ถูกหมายศาลแปะหน้าบ้าน บอกไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ธนาคารทั้งที่ไม่ได้เป็นคนเซ็นต์

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93686 โดย Dinggo
สามีเป็นกรรมการหุ้นลมของบริษัท ของน้องชายน้องสะใภ้ มีลูกชายลูกสาวเขา พี่สาวแฟน พี่เขยแฟน(เสียชีวิตแล้ว) ร่วมเป็นกรรมการบริษัทมาตั้งแต่ ปี2534ค่ะ ช่วงนั้น ทำงานอยู่จังหวัดต่างๆ แต่ซื้อบ้านอยู่ที่เชียงใหม่ค่ะ

ต่อมา ช่วงเดือน พฤศจิกายน ปี2559 มีโนติสของธนาคารกรุงศรีอยุธยา แจ้งมาว่า น้องชายน้องสะใภ้ หลานสาว และสามี ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่เกือบ 4ล้าน5แสน โดยเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทของน้องชายอีกทีนึง หากไม่ชำระภายใน 6 ธันวา 2559 ก็จะดำเนินคดี เราก็ไม่ได้ติดใจอะไรมาก ถามน้องชายก็ไม่พูดอะไร ให้ดูแต่หนังสือบริคณฑ์สนธิ กรรมการและหุ้นส่วนคนละกี่หุ้น ราคาเท่าไร นึกว่า เออ ก็ธรรมดา เราก็ไปเป็นกรรมการลมของบริษัทพี่ชาย น้องชายเหมือนกัน ไม่เคยมีปัญหาอะไรมาก่อนทั้งสิ้น

มาต้นเดือนมีนาคม วันที่5 มีหมายศาลมาแปะหน้าบ้าน เอกสารเป็นปึกเบ้อเริ่ม ถึงได้รู้ว่า เป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินเชื่อโอดีบริษัทให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นจำนวนเงิน เกือบ 4ล้าน 5แสน ดอกเบี้ยต่างหาก จากดอกเบี้ยต่ำ กลายเป็นสูงสุดคือ ร้อยละ15ต่อปี ตั้งแต่ผิดนัดชำระเป็นต้นมา

แต่ว่า สามีไปเซ็นต์ค้ำประกันแบ้งค์ตั้งแต่ตอนไหน ทำไมเราไม่ทราบมาก่อน ปกติเป็นคนขี้อาย ขี้กลัว ไม่กล้าเซ็นต์ชื่ออะไร บัตรเครดิต จดทะเบียนเลขที่มือถือ เซ็นต์เช็ค ก็ไม่กล้าทั้งนั้น ทำไมกล้าไปค้ำโอดีตั้ง 4ล้านกว่า ได้ยังไง สามีมาอ่านแล้วตะโกนลั่นว่า ไม่ได้เซ็นต์ ไม่ได้ค้ำ ไม่ได้ทำ ของปลอมๆๆๆ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93688 โดย Dinggo
เพิ่มเติม วันที่ที่เขากู้เราค้ำคือ เดือนพฤษภาคม 2557

ตอนนั้น มาซื้อตึกแถว2ห้องที่จังหวัดบ้านเกิดได้เกือบ10 ปีแล้ว ปี57 ดิฉัน ไม่มีเวลาให้ครอบครัว เพราะต้องไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนเทศบาลแห่งหนึ่งของจังหวัด สอนนักเรียน 6ร้อยกว่าคน ไม่มีเวลาพูดคุยเฮฮากับครอบครัว และญาติๆเลย

ผ่อนบ้านได้4-5ปี พี่ชายเห็นว่า ไม่ได้การแล้ว ดอกเบี้ยเป็นวัวกินหาง เดี๋ยวหนี้ล้นพ้นตัวเกินไป เผลอๆ น้องสาวจะไม่มีบ้านอยู่ ก็เลยช่วยเหลือ เอาหนี้ออกจากแบ้งค์ให้ เกือบ 2 ล้าน เก็บโฉนดไปไว้ที่พี่ชายก่อน กลัวเราจะไปจำนองที่ไหนอีก จนป่านนี้ ต้นไม่ได้จ่าย ดอกก็ไม่เคยให้ เอาสามีไปทำงานส่งสินค้าที่บ้านแม่ช่วยพี่ชายทำงานแทนใช้หนี้ ให้เงินใช้เล็กๆน้อยๆ เดือนละ 3,500.-บาท ถือว่า เอาสามีไปทำงานขัดดอก ว่างั้น

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93689 โดย Dinggo
รีบตรวจดู วันที่ศาลนัดไปไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน คือ วันแรงงาน วันที่ 1 พฤษภาคมนี้แล้ว จะต้องรีบ ปรึกษาผู้รู้กฏหมาย ทนายความที่เพื่อนแนะนำให้มา

เขาก็คิดเหมาจ่าย คดีนี้1แสนบาท ไอ้หยา เกิดมาไม่เคยคิดไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน เราถูกปลอมลายเซ็นต์ค้ำหนี้ธนาคาร ก็เดือดร้อนมากแล้ว ไปหย่ากับแฟน เอาบ้านโอนมาชื่อเรา รถเก่าๆ1คัน น้องชายเขาก็ขายรถมาให้ถูกๆอีกคัน รวมค่าซ่อมหมดไปแล้ว 1แสน5หมื่น หมดตัวแล้ว เงินที่เก็บไว้นึกว่า จะเหลือไปคืนหนี้พี่ชายบ้างเล็กน้อยก็ไม่ได้คืน ยังต้องไปหย่า ค่าโอนโฉนดหมดไปอีก ร้อยละ5 ส่วนของสามีโอนให้ภรรยา ต้องยืมพี่ชายมาอีก เกือบ3หมื่น9พัน ใช้เงินเดือนอันน้อยนิดของสามีผ่อนหนี้ก้อนนี้ คือหนี้เก่าไม่ได้ใช้ จ่ายหนี้ใหม่ผ่อนให้ก่อน ต้องใช้เวลาผ่อนทั้งหมด11เดือน หมายความว่า จนกว่า จะถึงเดือนสิงหาคม ปี2560 นี้ สามีไม่มีเงินเดือน มาช่วยค่าน้ำค่าไฟบ้านเลย ยังต้องให้เงินแม่สามีอีกทุกเดือน เดือนละ2,000.- บาท ถ้าพาแกไปซื้อของก็ต้องออกเงินให้อีก ส่วนตัวเอง ลาออกจากครูอัตราจ้าง เงินเดือนน้อยนิด มาทำงานตัวแทนประกันชีวิต บริษัทหนึ่ง มีรายได้ดีกว่า กินเงินเดือนครูเล็กน้อย แต่เนื่องจาก เพิ่งลาออกมาใหม่ๆ ตลาดยังมีน้อยอยู่ ลูกค้าในมือยังไม่มาก รายได้ก็ยังไม่แน่นอน ยังไม่มั่นคงพอ มาเจอ สามีไม่มีรายได้ ทุกอย่างต้องใช้เงินที่ภรรยาหามาจ่ายทุกอย่างในบ้านทั้งหมด ทุกท่านคิดดูสิ หนักหนาสาหัสแค่ไหน คงจะนึกภาพออก

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93690 โดย Dinggo
ตอนนี้ ขอถามคำถามผู้รู้ช่วยตอบหน่อยค่ะ เท่าที่ศึกษามาจากที่ต่างๆนะคะรวมทั้งในเวปไซด์นี้ ที่ให้ความรู้มากๆ ไม่ยึกยักเล่นตัว เล่นลิ้นพลิกลิ้นไปมาแบบทนายทุกคนที่เราไปปรึกษาเขา แน่นอน เขาก็คงคิดว่า ปรึกษาฟรี หลอกถามฟรี แล้วไม่จ้างหรือปล่าว ดังนี้น ตอบให้โง่ เอ็งก็ไปหาความรู้เอาเองสิวะ ยังงี้ ใช่มั้ยคะ ทนายน่ะ ทุกคนที่เจอเลยค่ะ เจอมา4-5 รายแล้ว ไม่รู้จะเชื่อใครดี ตัดสินใจไม่ถูก

1. ไปปรึกษา สำนักงานอัยการบรรเทาทุกข์ประชาชนฟรี (สคช.) ท่านอัยการที่ย้ายมาใหม่ช่วงฤดูโยกย้ายนี้ และนิติกรที่อยู่ที่นั่น แนะนำให้ไปลงบันทึกประจำวันด่วน ทันทีที่พบว่า มีการปลอมลายเซ็นต์เกิดขึ้น มิฉะนั้น เราไปศาล ศาลจะไม่ฟังเราเนื่องจากเราไม่ได้ดำเนินขั้นตอนตามกฏหมาย คือให้ราชการรับรู้ก่อนว่าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น แต่แนะนำให้จ้างทนายความ เขียนคำให้การต่อศาล เราบอกว่า ทนายเอาค่าเหมาจ่ายตั้ง 1แสนแพงมาก จ่ายไม่ไหว แนะนำทนายไม่แพงให้ได้ไหม ท่านก็บอกว่า แนะนำไม่ได้ผิดกฏหมาย ทนายก็เหมือนร้านค้าต่างๆ เราต้องไปหาซื้อไปหาดูแล้วตัดสินใจเอาเองว่าจะเลือกคนไหน แต่ที่บอกว่า ในเน็ตเขาบอกว่า คดีปลอมลายเซ็นต์เขาคิด 2หมื่นเท่านั้น นิติกรบอกว่า 2หมื่นอาจไม่ได้ เพราะต้องใช้เวลานานเป็นปีๆกว่าจะเสร็จ ให้ไปลงบันทึกประจำวันด่วน วันนี้เลยนะ เดี๋ยวจะช้าเกินไปไม่ทันการ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93694 โดย Dinggo
เอาไงดีล่ะ ก่อนหน้านี้ ไม่กี่วัน เราดอดไปขอพบท่านผู้ใหญ่ในวงการทนายคนหนึ่ง ไปหาท่านที่บ้านได้ยินว่า แม่นยำกฏหมายมาก จบนิติศาสตร์เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เป็นผู้มีคุณธรรมสูง จึงได้รับเลือกเป็นกรรมการ ปปช.ของจังหวัด ท่านก็ให้คำปรึกษาเป็นกลางๆ เพราะทนายก็เป็นรุ่นน้องรุ่นลูกรุ่นหลานของท่านทั้งนั้น เราคุยไปถึงทนายกลุ่มไหนท่านก็รู้จักไปหมด ทนายเด็กรุ่นใหม่ท่านก็รู้จัก ว่าใคร นิสัยอย่างไร เก่งแต่แพง ถูกแต่โง่ไม่ชอบอ่านหนังสือ(เราพูดเอง ท่านไม่กล้าพูดหรอก) คนนี้ มันติงต๊อง รับคดีมาก็ไม่อ่านก่อนว่าห้ามอุทธรณ์ (คนนี้เราเคยจ้างที ก็ว่างั้นแหละ บ้าๆบอๆ) บางคน ท่านก็เว้นเสียไม่วิจารณ์ก็มี ที่จริง เราชวนท่านคุยเรื่องทนาย เพราะอยากรู้ว่า เราจะเปลี่ยนไปหาทนายคนไหนดีหนอ ทนายที่ไปหาราคา1แสนนั้น เป็นทนายอาวุโสเก่งมากในคดีสถาบันการเงิน แต่รับงานแพงหน่อย ให้เวลาปรึกษา2ชั่วโมง ก็เยอะเหมือนกัน เย็นมืดแล้วจึงลาออกมา ท่านให้เบอร์โทรส่วนตัว บอก ต้นเดือนเมษาพอว่างงานบ้างแล้วให้มาหาใหม่นะ จะให้เวลาอีกที เราก็ไม่ได้ข้อสรุปอยู่ดีว่า จะเปลี่ยนทนายคนไหนดีน๊อ ที่ไม่ถึงแสนน่ะ แพงจับใจ

อ้อ ยังมี ท่านให้ไปถามทนายค่าตัว1แสนว่า รวมค่าพาไปแจ้งความปลอมแปลงลายเซ็นต์ด้วยหรือไม่ เหมาใน1แสนนี้หรือปล่าว ถ้าเป็นคดีอาญาขึ้นมาแล้ว จะคิดค่าทนายเพิ่มอีกคดีไหม คิดอีกเท่าไหร่ ทนายบอก ถ้าชนะคดี ศาลจะคืนค่าทนายให้บางส่วน ค่าเปอร์เซ็นต์รางวัลชนะของทนายไม่เอา ยกให้เราเสีย ท่านให้ถามทนายว่า ถ้าแพ้คดี ต้องอุทธรณ์ จะคิดค่าทนายใหม่ใช่ไหม อีก1แสนหรือไม่ เราก็คิดในใจ ตายละวา ค่าทนาย1แสน ยังจะต้องค่าพิสูจนลายเซ็นต์ปลอมอีกกี่ตังค์ เกินแสนแล้ว ถ้าเพิ่มอีกกี่คดี คดีละ1แสนๆๆๆๆ เราจะไปหาที่ไหนมาจ่ายวา งั้นขอหาข้อมูลด้านอื่่นก่อน เผื่อเป็นทางเลือกทางอื่นได้อีก

หลังจากนั้นอีก1วัน น้องชายก็ติดต่อให้พบกับทนายที่จะต้องสู้คดีให้กับพวกเราทั้ง4คน เขาก็พูดดิ้นไปดิ้นมา จับใจความว่า ถ้าเราจะสู้อีกเรื่องคือเรื่องลายเซ็นต์ปลอม งั้นก็แยกต่างหากจากอีก3คน ไม่ต้องเซ็นต์แต่งตั้งเขาเป็นทนาย ซึ่งเราก็คิดอยู่ว่า เออ ถ้าเกิดต้องได้แจ้งความขึ้นมา พิสูจน์ว่าใครเป็นคนปลอม เกิดไปเจอว่า พี่น้องเราเขาปลอมจะทำยังไง ก็ต้องเป็นปฏิปักษ์กันใช่ปล่าว ตอนนี้ ยังไม่แตกหักกัน แต่ถ้าสู้ไปสู้ไปอาจจะแตกหักจนมองหน้ากันไม่ได้ก็ได้ งั้นก็แยกกันไปแล้วกัน แต่เราก็ยังไม่รู้ว่า จะหาทนายคนไหนดีอยู่ดีอ่ะ ถึงได้เป็นเหตุที่ต้องไปหา คนนอกวงการทนายความ เช่นอัยการ นักธุรกิจ ดูสิว่า เขาจะคิดเห็นอย่างไรดี

2. เสร็จจากอัยการ เพื่อนแนะนำ ให้ไปพบนักธุรกิจอาวุโสท่านหนึ่งของจังหวัด เป็นผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาต ตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่สำคัญ เพิ่งได้ตำแหน่งใหม่สดๆเมือปลายปีที่แล้ว 2559 นี่เอง คือ ผู้บังคับหลักประกัน คือตำแหน่งอะไรหว่า
หลังจากขึ้นศาลแล้ว ลูกหนี้ประนอมหนี้ หรือผิดนัดชำระหนี้หลังจากศาลพิพากษาแล้ว แบ้งค์จะส่งมาให้ท่านบังคับยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ท่านมีอำนาจแทนศาลที่สั่งจำหน่ายหลักประกัน แล้วเอาเงินมาใช้หนี้ได้ทันที ไม่ต้องรอชักช้าขึ้นศาล ให้ศาลสั่งขายทอดตลาดอีกหลายปี ดิฉัน เรียกท่านว่า อาเจ่ก หมายถึง คุณอา ในภาษาจีนนั่นเอง ท่านบอกว่า ท่านเรียกสองฝ่ายมาตกลงต่อหน้าท่านอีกที ท่านอาจจะยับยั้งไม่ให้ขายทอดตลาด ให้ปรับโครงสร้างหนี้ก่อน3ปี หากกิจการยังปรับปรุงตัวเองไม่ไหว ค่อยยึดทรัพย์ขายทอดตลาด

คุยไปคุยมา ท่านแนะนำให้เราแจ้งไปที่แบ้งค์สำนักงานใหญ่ว่า เราไม่ได้ค้ำประกัน เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้แบ้งค์ตรวจสอบ และตรวจสอบลายเซ็นต์ด้วย พร้อมแนบ สำเนาหมายศาลคดีของเรา และสำเนาลงบันทึกประจำวัน ซึ่งร้อยเวร ก็ลงข้อความแบบที่ท่านสอนนี้แหละ เพื่อใช้ต่อสู้คดีต่อไป เราก็ส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนไป พร้อมกับส่งสำเนาถึง ผู้จัดการสาขาจังหวัด ดูว่าเขาจะตอบว่าอย่างไร เมื่อเขาได้สอบสวนเรื่องนี้เสร็จแล้ว เสร็จแล้ว ให้เรานำเอกสารเหล่านี้ไปขึ้นศาลโดยไม่มีทนายความ เราบอกทำคำแถลงต่อศาล ซักค้านไม่เป็นทำอย่างไร ท่านบอกไม่ต้องกลัว ช่วงนี้ ต้องส่งไปไกล่เกลี่ยก่อน ยังไม่ต้องใช้ทนาย ทนายก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก ต้องไปไกล่เกลี่ยก่อน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93697 โดย Dinggo
อาเจ่กนักธุรกิจคนนี้ เป็นผู้กว้างขวาง สรรพากรเก็บเงินไม่ได้เป้าท่านก็แนะทางออก ไม่ให้ธุรกิจทั้งจังหวัดถูกคิดภาษีเพิ่ม เดือดร้อนกันทั่วแน่ๆ แต่ไปทางอื่น กระทบอุตสาหกรรมใหญ่ๆแทน ซึ่งก็ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่มอะไร แต่ยังไม่ได้เงินคืนเครดิตภาษีเท่านั้นเอง ถูกนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงหนังสือด่าเต็มที่ หาว่า ไอ้ลูกเจ้กหลานเจ้ก ท่านก็บอกว่า ทั้งๆที่พ่อมันก็เจ้กต่างด้าวเหมือนกัน (ฮา) ท่านเป็นที่ปรึกษาของแบ้งค์ ของศาล ขององค์กรเอกชน สหกรณ์ต่างๆ เราบอก เราขึ้นศาล ไม่มีหนังสือให้การตามแบบฟอร์มที่ให้ในเวปนี้นะ ซักค้านทนายโจทย์ พยานโจทย์ไม่เป็นทำยังไง ท่านเลยบอก ไม่เป็นไร วันแรงงานที่1 พ.ค.นี้ จะไปดูให้เอง เพราะท่านเป็นกรรมการไกล่เกลี่ยคนหนึ่งของศาลจังหวัดนี้ด้วยนั่นเอง

คำถามค่ะ เมื่อคืน อ่านกระทู้ ไปศาลเองทำยังไง
1. ถ้าจะแย้งว่า เราไม่ได้ค้ำประกัน เราไม่ได้เกี่ยวข้อง พิสูจน์ลายมือได้ เราถือว่า เป็นการสู้คดี เป็นแนวทางที่1 ต้องทำคำให้การตามแบบฟอร์ม ผบ๓ ใช่หรือไม่

2. ถ้าจะแถลงด้วยวาจา ตามแนวทางที่3 ทำได้หรือไม่ เหตุผลคืออะไร ทำยังไงคะ ช่วยชี้แนะขั้นตอนด้วยค่ะ

3. ลักษณะนี้ ไม่ใช่การไกล่เกลี่ยแล้วใช่ไหมคะ เป็นลักษณะการสู้คดีใช่ไหมคะ ต้องบอกผู้พิพากษาศาลเลยใช่มั้ย เพื่อขอพิสูจน์ลายมือ หรือยังต้องทำหนังสือคำให้การ ผบ๓ อยู่ดีคะ

4. มีคนแนะนำว่า ถ้าเกิดแบ้งค์ไม่ยอม ไกล่เกลี่ยไม่ได้ผล คดีเราต้องขึ้นศาลทันทีนะ จะต้องเตรียมทนายไว้ก่อน เราจะทำยังไงดีคะ

5. ถ้าเราบอกศาลว่า ถูกคนปลอมลายเซ็นต์ บางเวปบอกว่า ศาลจะสั่งให้พิสูจน์ลายเซ็นต์ ถ้าไม่ตรงกับลายเซ็นต์สามีเรา สัญญาค้ำประกันเท็จอันนี้ จะตกเป็นโมฆะเลยหรือไม่ หรือต้องไปแจ้งความ แล้วกล่าวโทษผู้เกี่ยวข้องที่สงสัยว่า จะเป็นคนปลอมนั้น กลายเป็นคดีอาญา ยอมความไม่ได้ มีโทษจำ3ปี ปรับ6พัน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตรงนี้ พี่น้องสามีกลัวว่า น้องชายเขาจะแย่โทษจำคุก เลยทั้งข่มขู่คุกคามไม่ให้สามีสู้คดี ให้ล้มละลายไปเสียดีกว่า เพราะสามีเรามันกระจอกยากจน ไม่เหมือนน้องชายที่ร่ำรวยไฮโซในจังหวัด แต่ติดหนี้เยอะนี่สิ ค่าตอบแทนของความเป็นไฮโซสูงมาก ซึ่งเราก็จะต้องจ่ายค่าทนายเพิ่มอีกคดีนึง น้องชายหรือครอบครัวก็ต้องจ้างทนายเพิ่มอีก1คดีใช่มั้ย ถ้างั้น เราควรทำอย่างไร จะสู้หรือไม่สู้ดี จะจ้างทนายดี หรือไม่จ้างแบบอาเจ่กแกแนะนำ บอกถ้าจ้างก็ทนายอาสาก็ได้ แต่เราดูเงื่อนไขยากนะ เพราะทนายอาสานั้น ต้องไปผ่านสภาทนายความ ซึ่งทนาย1แสนเป็นประธานสภาอยู่ เขาจะช่วยเราหรือ และต้องมี2เงื่อนไข คือ 1.เป็นผู้ยากไร้ 2.ไม่ได้รับความเป็นธรรม เราคงจะไม่ผ่านแน่เลย แล้วก็ตามเวปพูดถึงทนายอาสาว่า เขาจะให้คำปรึกษาอย่างแกนๆ เพราะไม่ได้รับค่าทนาย จะไม่ช่วยต่อสู้คดี ไม่วางแผนการสู้คดีให้ ไม่ขึ้นว่าความให้ มีแต่แนะนำให้ยอมความง่ายดีเท่านั้น

สรุป ขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำให้ด้วยว่า จะตัดสินใจอย่างไร ท่านผู้ใหญ่อดีตทนายความ พอรู้ว่า เราไปปรึกษาหลายทาง ทั้งอัยการ ทั้งนักธุรกิจ แล้วไปลงประจำวันเสร็จ ส่งจดหมายไปธนาคารแล้ว จึงไม่พอใจมาก ว่าเราอย่างแรงเลย ว่าการไปปรึกษาที่นั่นที่นี่้ สะเปะสะปะ ทุกๆคน ก็มีแนวทางการทำงานของตัวเอง ไม่เหมือนกัน แต่ว่า มากหมอก็มากความ ใช่ค่ะ พี่น้องเยอะก็โอ้โห ออกความเห็นเยอะแยะ กลัวเราจะเสียค่าโง่ ค่าทนายอะไรกันแพงมหาศาลไม่เคยพบไม่เคยเห็น พากันมารุมด่าจนเรางง ไม่รู้จะไปทางไหนดี เงินก็ไม่มี ต้องอาศัยพี่ๆน้องๆของฝ่ายเราเองมาช่วยกันลงขันคนละเล็กคนละน้อย แต่ก็ยังไม่พอ ฝ่ายสามี เขาไม่ช่วย เพราะกลัวกระทบพี่น้อง บอกว่า ให้เราอยู่เฉยๆก่อน ทั้งหมดเป็นหนี้เท่าไร เดี๋ยวหาทางช่วยกัน เพราะมีเด็กๆหลานๆติดร่างแหมาด้วย จะเสียอนาคตตั้งแต่เด็ก จะติดเสียประวัติเครดิตบูโรลบไม่ออก เราก็กลัวว่า ไม่ดิ้นรนสอบถามรอบด้าน หาความรู้รอบตัว เตรียมตัววางแผนก่อน เดี๋ยวไม่โต้แย้งก่อน ก็จะไม่สามารถโต้แย้งได้ตลอดไป จริงไหม รู้แล้วเฉยๆ แสดงว่ายอมรับใช่ไหม ท่านผู้ใหญ่ทนายเก่าท่านนั้น ก็เลยว่า การตัดสินใจทุกอย่างนั้นอยู่ที่เราเอง คนอื่นได้แต่ออกความเห็น ถ้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่จะต้องรับความเสียหายก็คือตัวเราเอง คนอื่นเขาออกความเห็นแล้วก็แล้วไป ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นใช่ไหม เราก็บอกว่า นั่นแหละ จึงเป็นเหตุให้เราพยายามหาความรู้ทุกด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุด หากผลเสียหายเกิดขึ้น เราก็ได้พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ได้ฟังหลายๆฝ่าย เป็นข้อมูลความรู้ประกอบการตัดสินใจ จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลังค่ะ ท่านก็เลยยัวะ บอกว่า ขอถอนตัว ไม่ให้เราไปปรึกษาท่านอีกต่อไป ก็เลยขาดผู้เชี่ยวชาญสาขาทนายความไป1ท่านน่ะค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93699 โดย jackTs

Dinggo เขียน: 1. ถ้าจะแย้งว่า เราไม่ได้ค้ำประกัน เราไม่ได้เกี่ยวข้อง พิสูจน์ลายมือได้ เราถือว่า เป็นการสู้คดี เป็นแนวทางที่1 ต้องทำคำให้การตามแบบฟอร์ม ผบ๓ ใช่หรือไม่


แบบฟอร์ม ผบ.๓ เป็นแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับสู้คดี ของลูกหนี้ประเภท บัตรเครดิต , บัตรกดเงินสด , สินเชื่อบุคคลรายย่อย...ที่มีจำนวนหนี้เงินน้อยๆ (ไม่เกินกว่า 1ล้านบาท)

* หมายเหตุ * คำว่า ผบ. ย่อมาจากคำว่าคดีผู้บริโภค

หากลูกหนี้ถูกฟ้องด้วยหนี้เงินเกินกว่า 1ล้านบาท ส่วนมากลูกหนี้จะถูกฟ้องให้เป็นคดีแพ่ง ซึ่งอาจเป็นคดีแพ่งสามัญ หรือ แพ่งล้มละลายก็ได้...ดังนั้น แบบฟอร์ม ผบ.๓ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในกรณีเช่นนี้ได้ จะต้องใช้เป็นแบบฟอร์ม ๑๑(ก.) เท่านั้น



Dinggo เขียน: 2. ถ้าจะแถลงด้วยวาจา ตามแนวทางที่3 ทำได้หรือไม่ เหตุผลคืออะไร ทำยังไงคะ ช่วยชี้แนะขั้นตอนด้วยค่ะ


แนวทางที่ 3. ก็คือการที่จำเลยยอมรับสารภาพต่อหน้าศาลว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องมาจริง จึงขอให้ศาลทำการพิพากษาไปได้เลย แต่จำเลยใคร่ขอความกรุณาและเมตตาจากศาลท่าน ให้ช่วยพิจารณาสั่งปรับลดค่าดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมบางอย่างที่ถูกฟ้อง ให้ลดลงมากับจำเลยบ้าง (ส่วนจะลดได้มากหรือน้อย...ก็แล้วแต่ศาลท่านจะเป็นผู้พิจารณา)



Dinggo เขียน: 3. ลักษณะนี้ ไม่ใช่การไกล่เกลี่ยแล้วใช่ไหมคะ


การไกล่เกลี่ยในคดีที่ถูกฟ้องด้วยเรื่องหนี้เงิน ก็คือการที่จำเลยยอมรับสภาพว่าเป็นหนี้จริง แต่จำเลยขอผ่อนปรนการชำระหนี้กับโจทก์(เจ้าหนี้) เนื่องจากจำเลยไม่มีเงินก้อนใหญ่เพียงพอที่จะไปชำระหนี้ ตามที่ถูกฟ้องได้เพียงก้อนเดียว

ดังนั้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล...ก็คือ การเจรจาขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆต่อหน้าศาล จนกว่าจะหมดหนี้ตามที่โจทก์ต้องการนั่นเอง



Dinggo เขียน: เป็นลักษณะการสู้คดีใช่ไหมคะ


การสู้คดีก็คิอ การใช้แนวทางที่ 1. เพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ



Dinggo เขียน: ต้องบอกผู้พิพากษาศาลเลยใช่มั้ย เพื่อขอพิสูจน์ลายมือ หรือยังต้องทำหนังสือคำให้การ ผบ๓ อยู่ดีคะ


ผมว่าคุณกลับไปอ่านแนวทางที่ 1. อีกรอบดีกว่านะครับ...หรือจะอ่านอีกหลายๆรอบก็ได้ ก็จะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่ง

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับหน้าที่ของศาล
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=9240&Itemid=64


ปล. ขอเตือนไว้ก่อนว่า การเขียนคำให้การต่อสู้คดีด้วยตัวเอง...มันไม่ได้เขียนกันแบบง่ายๆนะครับ

ยังอ่อนประสบการณ์อยู่ช่วยแนะนำด้วยคับ
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40345&Itemid=64#42547


การเขียนคำให้การเพื่อสู้คดีทำอย่างไร
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=28919&Itemid=64#28919


ขอทราบวิธีการเขียนคำร้องเมื่อไปศาลเองครับ
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=44220&Itemid=64#83599



Dinggo เขียน: 4. มีคนแนะนำว่า ถ้าเกิดแบ้งค์ไม่ยอม ไกล่เกลี่ยไม่ได้ผล คดีเราต้องขึ้นศาลทันทีนะ จะต้องเตรียมทนายไว้ก่อน เราจะทำยังไงดีคะ

5. ถ้าเราบอกศาลว่า ถูกคนปลอมลายเซ็นต์ บางเวปบอกว่า ศาลจะสั่งให้พิสูจน์ลายเซ็นต์ ถ้าไม่ตรงกับลายเซ็นต์สามีเรา สัญญาค้ำประกันเท็จอันนี้ จะตกเป็นโมฆะเลยหรือไม่ หรือต้องไปแจ้งความ แล้วกล่าวโทษผู้เกี่ยวข้องที่สงสัยว่า จะเป็นคนปลอมนั้น กลายเป็นคดีอาญา ยอมความไม่ได้ มีโทษจำ3ปี ปรับ6พัน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตรงนี้ พี่น้องสามีกลัวว่า น้องชายเขาจะแย่โทษจำคุก เลยทั้งข่มขู่คุกคามไม่ให้สามีสู้คดี ให้ล้มละลายไปเสียดีกว่า เพราะสามีเรามันกระจอกยากจน ไม่เหมือนน้องชายที่ร่ำรวยไฮโซในจังหวัด แต่ติดหนี้เยอะนี่สิ ค่าตอบแทนของความเป็นไฮโซสูงมาก ซึ่งเราก็จะต้องจ่ายค่าทนายเพิ่มอีกคดีนึง น้องชายหรือครอบครัวก็ต้องจ้างทนายเพิ่มอีก1คดีใช่มั้ย ถ้างั้น เราควรทำอย่างไร จะสู้หรือไม่สู้ดี จะจ้างทนายดี หรือไม่จ้างแบบอาเจ่กแกแนะนำ บอกถ้าจ้างก็ทนายอาสาก็ได้ แต่เราดูเงื่อนไขยากนะ เพราะทนายอาสานั้น ต้องไปผ่านสภาทนายความ ซึ่งทนาย1แสนเป็นประธานสภาอยู่ เขาจะช่วยเราหรือ และต้องมี2เงื่อนไข คือ 1.เป็นผู้ยากไร้ 2.ไม่ได้รับความเป็นธรรม เราคงจะไม่ผ่านแน่เลย แล้วก็ตามเวปพูดถึงทนายอาสาว่า เขาจะให้คำปรึกษาอย่างแกนๆ เพราะไม่ได้รับค่าทนาย จะไม่ช่วยต่อสู้คดี ไม่วางแผนการสู้คดีให้ ไม่ขึ้นว่าความให้ มีแต่แนะนำให้ยอมความง่ายดีเท่านั้น

สรุป ขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำให้ด้วยว่า จะตัดสินใจอย่างไร ท่านผู้ใหญ่อดีตทนายความ พอรู้ว่า เราไปปรึกษาหลายทาง ทั้งอัยการ ทั้งนักธุรกิจ แล้วไปลงประจำวันเสร็จ ส่งจดหมายไปธนาคารแล้ว จึงไม่พอใจมาก ว่าเราอย่างแรงเลย ว่าการไปปรึกษาที่นั่นที่นี่้ สะเปะสะปะ ทุกๆคน ก็มีแนวทางการทำงานของตัวเอง ไม่เหมือนกัน แต่ว่า มากหมอก็มากความ ใช่ค่ะ พี่น้องเยอะก็โอ้โห ออกความเห็นเยอะแยะ กลัวเราจะเสียค่าโง่ ค่าทนายอะไรกันแพงมหาศาลไม่เคยพบไม่เคยเห็น พากันมารุมด่าจนเรางง ไม่รู้จะไปทางไหนดี เงินก็ไม่มี ต้องอาศัยพี่ๆน้องๆของฝ่ายเราเองมาช่วยกันลงขันคนละเล็กคนละน้อย แต่ก็ยังไม่พอ ฝ่ายสามี เขาไม่ช่วย เพราะกลัวกระทบพี่น้อง บอกว่า ให้เราอยู่เฉยๆก่อน ทั้งหมดเป็นหนี้เท่าไร เดี๋ยวหาทางช่วยกัน เพราะมีเด็กๆหลานๆติดร่างแหมาด้วย จะเสียอนาคตตั้งแต่เด็ก จะติดเสียประวัติเครดิตบูโรลบไม่ออก เราก็กลัวว่า ไม่ดิ้นรนสอบถามรอบด้าน หาความรู้รอบตัว เตรียมตัววางแผนก่อน เดี๋ยวไม่โต้แย้งก่อน ก็จะไม่สามารถโต้แย้งได้ตลอดไป จริงไหม รู้แล้วเฉยๆ แสดงว่ายอมรับใช่ไหม ท่านผู้ใหญ่ทนายเก่าท่านนั้น ก็เลยว่า การตัดสินใจทุกอย่างนั้นอยู่ที่เราเอง คนอื่นได้แต่ออกความเห็น ถ้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่จะต้องรับความเสียหายก็คือตัวเราเอง คนอื่นเขาออกความเห็นแล้วก็แล้วไป ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นใช่ไหม เราก็บอกว่า นั่นแหละ จึงเป็นเหตุให้เราพยายามหาความรู้ทุกด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุด หากผลเสียหายเกิดขึ้น เราก็ได้พิจารณาแล้วพิจารณาอีก ได้ฟังหลายๆฝ่าย เป็นข้อมูลความรู้ประกอบการตัดสินใจ จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลังค่ะ ท่านก็เลยยัวะ บอกว่า ขอถอนตัว ไม่ให้เราไปปรึกษาท่านอีกต่อไป ก็เลยขาดผู้เชี่ยวชาญสาขาทนายความไป1ท่านน่ะค่ะ


ขอตอบคำถาม ตามข้อ 4. และข้อ 5. ในด้านบนว่า

ให้คุณโทรไปปรึกษากับทนายความ(คุณอาไพโรจน์) ตามรายละเอียดนี้ดีกว่านะครับ...จะได้ข้อสรุปและรู้เรื่องไปในทีเดียวเลย

สามารถโทรไปปรึกษาได้"ฟรี"เลยครับ จะคุยถามกันนานแค่ไหนก็ได้ (ไม่มีการเรียกเก็บค่าที่ปรึกษาแต่อย่างใด)

หรือหากคุณอยากจะว่าจ้างให้คุณอาไพโรจน์ ช่วยเขียนคำให้การในการสู้คดีให้ ก็ราคาเพียงแค่ไม่กี่พันบาทเองครับ...โทรไปถามเอาได้เลย


.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93700 โดย jackTs
.
อย่าลืมไปอ่านกฏหมาย พรบ.ผู้ค้ำประกัน พ.ศ.๒๕๕๗ ด้วยนะครับ (อยู่ในมาตรา ๔ และ มาตรา ๖)

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๘๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา ๖๘๑/๑ ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ




มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๘๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๘๖ เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ

ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง(ภายในหกสิบวัน) ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง”



ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์: quarantee_...4-07.pdf
ขนาดไฟล์:75 kb



เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ

โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ําประกัน และผู้จํานองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชําระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ ปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอํานาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงิน กําหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ําประกันหรือผู้จํานอง ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ําประกันหรือผู้จํานองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น


กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ําประกันหรือผู้จํานองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจํานวนมาก

ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ําประกันและผู้จํานอง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93704 โดย Dinggo

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93714 โดย Dinggo
ขอโทษที่ถามแนวทางที่1 เฉพาะ ผบ๓ เป็นเพราะว่าสำนวนแบ้งค์ยื่นต่อศาล หัวเอกสารซ้ายเขียนว่า

(แบบผบ.๑)
คำฟ้องคดีผู้บริโภค ตราครุฑ คดีหมายเลขดำที่ ผบ.4*0 /๒๕๖๐
คดีหมายเลขแดงที่.........../๒๕............
ศาล จังหวัด.............
วันที่...........เดือน.............พุทธศักราช ๒๕.........

.................................โดย นาย.......ผู้รับมอบอำนาจช่วง.. โจทก์
ระหว่าง
.................ที่1...................ที่2..................ที่3...........
..................ที่4...................ที่5................................ จำเลย
เรื่อง เบิกเงินเกินบัญชี..ค้ำประกัน.ค่าธรรมเนียมสัญญาค้ำประกัน
จำนวนทุนทรัพย์........4,8**,*** บาท..**..สตางค์
ข้าพเจ้า...ธนาคาร***** .........................โจทก์
เชื้อชาติ.. สัญชาติ... อาชีพ..ธนาคารพาณิชย์..... อายุ..... ปี
เลขทะเบียนนิติบุคคล ............. อยู่บ้านเลขที่......
หมู่ที่.... ถนน.... ตรอก/ซอย... ใกล้เคียง...
ตำบล/แขวง.... อำเภอ/เขต..... จังหวัด ................
โทรศัพท์ .................... โทรสาร .......... จดหมายอิเล็กทรอนิกส์........
สถานที่ติดต่อ.....(พิมพ์ตามที่อยู่ข้างบนทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง).....
ขอยื่นฟ้อง...รายชื่อของจำเลยและที่อยู่ปรากฎตามบัญชีท้ายคำฟ้อง............จำเลย
เชื้อชาติ.-. สัญชาติ..-.. อาชีพ..-.. อายุ..-.. ปี อยู่บ้านเลขที่ - หมู่ที่ -
ถนน ..-.. ตรอก/ซอย - ใกล้เคียง .. - .. ตำบล/แขวง ...- .. อำเภอ/เขต .. - .. จังหวัด - โทรศัพท์ -
โทรสาร - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ - มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ ๑ ..................................................................................
.........................................................................................................
ข้อ ๒ ..................................................................................
.........................................................................................................
2.1 .....................................................................................
.........................................................................................................
2.2 .....................................................................................
.........................................................................................................
2.3 .....................................................................................
.........................................................................................................
2.4 .....................................................................................
.........................................................................................................
ข้อ 3. ..................................................................................
.........................................................................................................
3.1 .....................................................................................
.........................................................................................................
3.2 .....................................................................................
.........................................................................................................
3.3 .....................................................................................
.........................................................................................................
ข้อ 4 ...................................................................................
.........................................................................................................
รวมเป็นหนี้ทั้งสองสัญญา เป็นเงินต้น จำนวน 4.2**,***.** บาท ดอกเบี้ย จำนวน.5 แสน.***.** บาท รวมเป็นเงิน จำนวน ..4,8**,***.** บาท รายละเอียดปรากฎตามสำเนาภาพถ่าย
ยอดหนี้ที่ค้างชำระ พร้อมคำแปล ท้ายฟ้อง (เอกสารหมายเลข .... )
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังจำเลยที้งห้าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยทั้งห้า ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้อง เพื่อขอ
บารมีศาลเป็นที่พึ่งเพื่อบังคับจำเลยทั้งห้าให้ชำระหนี้แก่โจทก์ต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
บัญชีรายชื่อของจำเลยและที่อยู่
จำเลยที่ 1 ..............................................................................
จำเลยที่ 2 ..............................................................................
จำเลยที่ 3 ..............................................................................
จำเลยที่ 4 ..............................................................................
จำเลยที่ 5 ..............................................................................
คำขอท้ายฟ้องคดีผู้บริโภค
ขอศาลโปรดออกหมายเรียกจำเลยทั้งห้ามาพิจารณาพิพากษาและบังคับจำเลย
ตามคำขอต่อไปนี้
1. ให้จำเลยทั้งห้าชำระเงินจำนวน........บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย อัตราร้อยละ15 ต่อปี
ของต้นเงิน.....บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง(ฟ้องวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560)
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์สินของ
จำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินสุทธิมาชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน
2. ให้จำเลยกระทำหรืองดเว้นการกระทำ....................
3. ให้จำเลยส่งมอบสิ่งของ.......................
4. อื่นๆให้จำเลยทั้งห้าชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์ด้วย
ข้าพเจ้ายื่นมาพร้อมสำเนาโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย ...5...ฉบับ
และรอฟังคำสั่งอยู่ หากไม่รอถือว่าทราบแล้ว
.......................................(ลายเซ็นต์)...............โจทก์
(นาย..................)
ข้าพเจ้า.................................................................เจ้าพนักงานคดี/ผู้บันทึก
...............................................................................
ข้าพเจ้า นาย............ ทนายความ ใบอนุญาตที่ ................ผู้เรียง/พิมพ์
............................(ลายเซ็นต์)..........................

จะเห็นได้ว่าคำฟ้องจะบอกว่าตัวเองเป็นคดีผู้บริโภค เหตุใดท่านนกกระจอกเทศถึงได้บอกว่าไม่ใช่คดีผู้บริโภคแต่เป็นคดีแพ่งล่ะคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93715 โดย Dinggo
ดิฉันก็สังเกตุเรื่อง พรบ.ผู้ค้ำประกัน ปี2557

มาตรา ๖๘๑/๑
และ
มาตรา ๖๘๖ วรรคหนึ่ง ด้วยค่ะ

แต่ดูคำฟ้องของแบ้งค์สิ มันใจดำมากเลยนะ คนค้ำซึ่งไม่ใช่คนกู้ซักหน่อย ไม่ใช่คนเอาเงินไปใช้
แต่กลับต้องการยึดทรัพย์สินทั้งคนกู้คือบริษัทฯ และคนค้ำให้บริษัทอีก4คน ไปขายทอดตลาดนำเงิน
มาชำระหนี้ มันโจรชัดๆ

พรบ.นี้ ต้องการคุ้มครองผู้ค้ำประกันที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เอาเงินไปใช้ แต่ต้องใช้หนี้บ้าเลือด ยอดหนี้มหาศาล
ในชั่วชีวิตก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้แตะต้องมาก่อนเลย มันยุติธรรมแล้วเหรอคะ

เราไม่รู้มาก่อนว่า มีชื่อเราเป็นคนค้ำหนี้ จึงไม่ได้ป้องกันทรัพย์สินตัวเอง คู่สมรสก็ต้องถูกอายัดทรัพย์สินเพราะมีชื่อร่วมกันในช่วงเวลาที่กู้หนี้ด้วย บ้านก็เป็นเจ้าของบ้านไม่ได้ย้ายเป็นผู้อาศัย เพราะเพิ่งมาเห็นเอกสารวันที่5มีนาคมที่มีหมายศาลมาแปะ ถึงเข้าใจว่า ทำไมตอนที่ยื่นโนติส ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเรียกสามีว่า ได้ค้ำประกันหนี้ ตอนนั้นงงมาก ไม่เข้าใจ ถามน้องชาย เขาก็ไม่บอกอะไร ไม่รู้ หรือไม่บอก ก็แปลกอยู่เหมือนกัน แต่ช่วงก่อน เดือนพฤศจิกายน ปี59 น้องชายเขายังเอารถยนต์มาให้ บอกรีบๆโอนไปซะ เดี๋ยวเขาจะมายึดเอาไปแล้ว เราก็เลยรีบจ่ายเงินส่วนหนึ่ง แล้วก็ไปกู้บัตรเครดิตบางส่วนมาซ่อมใช้งาน หมดไป 150,000.-บาท ใครจะไปรู้ว่า อ้าว แบ้งค์มาทวงให้ใช้หนี้ค้ำประกัน สมรสกันมา30ปี ต้องมาบ้านแตกคราวนี้เอง ต้องหย่าขาดจากกัน แบ่งทรัพย์สมบัติ โอนทั้งรถทั้งบ้าน เพราะยังค้างเงินผ่อนบ้านแบ้งค์อยู่ที่พี่ชายอีกคน ที่ถอนที่ดินจำนองกับแบ้งค์ออกมา จ่ายไปเกือบ2ล้าน กลัวน้องสาวจะถึงแบ้งค์ยึดไม่มีที่ซุกหัวนอน อ้าว มาเจอกรรมซ้ำอีก คราวนี้ จะเหลือที่ซุกหัวนอนหรือปล่าว ระวังตัวไม่ไปกู้เงินอีกแล้วเชียวนะ ยังมีกรรมตามทวงหนี้ ที่ไม่ได้ก่ออีกระลอก เวรกรรมจริงๆ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93717 โดย Dinggo
ทนายบางคนพูดตลกจริงๆ ว่า คนค้ำเป็นชื่อสามีคุณ เขาไม่ได้เอาทรัพย์สินของคู่สมรส เขาเอาแค่ของสามี ทุกท่านคะ บ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับสามี ต้องถูกขายทอดตลาดครึ่งนึง อีกครึ่งนึงของเราไม่ขายได้มั้ยล่ะ บ้านมันก็ต้องขายทั้งหลัง จะขายครึ่งหลังได้ยังไง แล้วเราจะไปอยู่กันที่ไหนล่ะ

แล้วถ้าเขาประกาศขายทอดตลาด คุณคิดว่า ใครจะต้องเป็นคนไปประมูลซื้อมา ก็ต้องเราใช่มั้ย ขายกี่ล้านก็ต้องจ่ายใช่มั้ย ค่าทนาย1แสนก็เดือดร้อนแล้ว ยังต้องหามาจ่ายซื้อบ้านตัวเองคืนมาอีกกี่ล้าน พี่ชายที่ยึดโฉนดไว้ ยังไม่เคยได้คืนทั้งต้นดอกก็ไม่เคยได้ ต้องถูกขายไป เอามาแบ่งหนี้คืนกับแบ้งค์ เหอๆๆๆ โลกนี้ มันมีความยุติธรรมไหมล่ะ

แต่มีข้อสังเกตุที่แปลกมากๆอีกข้อคือ งานนี้ มีคนค้ำนิติบุคคลอีกเจ้านึง คือ บสย.(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) มีหนังสือค้ำประกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี วงเงินไม่เกิน 4,190,***.- บาท ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5 แบบไม่มีหลักประกัน สิ้นสุดวันที่ 29 พฤษภาคม 2564 เราต้องจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันล่วงหน้าเป็นรายปีต่อเนื่องกันทุกปี อัตราร้อยละ 1.75 ทุกปี เป็นเงิน 73,***.- บาท
ดังนั้น เงินต้นและดอกเบี้ย มันถึงทบมากมายยังไงล่ะ แค่ไม่กี่เดือน ดอกเบี้ย กินไปแล้ว 5แสนกว่า แค่ดอกเบี้ยก็ท่วมหัวแล้ว จะคืนเงินต้นได้ยังไงล่ะ สัญญาว่า จนกว่าผู้ให้กู้จะได้ฟ้องร้องผู้กู้ทุกสัญญาที่ บสย.ค้ำประกันดังกล่าวข้างต้นต่อศาลก่อนวันที่ีสิ้นสุดของหนังสือค้ำประกัน

หมายความว่า แบ้งค์ต้องฟ้องผู้กู้กับผู้ค้ำต่อศาลทุกคดีก่อนใช่ไหม แล้วบสย.ถึงจะจ่ายหนี้ให้แบ้งค์ไม่เกินจำนวนที่ค้ำ ที่เหลือก็ให้แบ้งค์ไล่เบี้ยเอาเอง เสร็จแล้ว บสย.ก็จะได้ฟ้องคดีต่อศาลอีกหนึ่งคดี เพื่อไล่เบี้ยเงินที่ค้ำให้กับผู้กู้และผู้ค้ำ ใช่หรือปล่าว ถ้าอย่างนั้น ดาบแรกแบ้งค์จะเสียบปักอกเราไว้ก่อน คาเอาไว้ ดาบสองก็จะมาปักซ้ำ ใช่มั้ยคะ สรุปว่า เราจะต้องจ่ายค่าทนายเพิ่มมาอีกหนึ่งคดีใช่ปล่าว ตายละวา แค่ทนาย1แสนนี้ จะต้องมาเจอทนายอีก1แสนล่ะสิ เป็น2แสนใช่มั้ย ถ้าแพ้ศาลชั้นต้น อุทธรณ์อีกก็ต้องอีก1แสน ฏีกาไม่มี ยกเว้น ประธานศาลจะสั่งอนุญาตต่างหาก ชาตินี้ เราเป็นหนี้ กลายเป็นนรกหมกไหม้ ไม่ต้องได้ผุดได้เกิดกันพอดี เป็นเวรเป็นกรรมที่ต้องจองล้างจองผลาญกันไป ถ้าเกิดเราตายไปก่อน มิต้องไปชดใช้ชาติหน้าเลยรึ นี่คือ เจ้ากรรมนายเวรที่ตามมาจากนรกชาติก่อนๆทีเดียวนะคะ เพราะชาตินี้ เราไม่ได้ทำเขา คงจะเคยทำกรรมกับเขาชาติก่อนมั้ง จึงมาจองเวรในชาตินี้

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93731 โดย Dinggo
ปรึกษากับคุณอาไพโรจน์หลายครั้ง 2 วันแล้วค่ะ ให้ความรู้เรื่อง บสย.เพิ่มเติม อีกเรื่องนึงด้วยค่ะ

ตอนนี้ ได้ส่งเอกสารสำนวนฟ้องที่มาพร้อมหมายศาลให้กับ ทนายความซึ่งเป็นคณะกรรมการชมรมแล้วนะคะ

ดีใจมาก ที่ได้พบกับชมรมที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ภัยทางการเงิน โดยรู้เท่าและไม่รู้เท่าก็ตาม ขอบคุณมากจริงๆค่ะ และขอบคุณน้ำใสใจจริงที่สมาชิกทุกท่านได้แบ่งปันความรู้ทุกด้านให้ ขอให้ทุกท่าน เจริญก้าวหน้าในกิจการงาน คิดสิ่งใดสมปรารถนาทุกประการค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93732 โดย jackTs
.
ที่ผมไม่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง บสย.ไปด้วย...เพราะคุณไม่ได้บอกว่ามี บสย.เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ผมเคยตอบปัญหาหนี้ เรื่องที่มี บสย.เป็นผู้ค้ำประกันไปแล้วครับ...อยู่ในกระทู้นี้

ขอแนวทางในการจัดการปัญหาหนี้สิ​นด้วยนะค๊ะ (อยู่ในด้านล่างๆของกระทู้)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=5&id=40935&Itemid=64#49333




SMEs ที่มี บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน (โดย คุณอาไพโรจน์)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=6&id=43695&Itemid=64#76048

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93733 โดย Dinggo

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา - 7 ปี 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #93799 โดย Dinggo

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

7 ปี 6 วัน ที่ผ่านมา #93811 โดย Hippocrite

Dinggo เขียน: ความรู้เพิ่มเติมค่ะ อะไรคือคดีผู้บริโภค


ข้อมูล​จาก: www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=844:2009-12-14-04-04-37&catid=51:2008-12-16-09-22-16&Itemid=91

คู่มือฟ้องคดีผู้บริโภค
เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)

ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา

ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ให้ดียิ่งขึ้น

ผู้ยื่นฟ้อง สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชา ธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้

ที่สำคัญการที่ ผู้บริโภคไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้น ในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

คดีแบบไหนที่ศาลจะรับดำเนินคดีและพิจารณาคดีเป็นคดีผู้บริโภค

คดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
คดีแพ่ง ที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น
คดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค

ใครบ้างที่สามารถฟ้องร้องเป็นคดีผู้บริโภคได้

1. ผู้บริโภค *

หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือ การชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

หากยื่นฟ้องใน ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคที่ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ ไม่ปลอดภัยอาจต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเอง แต่หากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่ได้รับการรับรองฟ้องแทน จะได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร

2. ผู้ประกอบธุรกิจ*

หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย

การยื่นฟ้องต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม

3. ผู้เสียหาย**

หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน แต่ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น

การยื่นฟ้องไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่เรียกค่าเสียหายเกินควร

* นิยามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522

** นิยามตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551

ขั้นตอนการยื่นฟ้องต่อศาลคดีผู้บริโภค

1.ผู้บริโภคหรือผู้เสียหาย มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลแห่งอื่นได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภคได้เฉพาะเขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิ ลำเนาอยู่เท่านั้น
2. ให้ยื่นฟ้องต่อศาล ที่แผนกคดีผู้บริโภค ภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
3. หาก ความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง ถ้าเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง
4. ในการฟ้องคดีผู้บริโภค สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
5. การ ยื่นฟ้องด้วยวาจา เจ้าพนักงานคดีจะเป็นผู้บันทึกคำฟ้อง และให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ฟ้องจึงสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้
6.คำ ฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่ต้องมาฟ้องคดี รวมทั้งต้องมีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นชัดเจนพอที่จะ ให้เข้าใจได้
7.เมื่อ ศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ข้อดีของศาลคดีผู้บริโภค

- ศาลยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นศาลผู้บริโภค
- ระบบวิธีพิจารณาคดีเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค
- การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
- ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการ
- ภาระพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
- กระบวนวิธีพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น และคำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น
- ให้การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
- ศาลอาจจะใช้ผลการพิจารณาคดีเดิม เป็นฐานในการกรณีพิจารณาคดีที่ใกล้เคียงกันได้

ศาลคดีผู้บริโภคมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจทำอะไรได้บ้าง
- เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
- ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
- ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
- จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
- จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
ฯลฯ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.986 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena