรื่องอายัดบ้านด้านล่างๆ)

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=2004&Itemid=29 หลังคำพิพากษา นานไหมกว่าจะโดนอายัดเงินเดือน

debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=2367&Itemid=29 ขอปรึกษาการต่อรองหลังศาลตัดสินไปแล้วครับ (อายัดบ้านขณะผ่อน)

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=2&id=9039 โดนอายัดบ้านจากคดีบัตรเครดิต วงเงิน 25,000

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43814 โดย alps
ขอบคุณพี่ต้มยำกุ้งมากๆครับ ตะลุยอ่านยังไม่หมด ได้ทั้งความรู้ + งงเล็กน้อย2ข้อครับ
1) หยุดจ่ายต่อไปอีกจนครบ 5ปีไปเลย....ดียังไงครับ ทุกวันนี้มันส่งstatementมาทุกเดือน ทบต้นทบดอกอุตลุดครับ
2) ผมมีรถเก่าใช้อยู่1คัน(มูลค่า 1.8แสน) ทะเบียนชื่อผมแต่เจ้าหนี้คนรู้จักกันยึดไปครับแต่ให้รถผมใช้....กรณีนี้KTCจะมายึดรถผมไปได้ไหมครับ

นับถือ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43816 โดย tomyumkung
1) หยุดจ่ายต่อไปอีกจนครบ 5ปีไปเลย....ดียังไงครับ ทุกวันนี้มันส่งstatementมาทุกเดือน ทบต้นทบดอกอุตลุดครับ


ถ้าแน่ใจว่าตลอด 4 ปีที่หยุดจ่าย ไม่มีการจ่ายหยอดเข้าไปในบางช่วงเวลา พอครบ 5 ปี

สัญญาตัวนี้มันจะหมดอายุความครับ แต่ไม่ใช่ว่าหนี้จะสูญสลายหายไป

เพียงแต่เราในฐานะลูกหนี้ เวลาที่โดนเจ้าหนี้ฟ้องมา ( หลังจากสัญญาหมดอายุความไปแล้ว )

เราสามารถเขียนคำร้องขอสู้คดี สวนกลับเจ้าหนี้ไป ในประเด็น

หมดอายุความบ้างละ

คิดดอกเบี้ยเกินกว่ากำหนดบ้างละ


เราก็จะสู้ให้ถึงที่สุดได้

ลองอ่าน ตรงนี้และทำความเข้าใจอีกสักรอบ



อายุความในการฟ้องร้อง คดีแพ่ง (หนี้เงิน)

อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี

สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับผู้รู้ทางกฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ

- หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี

- หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 10 ปี

- หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล...อายุความ = 5 ปี (สัญญากู้ยืมที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ)

- หนี้เงินกู้...อายุความ = 10 ปี (สัญญากู้ยืมที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว)

- หนี้ที่เกิดจาก สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี


ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...พวกเรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า

ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง

ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ

ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”

ขออนุญาตสมมุติตัวอย่างให้ดูสักกรณีหนึ่งนะครับ จะได้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นาย ก. ได้ไปทำการกู้เงินจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน
นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ 2550...ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระคืนไปแล้ว เป็นบางงวด ดังนี้
งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550
งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550
งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550
งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550
งวดที่5_____ซึ่ง นาย ก. ควรจะต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ 1,000.-บาท ไม่เกินวันที่ 8/ธ.ค./2550 ตามสัญญา แต่ นาย ก. เริ่มประสพปัญหาเรื่องเงินหมุน (ไม่มีเงินจ่าย) จึงเริ่มหยุดจ่าย...นับตั้งแต่วันที่ 8/ธ.ค./2550 เป็นต้นมา...จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 8/ธ.ค./2550 นี่แหละครับ ที่ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา

ส่วนจะไปอ้างว่า วันที่ 7/พ.ย./2550 เป็นวันที่ นาย ก. ได้เริ่ม “ผิดนัดชำระตามสัญญา” เพราะว่าเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้าย” มิได้...เพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด จนกว่าจะถึงรอบบิลในการชำระเงินครั้งต่อไป
ที่ผมหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเสริม เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อการสู้ต่อคดีของลูกหนี้บางท่าน ที่ยังไม่เข้าใจในการตีความของกฏหมาย

เช่น...ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องเรื่อง “หนี้บัตรเครดิต” (ซึ่งมีอายุความ 2 ปีโดยนับจากวันที่ผิดนัดชำระ)...แต่ตัวลูกหนี้ได้หยุดจ่ายมาเป็นเวลา 24 เดือน (2 ปี) พอดี โดยที่ตัวลูกหนี้เอง ใช้วิธีคิดคำนวนระยะเวลา จากวันที่เริ่มจ่ายเงินเป็นครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ฟ้อง และได้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ต่อศาลว่า “คดีขาดอายุความ” ไปแล้ว เพื่อที่จะให้ศาล “ยกฟ้อง” ให้
แต่ถ้าทนายฝ่ายโจทก์กล่าวแย้งว่า “ยังไม่ขาดอายุความ” ตามเหตุผลที่ผมได้อธิบายเหตุผลไปแล้วในด้านบน...จะทำให้คดีที่ถูกฟ้องร้องต่อศาลนี้ มีระยะเวลาในการ“ผิดนัดชำระสัญญา” เพียงแค่ 23 เดือน (1 ปี กับอีก 11 เดือน) เท่านั้น...
คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ถูกตัดสิน “แพ้คดี” เนื่องจากการสู้ความ "ผิดประเด็น" ก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะใช้ “เงื่อนไขของ การผิดนัดชำระตามสัญญา” สำหรับต่อสู้คดีในเรื่อง “ขาดอายุความ” ให้พิจารณาถึงส่วนนี้ด้วยนะครับ

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ที่สำคัญที่สุด...ถ้าคุณถูกฟ้องแล้ว และคุณมั่นใจว่าคดีนี้ขาดอายุความแน่ๆ...แต่คุณไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้คดีว่า คำฟ้องขาดอายุความตามกฏหมาย คุณจะถูกพิพากษาให้มีความผิด และต้องชดใช้หนี้ตามมูลฟ้องทันที ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม (การที่คุณไม่ยอมขึ้นไปศาล ท่านจะพิจารณาว่า คุณหนีศาล...ดังนั้นศาลท่านจะไม่ช่วยเหลือคุณใดๆทั้งสิ้น)


ถ้าเจ้าหนี้มันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ" และหนี้ของมันที่มีอยู่กับคุณ ได้ขาดอายุความในการฟ้องไปแล้ว...มันอาจจะไม่ฟ้องคุณก็ได้ เนื่องจากต้องเสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไปเปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้อง...แล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด หรือทวงไม่ได้

ดังนั้น...สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ภายในกำหนดเวลาตามที่กฏหมายระบุไว้ นับตั้งแต่ลูกหนี้ “ผิดนัดชำระหนี้” กับเจ้าหนี้เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องร้องภายในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด คดีก็เป็นอันขาดอายุความหรือหมดสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ก็พ้นความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถึงแม้เจ้าหนี้จะดันทุรังฟ้องร้องลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ว่าคดีหมดอายุความแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องให้อยู่ดี

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

มีตัวอย่างมากมาย ที่แม้เจ้าหนี้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ก็ยังเสือกให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้อีก โดยหวังว่าถ้าฟลุ๊คๆขึ้นมา ไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดี เพราะรับรู้ว่าตนเองเป็นหนี้เขาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความแต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตามพยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป และลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป




สรุปให้ชัดๆก็คือ

ลูกหนี้ส่วนมากจะเข้าใจว่า เมื่อขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้ก็จบกันแค่นั้น หรือถ้าฟ้อง ศาลก็คงจะไม่รับคำฟ้องเพราะขาดอายุความ แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะถึงจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายตามขั้นตอนต่างๆต่อไป

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป

ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายรองรับอยู่ตามมาตรา 193/29 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้




2) ผมมีรถเก่าใช้อยู่1คัน(มูลค่า 1.8แสน) ทะเบียนชื่อผมแต่เจ้าหนี้คนรู้จักกันยึดไปครับแต่ให้รถผมใช้....กรณีนี้KTCจะมายึดรถผมไปได้ไหมครับ


ชื่อใครเป็นเจ้าของละ เซ้นโอนให้เจ้าหนี้ไปเลยหรือเปล่าละครับ ถ้าในเล่มทะเบียนชื่อคุณเป้นเจ้าของก็

โดนตามยึดทรัพย์ได้เมื่อถึงเวลา


นับถือ[/quote]

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43859 โดย alps
รถเป็นชื่อผมเองครับ อย่างนี้ผมจะทำไงดีครับ เงินก็ไม่มีไปไถ่เอาเล่มทะเบียนมา อย่างนี้ผมจะแจ้งหายขอทำเล่มใหม่แล้วโอนให้นอมินีได้มั้ยครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43864 โดย tomyumkung
ผมว่าคุณ จบเรื่องกับเจ้าหนี้ได้ก่อนที่เค้าจะมา ยึดทรัพย์คุณนะ




www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&catid=3&id=3403 ระยะเวลาของการอายัดเงินเดือน/ทรัพย์สิน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43865 โดย tomyumkung
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=28147&Itemid=52#28154 ไขข้อข้องใจ "การอายัดเงินเดือน" By: นกกระจอกเทศ

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=40192&Itemid=64 เกณฑ์การยึด-อายัดทรัพย์-อายัดเ​งินเดือน

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=10&func=view&id=801&catid=2&limitstart=6 อายัดเงินเดือน คิดจากยอดรายได้ทั้งหมด

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=2194&Itemid=29 กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #43871 โดย alps
ขอบคุณพี่ต้มยำกุ้งเป็นอย่างสูงครับ....ผมคงกังวลมากไปเพราะมันเหลือชิ้นเดียวแล้วครับแถมยังต้องใช้มาทำงานทุกวันด้วยครับ :sweat:
นับถือในความมีน้ำใจ ณ สถานที่แห่งนี้ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.518 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena