ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา เกี่ยวกับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #7055 โดย Pych
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
โจทก์
ร้อยเอกอาลักษณ์ อนุมาศ
จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 193/14, 193/34(7), 341


หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ


________________________________



จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์และได้ใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการรวมทั้งถอนเงินสดรวมเป็นเงินจำนวน 160,000 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าและบริการแทนจำเลยไป หลังจากนั้นโจทก์แจ้งยอดใช้จ่ายให้จำเลยทราบ จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 30 มกราคม 2539 โจทก์หักทอนบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยมีหนี้ค้างชำระจำนวน 182,941.05 บาท โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาตามหนังสือและใบตอบรับในประเทศ แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ที่โจทก์ฎีกาว่า หนี้ตามสัญญาบัตรเครดิตที่โจทก์นำมาฟ้องรวมถึงหนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติหรือสำนักงานสาขาของโจทก์จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงินจำนวน 160,000 บาท และยังมีค่าธรรมเนียมถอนเงินสดจำนวน 6,840 บาท ด้วย ซึ่งการใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดดังกล่าวมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ออกเงินทดรองจ่ายไปให้บุคคลอื่นก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากจำเลย แต่เป็นกรณีที่จำเลยถอนเงินสดของโจทก์ออกไปใช้อันมีลักษณะเช่นเดียวกับการเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ หนี้ในส่วนของการถอนเงินสดจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) และเมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้จึงใช้อายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นั้น เห็นว่า สำหรับบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้อันเกิดจากการถอนเงินสดหรือหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ย่อมเป็นหนี้อันเกิดจากสัญญาใช้บัตรเครดิตเดียวกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจจะแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2544 ระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ นางจุฑามาศจำเลย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า การที่โจทก์ใช้สิทธิหักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้บัตรเครดิตโดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 341 แม้จำเลยมิได้ให้ความยินยอมแต่เมื่อโจทก์ได้หักทอนบัญชีแล้วโจทก์ก็ได้ส่งใบแจ้งยอดใช้จ่ายให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านย่อมถือได้ว่าจำเลยยินยอมในการที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้บัตรเครดิตจึงถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์อันเป็นการรับสารภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่อายุความสะดุดหยุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำจึงจะถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตโดยพลการ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยนั้นหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการชำระหนี้บางส่วนของจำเลยที่จะถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 391,231.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 180,818 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: ntps, june

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #7057 โดย Pych


สรุปว่าถึงแม้ธนาคารจะดูดเงินจากบัญชีสะสมทรัพย์

ก็ไม่สามารถมาทำให้ต้องนับอายุความใหม่ได้ครับ


"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #7063 โดย Pych
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547

การที่โจทก์ให้บริการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ ให้สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงิน อัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไป ก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) คดีนี้แม้จำเลยจะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2543 ก็ตาม แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยงดใช้บัตรเครดิตหรือบอกเลิกสัญญาการ ใช้บัตรเครดิต ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยยังนำ บัตรเครดิตไปใช้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บเงินไปยังจำเลย ให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2543 ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันครบกำหนดดังกล่าว ไม่ใช่วันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

สรุปว่า ถ้าหยุดจ่ายไปแล้ว แต่ยังนำบัตรกลับมาใช้อีก

จะทำให้การนับอายุความไม่ใช่ 2 ปี 30 วันจากวันสุดท้ายที่ชำระ

เพราะอายุความต้องนับตั้งแต่ผิดนัดชำระหนี้ครั้งสุดท้าย

(ไม่ใช่การชำระหนี้เข้าไปครั้งสุดท้าย)

จึงต้องไปนับรอบบิลจากการใช้บัตรครั้งสุดท้าย

ทั้งๆ ที่ ถ้าจำเลยไม่ใช้บัตรอีก หลังจากหยุดจ่าย

คดีควรจะนับจากวันที่ 12 ตุลาคม 2543


"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #7167 โดย Pych
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2550 ธนาคารซิตี้แบงก์ โจทก์
นายศิริพัฒน์ สินสุขพร กับพวก จำเลย

โจทก์นำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 จำนวน 2,000 บาท จำเลยนำสืบว่าไม่ได้ชำระ ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือไม่ ย่อมตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงว่าจำเลยเป็นผู้โอนเงินดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันดังกล่าว

สรุปว่า ถึงจะมีผีจ่ายหยอดให้ ถ้าโจทก์หาหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้

ว่าจำเลยเป็นคนชำระ ก็ไม่มีผลให้การนับอายุความสะดุดลง


"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: ntps, june, Na123123

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: Badmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.620 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena