ไปศาลมาแล้ว คดีสินเชื่อบุคคล ธ. สีเหลือง

5 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #104947 โดย Joyzy
ก่อนตั้งกระทู้ ก็ได้อ่านๆๆ ศึกษา ข้อมูล จากชมรมนี้

ตอนแรกคิดว่าเราเป็นหนี้เงินกู้ แต่สรุปเปล่า เป็นหนี้คดีสินเชื่อส่วนบุคคล ของ ธ. สีเหลือง ล่ะดันเพิ่งโดนหมายศาลฟ้องมา ในปีนี้ หยุดจ่ายตั้งแต่ กลางปี 55

โจทก์ดันมาฟ้อง ปีนี้ (61)

สรุปก็ต้องหาทนาย สู้คดีในเรื่องขนาดอายุความเกิน 5 ปี จะไปขึ้นศาลอีกรอบ ในเดือนตุลา 61

จากความรู้สึก ใจเต้น ตื่นเต้น ไม่หลับไม่นอน เครียด บ้าหาข้อมูลจากชมรมนี้ บ้าโทรหาทนายที่ขึ้นตามกูเกิ้ล เครียดมาก ในตอนนั้น

ตอนนี้หายเตรียดไประดับนึง พอรุ้ว่า สำนวนการฟ้อง มันขาดอายุความแล้ว

จะสู้คดีสักตั้ง ได้ผลยังไง จะมาอัพเดตนะคะ

ตั้งสติ หาข้อมูล อ่านสำนวน ปรึกษาทนายที่เบอร์โชว์ตามกูเกิ้ล

จะคลายความเครียดคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #104949 โดย Pheonix
ข้อ 2. ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2547 สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 1 พิพากษาโดยท่านไพโรจน์ วายุภาพ ท่านปัญญา ถนอมรอด ท่านวรนาถ ภูมิถาวร วางหลักกฎหมายในเรื่องเบี้ยปรับไว้ในหน้า 1 วรรค 2 ว่า ส่วนการคิดดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น ตามสัญญากู้เงิน ข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามที่ระบุในสัญญาข้อ 2 ซึ่งหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ และในกรณีที่มีการผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วในอัตราผิดนัดสูงสุดสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ โดยไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ แต่การกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสูง อันเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 และในหน้า 5 วรรค 2 เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินรายนี้แล้ว เห็นว่าฯ อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามที่ระบุในสัญญากู้เงินข้อ 4 ที่กำหนดไว้เป็นอัตราผิดนัดสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงมาก เช่น บางช่วงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และบางช่วงสูงถึงร้อยละ 24 ต่อปี นับว่าเป็นเบี้ยปรับในลักษณะดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนไปมาก เห็นสมควรลดลงเหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่านั้น ฯ (ไพโรจน์ วายุภาพ ปัญญา ถนอมรอด วรนาถ ภูมิถาวร) (คำพิพากษาฎีกาปี พ.ศ. 2547 ตอนที่ 4 หน้า 539 ถึง 550 จัดพิมพ์โดยเนติบัณฑิตยสภา)
หมายเหตุ ท่านปัญญา ถนอมรอด ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549
ท่านไพโรจน์ วายุภาพ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องเบี้ยปรับบัญญัติไว้ดังนี้ มาตรา 379 ถ้าลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับ เมื่อตนไม่ชำระหนี้ ก็ดี หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรก็ดี เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ก็ให้ริบเบี้ยปรับ ฯ
มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถีงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ฯ
ข้อ 3. จำเลยกราบขอบารมีท่านไพโรจน์ วายุภาพ ท่านปัญญา ถนอมรอด และท่านวรนาถ ภูมิถาวร เป็นที่พึ่ง ขอให้การตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2547 ดังกล่าวข้างต้นว่า ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้จำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้ธนาคาร ในอัตราร้อยละ 22.00 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา จำเลยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละ 5,524 บาท กำหนดชำระเสร็จสิ้นภายใน 60 เดือน โดยตกลงชำระทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน เริ่มผ่อนชำระงวดแรกวันที่ 10 กันยายน 2554 ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ผ่อนชำระตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยยอมเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงหนี้ฯ และยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารที่ใช้เรียกเก็บจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จแก่ธนาคาร ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเท่ากับร้อยละ 28 ต่อปี จำเลยสัญญาว่าจะชำระต้นเงินคืน และดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นภายใน 60 เดือน ในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด ให้ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ บรรดาหนี้สินทั้งหลายที่ยังค้างชำระอยู่ไม่ว่าจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าเป็นอันถึงกำหนดชำระทั้งหมดทันที จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนต้นเงินกู้ พร้อมดอกเบี้ยกรณีผิดนัด นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้น และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเลยค้างชำระ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบคำขอสินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์ แคช แจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อกรุงศรี ฯ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7 ถึง 9 เมื่อกู้เงินไปแล้ว จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ธนาคารตามสัญญา โดยชำระครั้งหลังสุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 จำนวน 5,524 บาท ธนาคารได้นำไปจัดชำระดอกเบี้ยและต้นเงินได้เพียงบางส่วน หลังจากนั้น ไม่ชำระหนี้อีก จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้ธนาคารมาโดยตลอด ต่อมา ธนาคารได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยครั้งสุดท้ายเปลี่ยนแปลงเป็นอัตราร้อยละ 28 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ แต่การกำหนดให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยสูงมากร้อยละ 28 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2556 อันเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นการผิดสัญญา เท่ากับเป็นข้อสัญญาที่กำหนดค่าเสียหายในลักษณะเป็นดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า อันถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจพิพากษาลดเบี้ยปรับลงเหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 และตามหน้า 5 วรรค 2 เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินรายนี้แล้ว เห็นว่าฯ อัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามที่ระบุในไว้ในคำฟ้องข้อ 2. ที่กำหนดไว้เป็นอัตราผิดนัดสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราสูงมากถึงร้อยละ 28 ต่อปี นับว่าเป็นเบี้ยปรับในลักษณะดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนไปมาก ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2547 เห็นสมควรลดลงเหลือเพียงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่านั้น ฯ จำเลยจึงกราบขอประทานศาลท่านโปรดเมตตาสุดแต่จะโปรดเห็นสมควร
ข้อ 4. ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2551 สำเนาเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 พิพากษาว่า สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยสัญญาว่าจะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ย พร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) มิใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท ยอมให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะครบ โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 รับเงินกู้ไปครบถ้วนแล้ว แต่ไม่เคยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้โจทก์ โจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 52,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็น ต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดครั้งแรกเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 52,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยในสัญญากู้ยืมนั้นได้มีข้อตกลงผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเอกสารหมาย จ.1 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า สัญญากู้ยืมเงินตามเอกสารหมาย จ.1 ไม่ปรากฏว่าให้ผ่อนชำระกันเป็นระยะเวลาเท่าใดหรือกี่งวด ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ในสัญญากู้ยืมเงิน เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อาศัยเป็นหลักฐานฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยนั้นได้มีข้อตกลงในข้อ 3 ว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่า จะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงถือได้ว่า เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ย พร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปีตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) แล้ว หาใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย” พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ( สิริรัตน์ จันทรา - สุรภพ ปัทมะสุคนธ์ - ณรงค์พล ทองจีน ) หมายเหตุ สัญญากู้ยืมเงินก่อให้เกิดหนี้แก่ผู้กู้ยืมเงินที่จะต้องคืนเงินต้นที่กู้ยืมไปแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ถ้าตกลงให้คืนเงินต้นทั้งหมดในคราวเดียว โดยมีกำหนดเวลาหรือไม่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอนจะมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192/30 (คำพิพากษาฎีกาที่ 2660/2545) ถ้าตกลงให้ผ่อนชำระเป็นงวด ๆ โดยกำหนดจำนวนงวดไว้ หรือกำหนดเวลาชำระเสร็จไว้ หรือไม่ได้กำหนดเวลาไว้ ถือได้ว่าเป็นเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) (คำพิพากษาฎีกาที่ 1887/2541) ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระไม่ว่ากรณีใดมีอายุความ 5 ปี เสมอตามมาตรา 193/33 (1) มิใช่กรณีตาม 193/33 (2) ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยรวมกันไปกับการชำระเงินต้นซึ่งเป็นเงินทุน เพราะดอกเบี้ยมิใช่เงินทุนแต่อย่างใด ไพโรจน์ วายุภาพ หมายเหตุ ท่านไพโรจน์ วายุภาพ เป็นประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ (2) เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ในขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อ 5. จำเลยขอให้การว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์ได้ความว่า ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้จำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้ธนาคาร ในอัตราร้อยละ 22.00 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา จำเลยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละ 5,524 บาท กำหนดชำระเสร็จสิ้นภายใน 60 เดือน โดยตกลงชำระทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน เริ่มผ่อนชำระงวดแรกวันที่ 10 กันยายน 2554 ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ย พร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงถือได้ว่า เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ย พร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปี ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ (2) เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ แล้ว ทั้งนี้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2551 และคำพิพากษาฎีกาที่ 1887/2541 ดังกล่าว ตามมาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ในขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามคำฟ้องข้อ 2 วรรค 2 เมื่อกู้เงินไปแล้ว จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ธนาคารตามสัญญา โดยชำระครั้งหลังสุดในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 จำนวน 5,524 บาท ธนาคารได้นำไปจัดชำระดอกเบี้ยและต้นเงินได้เพียงบางส่วน หลังจากนั้น ไม่ชำระหนี้อีก จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้ธนาคารมาโดยตลอด ต่อมา ธนาคารได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยครั้งสุดท้ายเปลี่ยนแปลงเป็นอัตราร้อยละ 28 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ ดังนั้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ ตามมาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ในขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ โจทก์มาฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 คิดเป็นเวลา 5 ปี 4 เดือน 23 วัน (ตามรายการบัญชีผ่อนชำระ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 14 ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2556 จำเลยผิดนัดชำระหนี้ คิดเป็นเวลา 5 ปี 2 เดือน 7 วัน) จึงพ้นกำหนด 5 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ (2) เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ และตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2551 และคำพิพากษาฎีกาที่ 1887/2541 ดังกล่าว
จำเลยจึงกราบขอประทานศาลท่านได้โปรดยกฟ้องโจทก์เสียทั้งสิ้น.

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #104955 โดย เจ๋งแจ๋ว

Joyzy เขียน: ก่อนตั้งกระทู้ ก็ได้อ่านๆๆ ศึกษา ข้อมูล จากชมรมนี้

ตอนแรกคิดว่าเราเป็นหนี้เงินกู้ แต่สรุปเปล่า เป็นหนี้คดีสินเชื่อส่วนบุคคล ของ ธ. สีเหลือง ล่ะดันเพิ่งโดนหมายศาลฟ้องมา ในปีนี้ หยุดจ่ายตั้งแต่ กลางปี 55

โจทก์ดันมาฟ้อง ปีนี้ (61)

สรุปก็ต้องหาทนาย สู้คดีในเรื่องขนาดอายุความเกิน 5 ปี จะไปขึ้นศาลอีกรอบ ในเดือนตุลา 61

จากความรู้สึก ใจเต้น ตื่นเต้น ไม่หลับไม่นอน เครียด บ้าหาข้อมูลจากชมรมนี้ บ้าโทรหาทนายที่ขึ้นตามกูเกิ้ล เครียดมาก ในตอนนั้น

ตอนนี้หายเตรียดไประดับนึง พอรุ้ว่า สำนวนการฟ้อง มันขาดอายุความแล้ว

จะสู้คดีสักตั้ง ได้ผลยังไง จะมาอัพเดตนะคะ

ตั้งสติ หาข้อมูล อ่านสำนวน ปรึกษาทนายที่เบอร์โชว์ตามกูเกิ้ล

จะคลายความเครียดคะ


อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
หาทนายที่เขียนคำร้องเป็นด้วยนะครับ เหมือนถ้าจำไม่ผิดเคยมีตัวอย่างทนายเขียนคำร้องไม่ครบถ้วน
ทำให้เสียโอกาสในการยื่นเรื่องสู้นะครับ ( ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ไม่แน่ใจเท่าใหร่ )

โชคดีนะครับ

o_) o_)

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 8 เดือน ที่ผ่านมา #104958 โดย ยิ้มอ่อน
ขอให้โชคดีนะคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #106537 โดย Joyzy
วันนี้มาขึ้นศาลรอบสองคะ รออยุ่ ตื่นเต้น ได้ผลยังไงจะอัพเดตนัคะ

Joyzy เขียน: ก่อนตั้งกระทู้ ก็ได้อ่านๆๆ ศึกษา ข้อมูล จากชมรมนี้

ตอนแรกคิดว่าเราเป็นหนี้เงินกู้ แต่สรุปเปล่า เป็นหนี้คดีสินเชื่อส่วนบุคคล ของ ธ. สีเหลือง ล่ะดันเพิ่งโดนหมายศาลฟ้องมา ในปีนี้ หยุดจ่ายตั้งแต่ กลางปี 55

โจทก์ดันมาฟ้อง ปีนี้ (61)

สรุปก็ต้องหาทนาย สู้คดีในเรื่องขนาดอายุความเกิน 5 ปี จะไปขึ้นศาลอีกรอบ ในเดือนตุลา 61

จากความรู้สึก ใจเต้น ตื่นเต้น ไม่หลับไม่นอน เครียด บ้าหาข้อมูลจากชมรมนี้ บ้าโทรหาทนายที่ขึ้นตามกูเกิ้ล เครียดมาก ในตอนนั้น

ตอนนี้หายเตรียดไประดับนึง พอรุ้ว่า สำนวนการฟ้อง มันขาดอายุความแล้ว

จะสู้คดีสักตั้ง ได้ผลยังไง จะมาอัพเดตนะคะ

ตั้งสติ หาข้อมูล อ่านสำนวน ปรึกษาทนายที่เบอร์โชว์ตามกูเกิ้ล

จะคลายความเครียดคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.470 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena