มีหมายจากกรมบังคับคดี มาที่บริษัทขออายัดเงินเดือน แต่บริษัทให้ลาออก

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99659 โดย meephol
ขอสอบถามท่านผู้รู้ทุกท่านครับคือ ผมทำงานที่บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง เมื่อวาน15 ม.ค 2018 มีหมายศาลกรมบังคับคดีมาที่บริษัท ทางฝ่าย HR เรียกเข้าไปคุย และให้เซ็นใบลาออกเลยมีผลเมื่อวาน โดยจ่ายเงินเดือนให้แค่เดือนนี้เท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า เราหมดความน่าเชื่อถือในการทำงาน จึงเชิญให้ลาออกดีๆ ผมทำงานมา อีก 4 วันจะครบ 1 ปี กรณีแบบนี้บริษัทมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินล่วงหน้าให้ได้ไหมครับ เขาบอกว่าเขามีสิทธิ์ให้ลาออกเพราะหมดความน่าเชื่อถือในการทำงาน… ขอบพระคุณมากๆครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99694 โดย Badman
ร้องเรียนสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานด่วนครับ
www.labour.go.th/th/

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99701 โดย eakz
ผมก็เจอคล้ายๆแบบนี้ครับ แต่เจ้านายผมใจดี ให้ลาออกแล้วรับเงินเดือนเป็นเงินสดแทน

ผมเลยออกมาส่งประกันสังคมเองเลย ทุกวันนี้ก็ถือว่าเป็นหนี้เจ้านายครับที่ไม่ไล่เราออก

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99702 โดย keng
แนะนำว่าห้ามเซ็นใบลาออก ให้บริษัทไล่ออก แล้วไปฟ้องศาลแรงงาน เคสแบบนี้ ฟ้องศาลแรงงาน มีโอกาสชนะสูง แถมอาจได้เงินก้อนมาปิดหนี้ด้วย...

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99711 โดย เจ๋งแจ๋ว
ลองโทรปรึกษาผู้รู้ก่อนที่จะตัดสินใจทุกๆอย่างนะครับ
เซ็นต์ใบลาออก = ยอมรับเงื่อนใขบริษัททันที
แต่ถ้าไม่เซ็นต์ ลองคุยกับบริษัทเรื่องชดเชยครับ ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง ลุยเลยครับ

การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างกรณีการเลิกจ้าง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่158 ที่กำหนดเรื่องการเลิกจ้าง คือ
1. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถหรือพฤติกรรมของ ลูกจ้าง
2. ลูกจ้างจะต้องได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างหรือได้รับค่าชดเชยหรือการชดเชยแบบอื่นๆ เว้นแต่ลูกจ้างจะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง
3. ในกรณีที่มีการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หากนายจ้างไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยอย่างเพียงพอ

จากหลักการเรื่องการเลิกจ้างตามอนุสัญญา ILO ดังกล่าว พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้ กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ทั้งนี้การเลิกจ้างได้แก่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยมีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งต้องถูกเลิกจ้างให้ ได้รับค่าชดเชย ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ลูกจ้างต้องออกจากงาน
เพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
1.ลูกจ้างลาออกจากงานโดยสมัครใจ
2.ลูกจ้างที่ทำสัญญากับนายจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนด ระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่งที่ทำชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นแล้วเสร็จสิ้นไป ซึ่งการว่าจ้างถือเอาความแล้วเสร็จของ งานเป็นสาระสำคัญในการกำหนดระยะเวลาการจ้าง ได้แก่งานดังต่อไปนี้
2.1 งานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ สิ้นสุดของงานที่แน่นอน เช่น งานค้นคว้าทดลอง หรืองานสำรวจวิจัยซึ่งอาจเป็นการทำลองผลิตสินค้าชนิดใหม่ก่อน นำเข้าสู่กระบวนการผลิตตามปกติของธุรกิจนายจ้าง หรือการสำรวจหาแหล่งขุดเจาะน้ำมันในกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่ง งานเหล่านี้มิใช่งานที่ทำเป็นปกติธุระในกิจการของนายจ้างนั้น
2.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน เช่น จ้างลูกจ้างเป็นช่างไม้ ช่างปูน ช่างผูกเหล็กในงานรับเหมาก่อสร้างซึ่งงานจะเสร็จตามหน้างาน หรือนายจ้างประกอบกิจการผลิตสินค้าสำเร็จรูป
ได้จ้างลูกจ้างมาต่อเติมอาคารหรือซ่อมกำแพงโรงงานจนแล้วเสร็จ
2.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น เช่น จ้างลูกจ้างทำงานในการผลิตซึ่งอาศัย
พืชผลตามฤดูกาล เช่นโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง

ถ้าเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในงานอื่นซึ่งมิใช่งาน 3 ประเภทนี้ ก็ไม่ใช่กรณียกเว้นเรื่อง ค่าชดเชย
ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่อยู่ในกรณียกเว้นข้างต้น รวมทั้งไม่อยู่ในกรณียกเว้นตามมาตรา 119 ด้วย จะมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

6 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา #99720 โดย pfs
ถ้ายังไม่ได้เซ็นต์ใบลาออก ห้ามเซ็นต์เด็ดขาด ให้บริษัทจ้างออกเท่านั้น แล้วคุณรวบรวมหลักฐานฟ้องศาลแรงงาน
1. เขาต้องจ่ายชดเชยจ้างออกตามกฎหมาย
2. ได้ค่าชดเชยกรณีจ้างออกจากประกันสังคม
3. โอกาสที่จะฟ้องชนะสูงมาก
4. ผลประโยชน์การได้เงินภาษีคืนกรณีถูกจ้างออกจะได้คืนภาษีเกือบทั้งหมดที่คุณจ่ายค่ะ
ภาวณาว่าคุณยังไม่เซ็น และถ้าเขาจ้างออกคุณรับเช็คอย่างเดียวห้ามเซ็นต์รับถ้าเขาระบุว่ารับทราบและจะไม่ฟ้องร้อง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.398 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena