ปรึกษาค่ะ คืนรถมอเตอร์ไซค์ให้ไฟแนนซ์ตั้งแต่ปี51แล้วเรื่องไม่จบ ร้อนใจค่ะ

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #54302 โดย Satoznew
สวัสดีค่ะ คือหนูมีเรื่องจะปรึกษา คือหนูได้ทำการเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ กับบริษัทหนึ่งในปี พ.ศ2550หรือ2551 ประมานนี้ค่ะ ผ่อนไปได้ประมานสามงวด เกิดปันหาทางด้านการเงินทำให้ไม่สามารถผ่อนต่อได้ จึงคืนรถไป วันที่คืนรถ บริษัทไม่ได้ให้หลักฐานอะไรไว้ หลังจากนั้น ประมานสองเดือน มีจดหมายแจงค่าส่วนต่าง ให้ไปชำระยอดประมาน8,000-10,000 หนูจำไม่ค่อยได้ แต่ไม่เกิน 10000 พี่สาวเลยได้มีการโทรไปคุยกับบริษัท ว่าทำไมต้องจ่ายยอดนี้ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะมีการโทรติดต่อกลับ แต่หลังจากนั้นไม่มีการติดต่อของบริษัทนี้อีกเลย ไม่ว่าจะเป็บเบอร์บ้าน เบอร์มือถือ หรือจดหมายค่ะ แล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์2557 ที่ผ่านมา ได้มีจดหมายแจ้ง จากบริษัท ที่เค้าแจ้งว่าเป็นผู้ซื้อยอดหนี้ทั้งหมดไปจากบริษัทไฟแนนซ์ที่หนูเช่าซื้อว่าเป็นผู้ติดตามยอดหนี้ของบริษัท ให้ไปชำระยอดหนี้ค้าง 45,200 บาท เลยได้มีการโทรไปคุยตามเบอร์ที่บริษัท ให้มาค่ะ ปรากฎคือเค้าบอกว่า ถ้าสามารถปิดบัญชีได้ในครั้งเดียวเค้าจะ ลดให้เหลือยอด22,000บาท แต่ทางหนูซึ่งไม่มีรายได้ ไม่มีเงินเดือนเพราะตกงาน หนูเลยแจ้งว่ายังไม่สามารถหามาจ่ายให้ได้ ทางบริษัท เลยส่งหนังสือ อีกฉบับมาที่บ้าน เป็นหนังสือ อนุมัติฟ้อง เค้าแจ้งว่าจะบังคับคดี อายัติเงินเดือน ซึ่งหนูไม่มีงานทำไม่มีเงินเดือน แล้วทำไมยอดจาก8,000-10,000 กลายมาเป็นยอด45,000คะ หนูบอกให้เค้าแจงมาเป็นรายละเอียดยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขอเป็นจดหมายมา เค้าตอบกลับหนูว่า กลัวหนูเอาเอกสารไปปลอมแปลง ถ้าให้แจงยอดเต็ม45,000ว่ามีค่าอะไรบ้างหนูก็ต้องจ่ายราคาเต็ม45,000 ถึงแม่จะปิดบัญชีในครั้งเดียวก็ตามเค้าแจ้งมาว่างี้อ้ะค่ะ คือหนูอยากปรึกษาว่า หนูควรทำอย่างไรดีคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา - 8 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #54320 โดย jackTs
.

อนุมัติฟ้อง

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=4428&Itemid=64




อายุความในคดีเช่าซื้อ

- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี


อ่านแล้ว “งง” ไหมครับ?...งั้นผมขอแปลภาษากฏหมาย ให้เป็นภาษาชาวบ้านตามสไตล์ “ชาวยิ้มสู้หนี้” ให้ก็แล้วกัน

- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความเอาไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์สิน) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี…กล่าวคือ ศาลฎีฏาท่านมองว่า เงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าซื้อ” ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากเงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์” แบบธรรมดาทั่วไป...หากลูกหนี้ มีหนี้ค้างค่าเช่าสังหาริมทรัพย์กับเจ้าหนี้(ซึ่งมีอายุความ 2 ปี) ก็ให้นำเอา“อายุความ”เดียวกันนั้น มาใช้กับ “การทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย” เช่นกัน
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่ (หรือเรียกว่า ค่าส่งงวดในอดีตที่มันผ่านมาแล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่าย) เท่านั้น


- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
ในความหมายนี้...หมายถึง การที่ลูกหนี้ไม่ยอมผ่อนจ่ายค่างวด จนถึงขั้นที่เจ้าหนี้บอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายึดทรัพย์สินกลับคืนไป
แต่เมื่อเจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมาแล้ว กลับพบว่าทรัพย์สินนั้นๆ มีความชำรุดเสียหาย และเมื่อนำเอาทรัพย์สินนั้นออกไปประมูลขายแล้ว ได้เป็นเงินกลับมาน้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่พึงจะได้รับ(หรือเรียกว่าขายแล้วขาดทุน) เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการฟ้องลูกหนี้ ให้ชดใช้ค่าส่วนต่างที่ขาดทุนดังกล่าว โดยมีอายุความในการฟ้อง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ยึดทรัพย์สินกลับคืนมา
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ส่วนต่างที่ขาดทุน จากการขายของที่ยึดกลับมาได้ เท่านั้น


- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน
ในความหมายนี้...หมายถึง ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่ม หรือเจ้าหนี้อดได้ใช้ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินของตัวเจ้าหนี้เอง หลังจากบอกยกเลิกสัญญาแล้วเช่น

*** ค่าติดตามทวงถามในการทวงทรัพย์สินของเจ้าหนี้คืน หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้
*** ค่าจ้างนักสืบ ในการสืบหาทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว
*** ลูกหนี้ได้หลบหนีไปพร้อมกับทรัพย์สินนั้นๆ(ไม่ยอมคืนของให้) ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เพราะยึดทรัพย์คืนไม่ได้ (เรียกได้ว่า อดได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น...เอาไว้ใช้เอง , ให้คนอื่นเอาไปใช้แล้วเก็บค่าเช่า , หรือเอาทรัพย์นั้นไปขาย) ภาษากฏหมายเรียกว่า “ค่าขาดราคา” , “ค่าขาดผลประโยชน์”
เหล่านี้ทั้งหมด มีอายุความ 10 ปี
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ , ค่าความขาดทุน , ค่าความเสียหาย จากการที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เท่านั้น



เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

- หากลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะติดตามทวงเอาของคืนในฐานะเจ้าของทรัพย์กรรมสิทธิ์ได้ตลอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ
- ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ลูกหนี้ต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ เพราะถือว่าเป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญา กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
- ถ้าลูกหนี้นำทรัพย์สินไปจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ยอมชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญา และลูกหนี้อาจมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ด้วย(เป็นคดีอาญา) เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ยังเป็นของเจ้าหนี้อยู่


ดังนั้น...ถ้าจะอ้างตามข้อกฏหมายที่ถูกต้องแล้ว ขอให้อ้างอิงจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ตามที่ผมอธิบายไว้ด้านบนจึงจะชัดเจนและถูกต้องกว่านะครับ

จึงขอสรุปข้อมูลที่เกี่ยวกับ “อายุความของสัญญาเช่าซื้อ” ว่ามีอายุความต่างๆ ดังต่อไปนี้
- 6 เดือน
- 2 ปี
- 10 ปี
แล้วแต่มูลเหตุ และประเภทของหนี้ที่ถูกตั้งเรื่องฟ้อง ตามรายละเอียดที่ผมได้อธิบายไว้แล้วในด้านบน


ดังนั้น...หากใครเป็นลูกหนี้ที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ใดๆก็ตาม
ถ้ารู้ตัวเองว่าจ่ายไม่ไหวแล้ว ก็หยุดจ่ายซะเถอะครับ พร้อมกับบอกยกเลิกสัญญากับเจ้าหนี้ซะ...แล้วก็คืนทรัพย์นั้นๆให้กับเขาไป โดยต้องขอหลักฐานในการคืนทรัพย์ เก็บเอาไว้ด้วย (อย่าไปทำการ ขาย , ถ่ายเท , โยกย้าย , โอน , หลบหนี...ทรัพย์ของเจ้าหนี้ เป็นอันขาด)
เท่านี้...ประเด็นอายุความ ในการฟ้องร้องลูกหนี้ ก็จะเหลือเพียงแค่ 6 เดือน และ 2 ปี เท่านั้น

สามารถตัดประเด็นในเรื่อง อายุความ 10 ปี

พร้อมกับคดีอาญา ออกไปได้เลยครับ...ฟันธง!






คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ที่สำคัญที่สุด...ถ้าคุณถูกฟ้องแล้ว และคุณมั่นใจว่าคดีนี้ขาดอายุความแน่ๆ...แต่คุณไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้คดีว่า คำฟ้องขาดอายุความตามกฏหมาย คุณจะถูกพิพากษาให้มีความผิด และต้องชดใช้หนี้ตามมูลฟ้องทันที ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม (การที่คุณไม่ยอมขึ้นไปศาล ท่านจะพิจารณาว่า คุณหนีศาล...ดังนั้นศาลท่านจะไม่ช่วยเหลือคุณใดๆทั้งสิ้น)

ถ้าเจ้าหนี้มันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ" และหนี้ของมันที่มีอยู่กับคุณ ได้ขาดอายุความในการฟ้องไปแล้ว...มันอาจจะไม่ฟ้องคุณก็ได้ เนื่องจากต้องเสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไปเปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้อง...แล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด หรือทวงไม่ได้

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

มีตัวอย่างมากมาย ที่แม้เจ้าหนี้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ก็ยังเสือกให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้อีก โดยหวังว่าถ้าฟลุ๊คๆขึ้นมา ไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดี เพราะรับรู้ว่าตนเองเป็นหนี้เขาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความแต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตามพยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป และลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป




สรุปให้ชัดๆก็คือ

ลูกหนี้ส่วนมากจะเข้าใจว่า เมื่อขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้ก็จบกันแค่นั้น หรือถ้าฟ้อง ศาลก็คงจะไม่รับคำฟ้องเพราะขาดอายุความ แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะถึงจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายตามขั้นตอนต่างๆต่อไป

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป

ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายรองรับอยู่ตามมาตรา 193/29 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #54325 โดย pornthip_c
ดิฉันก็เรื่องรถมอเตอร์ไซค์ค่ะ พอดีฉันนำรถไปทำเรื่องกับ เงินติดล้อ แต่จำได้ว่าเค้าไม่ได้เปลี่ยนชื่อในเล่มทะเบียนเป็นสถานที่ของเงินติดล้อ ยังเป็นชื่อเราอยู่ อย่างนี้ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนเป็นชื่อคนอื่น จะทำได้มั้ย เพราะกลัวจะโดนยึดรถค่ะ :cry2:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #54328 โดย jackTs

pornthip_c เขียน: ดิฉันก็เรื่องรถมอเตอร์ไซค์ค่ะ พอดีฉันนำรถไปทำเรื่องกับ เงินติดล้อ แต่จำได้ว่าเค้าไม่ได้เปลี่ยนชื่อในเล่มทะเบียนเป็นสถานที่ของเงินติดล้อ ยังเป็นชื่อเราอยู่ อย่างนี้ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนเป็นชื่อคนอื่น จะทำได้มั้ย เพราะกลัวจะโดนยึดรถค่ะ


ขอไม่ตอบครับ

เหตุผล
www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40552&Itemid=64#45365

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

10 ปี 11 เดือน ที่ผ่านมา #54340 โดย pornthip_c

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.523 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena