ขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่เพื่อรอรับหมายศาล

11 ปี 2 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #30852 โดย moonavarut
เปลี่ยนแปลงที่อยู่เพื่อนรอรับหมายศาลทำได้ไหมค่ะ เราต้องไปทำเองหรือให้ทนายเป้นคนไปทำให้ได้หรือเปล่าค่ะ พอดีว่า บ้านที่เคยอยู่ตามทะเบียนบ้านโดนยึดไปแล้วหลังจากที่แม่เสียชีวิตค่ะ ตอนนี้ ถูกคัดรายชื่อออกไปทะเบียนบ้านกลางแล้วค่ะ เนื่องด้วยตัวเองยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเองค่ะ เช่าเค้าอยู่ ตอนนี้ยังมีคดีความอยู่อ่ะค่ะ เราจะขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ได้ไหมค่ะ แล้วให้ทนายไปทำแทนได้ไหมค่ะ ซึ่งดิฉันไม่สะดวกไปอ่ะค่ะ รบกวนช่วยตอบปัญหาให้หน่อยนะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 2 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #30856 โดย jackTs
.
หมายศาล...จะถูกส่งไปที่ไหน?
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=6974&Itemid=64




การขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของ"ผู้อาศัย"(ลูกบ้าน) สามารถทำได้ดังนี้ครับ

1. ลูกบ้านจะต้องไปเลือกหาบ้าน ในหลังที่ตัวของลูกบ้านเองต้องการจะเอาชื่อเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น ให้ได้เสียก่อน

2. เจ้าบ้านหลังนั้นๆ จะต้องยินยอมรับเอาตัวของลูกบ้าน เข้าไปอาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้นด้วยความเต็มใจ

3. การโยกย้ายชื่อของ"ผู้อาศัย"(ลูกบ้าน) ต้องกระทำโดยผู้ที่เป็น"เจ้าบ้าน"เท่านั้น ทนายความหรือผู้อื่นใดที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น...ไม่สามารถกระทำการได้ ...หากเจ้าบ้านหลังใหม่นั้นไม่อนุญาต

4. หากมีความประสงค์จะกระทำการ รับเข้า-ย้ายออก รายชื่อของ"ผู้อาศัย"(ลูกบ้าน)...เจ้าบ้านต้องเดินทางไปที่ สำนักงานเขต/สถานีอำเภอ ที่ทะเบียนบ้านนั้นปรากฏอยู่ พร้อมกับเอกสารต่างๆ เช่น บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน , ทะเบียนบ้าน(เล่มตัวจริง) , สำเนาบัตรประชาชนของลูกบ้านที่จะทำการ รับเข้า-ย้ายออก พร้อมกับ สำเนาทะเบียนบ้าน(เดิม)ของลูกบ้านคนนั้นๆ...โดยไปเขียน"ใบคำร้องขอ"เพื่อยื่นเอกสารตามขั้นตอน

5. โดยปกติปัจจุบันได้มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์แล้ว ดังนั้น เจ้าบ้านสามารถกระทำการดังกล่าวได้ตามลำพังด้วยตัวคนเดียวได้เลย ไม่จำเป็นต้องนำพาเอาตัวของลูกบ้านมาด้วยก็ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมผ่านระบบออนไลน์ ในการ รับเข้า-ย้ายออก เป็นจำนวนเงิน 20.-บาทเท่านั้น เรื่องทุกอย่างก็จะเสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันนั้นเลย
แต่ในกรณีของผู้ที่มีรายชื่ออยู่ใน"ทะเบียนบ้านกลาง"แล้ว จะไม่สามารถใช้วิธีแจ้งย้ายปลายทางโดยอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ได้
ดังนั้น ในกรณีของผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางแล้ว หากจะย้ายชื่อของตัวเองเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหลังใด จะต้องเดินทางไปยื่นเรื่องพร้อมกับตัวของเจ้าบ้านด้วย



อธิบายรายละเอียดให้เข้าใจ : ทะเบียนบ้านกลางคืออะไร?

คำว่าทะเบียนบ้านกลาง เป็นคำที่บัญญัติอยู่ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งได้ให้คำนิยามไว้ว่า “ทะเบียนบ้านกลาง หมายความว่า ทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน” และตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ข้อ 46 ได้กำหนดเกี่ยวกับทะเบียนบ้านกลางเพิ่มเติมไว้ว่า “ทะเบียนบ้านกลาง มิใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ และให้สำนักทะเบียนทุกแห่งจัดทำทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนไว้” ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคนทั่วไปที่มักจะเข้าใจว่า ทะเบียนบ้านกลางเป็นทะเบียนบ้านประเภทหนึ่ง

ทะเบียนบ้านกลาง จะมีการจัดทำไว้ในสำนักงานทะเบียนราษฎร์ทุกแห่งของทุกเขตจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขตในกรุงเทพมหาคร หรือที่ทำการเทศบาลทุกแห่ง รวมทั้งที่ว่าการอำเภอด้วย
ในกรณีที่อบต.ยังไม่มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ด้วยตัวเอง "ทะเบียนบ้านกลาง" นั้นก็คือ ทะเบียนที่สำนักทะเบียนจัดทำขึ้นสำหรับลงรายการบุคคล ที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น เจ้าบ้านไปแจ้งย้ายบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของตนเอง แต่ไม่มีตัวตนออกให้ออกจากทะเบียนบ้านไป หรือเจ้าบ้านซื้อบ้านต่อจากผู้อื่น แล้วไปแจ้งย้ายชื่อที่ค้างเดิมออกจากทะเบียนบ้านที่ซื้อมา เป็นต้น

เมื่อชื่อคนเหล่านั้นได้ถูกย้ายออกจากทะเบียนบ้านแล้ว โดยไม่มีที่ไป ทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นบุคคลตกหล่นไม่อาจมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติได้ จึงต้องนำชื่อบุคคลนั้นไปไว้ในทะเบียนบ้านกลางแทน

ในการให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร มักพบว่ายังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับทะเบียนบ้านกลางอยู่หลายประการ เช่น ใครก็สามารถย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านกลางได้ หรือบางรายต้องการให้ลูกย้ายเข้ามาเรียนที่เขตประเวศ แต่ไม่สามารถหาทะเบียนบ้านในเขตประเวศเพื่อย้ายลูกให้เข้ามาได้ จึงมาติดต่อเจ้าหน้าที่ในเขตประเวศ เพื่อขอย้ายลูกของตนเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านกลางที่เขตประเวศ เพื่อให้ลูกได้มีสิทธิเข้าเรียนในโรงเรียนพื้นที่เขตประเวศ...ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด

สำหรับบุคคลที่ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนกลาง ก็จะเป็นไปตามที่กฎหมายทะเบียนราษฎรกำหนด ซึ่งมีอยู่หลายประเภท แต่มีประเภทหนึ่งซึ่งมักเจอเป็นประจำ ได้แก่ กรณีที่เจ้าบ้านมาแจ้งย้ายชื่อออก และไม่ทราบที่อยู่ของคนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านของตน โดยแจ้งว่าบุคคลดังกล่าวได้ออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วัน (หนึ่งร้อยแปดสิบวัน)ไปแล้ว และไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใด ดังนั้นเมื่อไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด นายทะเบียนจึงจำเป็นต้องย้ายชื่อออกไป และนำไปเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนต่อไป

ในเมื่อทะเบียนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน ดังนั้น บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางจึงต้องเสียสิทธิในหลายๆประการ หากเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าบุคคลนั้นจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือต้องใช้ทะเบียนบ้านมาประกอบเป็นหลักฐานในการติดต่อราชการต่างๆ

ตัวอย่างของการเสียสิทธิ์ต่างๆ...อาทิเช่น

• ไม่สามารถคัดและรับรองสำเนารายการของตนเองเพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่างๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้
• ไม่สามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ได้
• ไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกระดับได้
• ไม่สามารถแจ้งย้ายปลายทางได้
• ไม่สามารถทำพาสปอร์ตเดินทางไปต่างประเทศ
• ไม่สามารถสมัครทำงานที่ใหม่ได้ หากบัตรประชานใบเดิมที่ถืออยู่หมดอายุลง และไม่มีทะเบียนบ้านแสดงที่อยู่ใหม่ ในการแนบเอกสารไปกับใบสมัครงาน
• และอื่นๆ...ที่ต้องขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ โดยจำเป็นต้องใช้ทะเบียนบ้านเป็นหลักฐานในการประกอบพิจารณา เช่น สิทธิ์ประกันสังคม และ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สิทธิ์บัตรทอง)...เป็นต้น


สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางแล้ว หากต้องการแจ้งย้ายออกไปอยู่ในทะเบียนบ้านตามปกติ
บุคคลผู้นั้นจะต้องไปยืนคำร้องด้วยตัวเอง เพื่อขอย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลางที่สำนักงานทะเบียนราษฎร์ที่มีชื่อเราอยู่เท่านั้น โดยเราจะต้องมีทะเบียนบ้านใหม่ ที่เราสามารถจะย้ายเข้าไปอยู่ให้ได้เสียก่อน แล้วหลังจากนั้น เราก็จะมีสิทธิต่างๆกลับคืนมาตามเดิม

ส่วนคนที่ไม่เคยมีทะเบียนบ้านมาก่อนเลย จะไม่มีสิทธิ์ขอมีชื่อในทะเบียนบ้านกลางได้ในทุกกรณี ยกเว้นแต่ บุคคลผู้นั้นได้กลายเป็นคนเร่ร่อนในภายหลัง โดยไม่เคยมีการไปแจ้งใดๆเกี่ยวกับการสูญเสียทะเบียนบ้านเดิมของตนเอง จึงจะสามารถย้ายชื่อให้ไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลางได้โดยอัตโนมัติ ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนราษฎร์นั้นๆ

สรุปก็คือ การเก็บข้อมูลของบุคคลใดๆที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ก็คือการบันทึกเก็บข้อมูลของประชากร ที่เปรียบเสมือนกับเป็นบุคคลเร่ร่อน ที่ยังพำนักอยู่ในประเทศไทย โดยบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่ไม่มีบ้านอาศัยอยู่ ณ ปัจจุบัน
ดังนั้น บุคลดังกล่าวจึงไม่สามารถทำบัตรประชาชนใบใหม่ได้ (หากบัตรประชาชนใบเดิมของบุคคลนั้น ได้หมดอายุลง) เพราะไม่มีที่อยู่อาศัย ที่จะสามารถอ้างระบุลงในบัตรประชาชนของบุคลลนั้นๆได้

บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จึงเปรียบเสมือนกับเป็นบุคคลเร่ร่อนที่ไม่มีบัตรประชาชน เพียงแต่มีชื่อบันทึกข้อมูลเอาไว้อยู่ในทะเบียนกลางของประเทศไทยนั่นเอง

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: adrinaline

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา #98268 โดย adrinaline
ขอบคุณครับ

กำลังค้นหาอยู่เลยว่าจะทำยังไงเพราะชื่อตัวเองอยู่ในทะเบียนบ้านตจว.
แต่มาแต่งงานและอาศัย+ทำงานอยู่ที่บ้านของแฟน คนละภาคกับชื่อในทะเบียนบ้านตัวเอง
:sweat:

กำลังศึกษา+เก็บข้อมูลเพื่อจะทำ H/C ครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.387 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena