ต้องการ สอบถามเรื่อง ค้ำประกัน มอเตอร์ไซค์คะ

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13965 โดย kamjung
รบกวนสอบถาม ผู้รู้คะ

พอดีว่า สมัยเมื่อ 7 ปีที่แล้วคะ เราได้ค้ำประกันเพื่อนเก่าสมัยที่ทำงานเก่า เป็นรถมอเตอร์ไซค์ นูโว

นานแล้ว เพื่อนผ่อนได้ 1 ปี ไม่ไหว เลยให้เค้ามายึดรถไป นานแล้ว แล้วก็ปล่อยเลยตามเลย จนเราย้ายที่ทำงานมานานแล้ว ไม่ได้ติดต่อเพื่อนคนนี้เลย

จนไม่กี่วันมี จดหมาย ทวงค่า ขาดผลประโยชน์คะ บอกว่า ให้เราติดต่อไปเป็นหนี้ 38000 คะ

เราโทรไปทวงเพื่อนแล้ว ติดต่อไม่ได้เลย จนโทรไปที่บ้านเค้าแม่เค้าก็บอกว่า เพื่อนเราหายออกจากบ้านไปนานแล้ว ไม่ติดต่อที่บ้านนานแล้ว เราถึงกับพูดไม่ออกเลยคะ ซวยจริงๆ

เพื่อนเราคงจะไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่งแน่ๆๆ เค้าเลยมาตามที่เรา เรามีงานทำตามได้ เพราะส่งจดหมายมาที่ทำงานเรา บอกว่าให้เราติดต่อ ภายใน 3 วัน

ถามว่า เราควรจะทำยังไงคะ
รอขึ้นศาล แล้วให้เค้าลดหนี้ได้ไหมคะ 38000 มันแพงไปไหมคะ
แล้วเราขอไปประหนีประนอมหนี้ที่ศาลได้ไหมคะ จ่ายเดือน 500 1000 ก็ว่าไป ได้ไหมคะ เพราะเราก็มีภาระต้องผ่อนเหมือนกันคะ ซวยจริงๆๆเลย หนี้ไม่ได้ก่อเหนียะ

แล้วถามด้วยว่า เราควรรอขึ้นศาล หรือ เจรจาหนี้กับเค้าเลย
แล้วถ้าขึ้นศาล ต้องจ่ายอะไรบ้าง เช่นค่าทนาย มันคุ้มไหมคะ

เอาไงดีคะ ช่วยแนะนำหน่อยคะ
ตอนนี้เค้ายังไม่โทรมา คิดว่าเค้าโทรมาแน่ เราจะรับมืออย่างไรดีคะ

กลุ้มใจมากคะ ภาระเราก็เยอะอยู่แล้ว
รบกวนหน่อยนะคะ
ขอบคุณคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13968 โดย jackTs

พอดีว่า สมัยเมื่อ 7 ปีที่แล้วคะ เราได้ค้ำประกันเพื่อนเก่าสมัยที่ทำงานเก่า เป็นรถมอเตอร์ไซค์ นูโว


หนี้"สัญญาเช่าซื้อ" ตั้ง 7 ปี...ขาดอายุความไปแล้วครับ

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13971 โดย kamjung
จริงไหมคะ

แต่เท่าที่ หาข้อมูลมา

คดี ขาดผลประโยชน์ อายุความ 10 ปี ไม่ใช่หรอคะ

คิดว่าเค้าคงไม่ฟ้องเรื่อง ค่าผ่อนหรอกนะคะ
น่าจะฟ้องค่า ขาดผลประโยชน์

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13972 โดย Ly89

kamjung เขียน: จริงไหมคะ

แต่เท่าที่ หาข้อมูลมา

คดี ขาดผลประโยชน์ อายุความ 10 ปี ไม่ใช่หรอคะ

คิดว่าเค้าคงไม่ฟ้องเรื่อง ค่าผ่อนหรอกนะคะ
น่าจะฟ้องค่า ขาดผลประโยชน์


คุณอ่านลิงค์หรือยังครับ....

ถ้าท่านประธานตอบให้ชัดแจ้งขนาดนี้แล้วคุณไม่เชื่อ...ก็คงไม่มีใครแนะนำได้แล้วครับ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13987 โดย kamjung
คืออ่านลิงค์ ที่คุณ นกกระจอกเทศ ส่งมาให้อ่านแล้วนะคะ

เราเข้าใจว่า ถ้าเช่าซื้อนะ 2 ปีหมดอายุความ

แต่เรื่่อง ขาดผลประโยชน์ คือเค้าเอารถไปประมูลแล้วขาดทุน เค้าเลยมาปรับกับเรา

คือเราไปหาข้อมูลมาบ้างนะคะ
แล้วไปเจอ ข้อมูลนี้

คำแนะนำทนายคลายทุกข์
- ต้องตรวจสอบสถานนะของรถที่จะคืนก่อนว่า มีสภาพเป็นอย่างไร ถ่ายภาพไว้
- ติดต่อบริษัทและเจรจาในส่วนของค่าเสียหายที่เราต้องรับผิดมีอะไร โดยต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
- หากมีการคืนรถจักรยานยนต์แล้ว และบริษัทนำรถออกขายทอดตลาด ได้เงินน้อยกว่าราคารถ บริษัท

สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ส่วนอายุความในการฟ้องร้องมีดังนี้

1. ผิดสัญญาเช่าซื้อ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(6)
2. ค่าขาดประโยชน์ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

จากเว็ป www.decha.com/main/showTopic.php?id=5070

ตอนแรกก็เข้าใจว่า 7 ปีแล้วจะมาฟ้องทำไม นึกว่าจบไปแล้ว
คือเราก็ไม่ได้เรียนด้านนี้มา ก็อาศัยหาข้อมูลในเนตนะคะ
บางคนก็แนะนำว่า มัน 10 ปีนะ แต่คุณ นกกระจอกเทศบอกว่า 2 ปี
คือสับสนเหมือนกัน

ถ้าคุณนกกระจอกเทศ บอกว่า อายุความ 2 ปี ก็ 2 ปีคะ

ขอบคุณนะคะ ที่ให้ข้อมูล

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13988 โดย kamjung
อ่อ เราอ่านไปเจอข้อมูล นี้แล้วนะคะ

อายคุ วามคดีเช่าซ้ือ
- คา่ เช่าซ้ือทค่ีา้งชา ระอายคุ วาม 2 ปี
- คา่ เสียหายจากการท่ีผเู้ช่าซ้ือใชท้ รพั ยส์ิน อายคุ วาม 6 เดือน
- คา่ ขาดราคาคา่ ขาดประโยชน์คา่ ตดิตาม เรียกใหส้ ่งคนื หรือใชร้าคาแทน อายุความ 10 ป

- ค่าเสียหายจากการทผ่ี้เูช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
ในความหมายน้ี...หมายถึง การทล่ีกู หน้ีไม่ยอมผอ่ นจ่ายคา่ งวดจนถงึข้นั ท่ีเจา้หน้ีบอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายดึทรัพยส์ินกลบัคนืไป
แตเ่ม่ือเจา้หน้ีไดท้รัพยส์ินกลบัคนื มาแลว้ กลบั พบวา่ ทรัพยส์ินน้นั ๆ มีความชา รุดเสียหาย และเม่ือนา เอาทรพั ยส์ินน้นัออกไปประมลูขายแลว้ ได้เป็นเงินกลับมา
นอ้ยกวา่ มลูคา่ ของทรพั ยส์ินท่ีพงึจะไดร้ับ(หรือเรียกวา่ขายแลว้ขาดทุน) เจา้หน้ีมีสิทธ์ิในการฟ้องลกู หน้ีใหช้ดใชค้า่ ส่วนตา่ งทข่ีาดทนุ ดงักล่าว โดยมีอายุความ
ในการฟ้ อง 6 เดือน โดยนบั ต้งัแตว่ นั ท่ียดึทรัพยส์ินกลบัคนื มา

ถ้าเราอ่านมานี้ คือ มีอายุความแค่ 6 เดือนใช่ไหมคะ
ขอบคุณคะ

เราอ่านไม่ดีเองคะ
ขอโทษนะคะ ที่รบกวน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13989 โดย Pych

kamjung เขียน: อ่อ เราอ่านไปเจอข้อมูล นี้แล้วนะคะ

อายคุ วามคดีเช่าซ้ือ
- คา่ เช่าซ้ือทค่ีา้งชา ระอายคุ วาม 2 ปี
- คา่ เสียหายจากการท่ีผเู้ช่าซ้ือใชท้ รพั ยส์ิน อายคุ วาม 6 เดือน
- คา่ ขาดราคาคา่ ขาดประโยชน์คา่ ตดิตาม เรียกใหส้ ่งคนื หรือใชร้าคาแทน อายุความ 10 ป

- ค่าเสียหายจากการทผ่ี้เูช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
ในความหมายน้ี...หมายถึง การทล่ีกู หน้ีไม่ยอมผอ่ นจ่ายคา่ งวดจนถงึข้นั ท่ีเจา้หน้ีบอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายดึทรัพยส์ินกลบัคนืไป
แตเ่ม่ือเจา้หน้ีไดท้รัพยส์ินกลบัคนื มาแลว้ กลบั พบวา่ ทรัพยส์ินน้นั ๆ มีความชา รุดเสียหาย และเม่ือนา เอาทรพั ยส์ินน้นัออกไปประมลูขายแลว้ ได้เป็นเงินกลับมา
นอ้ยกวา่ มลูคา่ ของทรพั ยส์ินท่ีพงึจะไดร้ับ(หรือเรียกวา่ขายแลว้ขาดทุน) เจา้หน้ีมีสิทธ์ิในการฟ้องลกู หน้ีใหช้ดใชค้า่ ส่วนตา่ งทข่ีาดทนุ ดงักล่าว โดยมีอายุความ
ในการฟ้ อง 6 เดือน โดยนบั ต้งัแตว่ นั ท่ียดึทรัพยส์ินกลบัคนื มา

ถ้าเราอ่านมานี้ คือ มีอายุความแค่ 6 เดือนใช่ไหมคะ
ขอบคุณคะ

เราอ่านไม่ดีเองคะ
ขอโทษนะคะ ที่รบกวน


ก่อนอื่นเลยนะครับ

คุณไม่คิดจะแก้ไขข้อความที่คุณไปคัดลอกมา

ให้มันอ่านได้ง่ายๆ หน่อยเหรอครับ

คุณจะมาขอความรู้ จะเอาข้อความมาอ้างอิง

ก็อย่ามักง่ายแบบนี้สิครับ

:เฮ้อ: :เฮ้อ:

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13990 โดย Pych
ผมขอยกระทู้เรื่องอายุความของสัญญาเช่าซื้อแบบละเอียดที่พี่นกกระจอกเทศเคยเขียนไว้มาให้อ่านละกันนะครับ

อายุความคดีเช่าซื้อ
- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี


อ่านแล้ว “งง” ไหมครับ?...งั้นผมขอแปลภาษากฏหมาย ให้เป็นภาษาชาวบ้านตามสไตล์ “ชาวยิ้มสู้หนี้” ให้ก็แล้วกัน

- ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความเอาไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์สิน) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี…กล่าวคือ ศาลฎีฏาท่านมองว่า เงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าซื้อ” ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากเงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์” แบบธรรมดาทั่วไป...หากลูกหนี้ มีหนี้ค้างค่าเช่าสังหาริมทรัพย์กับเจ้าหนี้(ซึ่งมีอายุความ 2 ปี) ก็ให้นำเอา“อายุความ”เดียวกันนั้น มาใช้กับ “การทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย” เช่นกัน
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่(หรือเรียกว่า ค่าส่งงวดในอดีตที่มันผ่านมาแล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่าย) เท่านั้น

- ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
ในความหมายนี้...หมายถึง การที่ลูกหนี้ไม่ยอมผ่อนจ่ายค่างวด จนถึงขั้นที่เจ้าหนี้บอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายึดทรัพย์สินกลับคืนไป
แต่เมื่อเจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมาแล้ว กลับพบว่าทรัพย์สินนั้นๆ มีความชำรุดเสียหาย และเมื่อนำเอาทรัพย์สินนั้นออกไปประมูลขายแล้ว ได้เป็นเงินกลับมาน้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่พึงจะได้รับ(หรือเรียกว่าขายแล้วขาดทุน) เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการฟ้องลูกหนี้ ให้ชดใช้ค่าส่วนต่างที่ขาดทุนดังกล่าว โดยมีอายุความในการฟ้อง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ยึดทรัพย์สินกลับคืนมา
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ส่วนต่างที่ขาดทุน จากการขายของที่ยึดกลับมาได้ เท่านั้น


- ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน
ในความหมายนี้...หมายถึง ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่ม หรือเจ้าหนี้อดได้ใช้ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินของตัวเจ้าหนี้เอง หลังจากบอกยกเลิกสัญญาแล้วเช่น

*** ค่าติดตามทวงถามในการทวงทรัพย์สินของเจ้าหนี้คืน หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้
*** ค่าจ้างนักสืบ ในการสืบหาทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว
*** ลูกหนี้ได้หลบหนีไปพร้อมกับทรัพย์สินนั้นๆ(ไม่ยอมคืนของให้) ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เพราะยึดทรัพย์คืนไม่ได้ (เรียกได้ว่า อดได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น...เอาไว้ใช้เอง , ให้คนอื่นเอาไปใช้แล้วเก็บค่าเช่า , หรือเอาทรัพย์นั้นไปขาย) ภาษากฏหมายเรียกว่า “ค่าขาดราคา” , “ค่าขาดผลประโยชน์”
เหล่านี้ทั้งหมด มีอายุความ 10 ปี
กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ , ค่าความขาดทุน , ค่าความเสียหาย จากการที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เท่านั้น


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
- หากลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะติดตามทวงเอาของคืนในฐานะเจ้าของทรัพย์กรรมสิทธิ์ได้ตลอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ
- - ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ลูกหนี้ต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ เพราะถือว่าเป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญา กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
- ถ้าลูกหนี้นำทรัพย์สินไปจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ยอมชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญา และลูกหนี้มีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ด้วย เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ยังเป็นของเจ้าหนี้อยู่

จากที่ผม (พี่นกกระจอกเทศ) เคยบอกเอาไว้ว่า “สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 3 ปี” ...มันเป็นความรู้ที่ผมเคยได้รับมาจากผู้รู้กฏหมายท่านหนึ่งเท่านั้น (มิใช่เป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาแต่อย่างใด)
ดังนั้น...แต่ถ้าจะอ้างตามข้อกฏหมายที่ถูกต้องแล้ว ขอให้อ้างอิงจากคำพิพากษาของศาลฎีกา ตามที่ผมอธิบายไว้ด้านบนจึงจะชัดเจนและถูกต้องกว่านะครับ

จึงขออนุญาตแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวกับ “อายุความของสัญญาเช่าซื้อ” ว่ามีอายุความดังนี้
- 6 เดือน
- 2 ปี
- 10 ปี
แล้วแต่มูลเหตุ และประเภทของหนี้ที่ถูกตั้งเรื่องฟ้อง ตามรายละเอียดที่ผมได้อธิบายไว้แล้วในด้านบน


ดังนั้น...หากใครเป็นลูกหนี้ที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ใดๆก็ตาม
ถ้ารู้ตัวเองว่าจ่ายไม่ไหวแล้ว ก็หยุดจ่ายซะเถอะครับ พร้อมกับบอกยกเลิกสัญญากับเจ้าหนี้ซะ...แล้วก็คืนทรัพย์นั้นๆให้กับเขาไป (อย่าไปทำการ ขาย , ถ่ายเท , โยกย้าย , โอน , หลบหนี...ทรัพย์ของเจ้าหนี้ เป็นอันขาด)
เท่านี้...ประเด็นอายุความ ในการฟ้องร้องลูกหนี้ ก็จะเหลือเพียงแค่ 6 เดือน และ 2 ปี เท่านั้น
สามารถตัดประเด็นในเรื่อง อายุความ 10 ปี พร้อมกับคดีอาญา ออกไปได้เลยครับ...ฟันธง!

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, Mommyangel, jackTs

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13991 โดย Pych

ละเอียดชัดเจนและอ่านง่ายตามสไตล์

พี่นกกระจอกเทศ ขนาดนี้แล้ว

หวังว่าคุณคงเข้าใจแล้วนะครับ



"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13996 โดย kamjung
ขอบคุณ คุณ Anakin กับคุณนกกนะจอกเทศมากนะคะ

แล้วทำไมบริษัทรถมันถึงเพิ่งมาฟ้องอะไรป่านนี้คะ หรือเค้าหวังฟลุ๊คคะ
เราเห็นจดหมาย ยอมรับเลยว่าตกใจมาก รีบหาข้อมูลใหญเลย เพื่อจะได้ทันเกมส์เค้า

อย่างนี้ถ้ามีหมายศาลมา ก็ให้เราไปขึ้นศาล แล้วยกข้อ คดีความหมดแล้ว สู้ได้ใช่ไหมคะ
ห้าม เบี้ยวศาล อย่างนี้ใช่ไหมคะ
แล้วหมายศาลนี้ เห็นอ่านมาบ้าง มีแบบเค้าจะไม่หมายศาลมาที่บ้านด้วยหรอคะ



ยังไงก็กราบขอโทษคะ ที่มักง่าย ก๊อบคนอื่นมาแล้วอ่านยาก
ขอบคุณนะคะ ที่คุณแก้ไขให้อ่านเข้าใจง่ายแล้วคะ

ขออภัยคะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ที่ช่วยเหลือกันคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา - 11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #13999 โดย jackTs

kamjung เขียน: อย่างนี้ถ้ามีหมายศาลมา ก็ให้เราไปขึ้นศาล แล้วยกข้อ คดีความหมดแล้ว สู้ได้ใช่ไหมคะ

ใช่แล้วครับ...ไม่ได้อ่านที่ผมเขียนเอาไว้หรือครับ?

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ที่สำคัญที่สุด...ถ้าคุณถูกฟ้องแล้ว และคุณมั่นใจว่าคดีนี้ขาดอายุความแน่ๆ...แต่คุณไม่ยอมไปศาลเพื่อต่อสู้คดีว่า คำฟ้องขาดอายุความตามกฏหมาย คุณจะถูกพิพากษาให้มีความผิด และต้องชดใช้หนี้ตามมูลฟ้องทันที ถึงแม้ว่าคดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม (การที่คุณไม่ยอมขึ้นไปศาล ท่านจะพิจารณาว่า คุณหนีศาล...ดังนั้นศาลท่านจะไม่ช่วยเหลือคุณใดๆทั้งสิ้น)

สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ภายในกำหนดเวลาตามที่กฏหมายระบุไว้ นับตั้งแต่ลูกหนี้ “ผิดนัดชำระหนี้” กับเจ้าหนี้เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องร้องภายในระยะเวลาตามที่กฏหมายกำหนด คดีก็เป็นอันขาดอายุความหรือหมดสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ก็พ้นความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถึงแม้เจ้าหนี้จะดันทุรังฟ้องร้องลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ว่าคดีหมดอายุความแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องให้อยู่ดี

ที่สำคัญอย่าลืมว่า ถึงแม้คดีจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม แต่ถ้าเจ้าหนี้มันดันยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การ ในการต่อสู้คดี…ลูกหนี้จะเป็นผู้ “แพ้คดี” ทันที...ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่า คดีของโจทก์ “ได้ขาดอายุความไปแล้ว” มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความ ขึ้นมาเป็นเหตุให้ยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 )

มีตัวอย่างมากมาย ที่แม้เจ้าหนี้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความไปแล้ว แต่เจ้าหนี้ก็ยังเสือกให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้อีก โดยหวังว่าถ้าฟลุ๊คๆขึ้นมา ไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดี เพราะรับรู้ว่าตนเองเป็นหนี้เขาจริงๆ แต่หารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความแต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตามพยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป และลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป

สรุปให้ชัดๆก็คือ

ลูกหนี้ส่วนมากจะเข้าใจว่า เมื่อขาดอายุความแล้วเจ้าหนี้ฟ้องไม่ได้ก็จบกันแค่นั้น หรือถ้าฟ้อง ศาลก็คงจะไม่รับคำฟ้องเพราะขาดอายุความ แต่ความจริงกลับไม่เป็นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะถึงจะขาดอายุความไปแล้ว แต่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็สามารถยื่นฟ้องได้ โดยศาลก็จะดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมายตามขั้นตอนต่างๆต่อไป

การที่จะให้ศาลหยิบยกเอาเรื่อง การขาดอายุความขึ้นมาพิจารณานั้น ลูกหนี้จะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีในเรื่องของการขาดอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล ซึ่งศาลก็จะนำมาพิจารณาตรวจสอบดูข้อเท็จจริง และถ้าหากเป็นจริงตามที่ลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้มา ทางศาลก็จะทำการ"ยกฟ้อง"ต่อเจ้าหนี้ต่อไป

ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีกฎหมายรองรับอยู่ตามมาตรา 193/29 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้



kamjung เขียน: ห้าม เบี้ยวศาล อย่างนี้ใช่ไหมคะ

อย่าใช้คำว่า"เบี้ยวศาล"เลยครับ ฟังดูแล้วมันจั๊กกะจี้พึลึก เรียกว่า"อย่าหนีศาล"จะดีกว่า

www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&Itemid=0&func=view&id=16161&view=flat&catid=2

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=6915&Itemid=29

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=5&id=13769&Itemid=29

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=9240&Itemid=29


kamjung เขียน: แล้วหมายศาลนี้ เห็นอ่านมาบ้าง มีแบบเค้าจะไม่หมายศาลมาที่บ้านด้วยหรอคะ

ป.วิผู้บริโภค มาตรา 17 เขียนกำหนดเอาไว้แล้วครับ

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=6974&Itemid=29


kamjung เขียน: ยังไงก็กราบขอโทษคะ ที่มักง่าย ก๊อบคนอื่นมาแล้วอ่านยาก

ถ้าอยากอ่านแบบเข้าใจง่าย ก็เข้าไปอ่านในกระทู้นี้อีกครั้งนะครับ ข้อมูลอยู่ในกระทู้อันล่างสุด เลย

www.consumerthai.org/debtclub/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Pych

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #14000 โดย Pych

kamjung เขียน:
ขอบคุณนะคะ ที่คุณแก้ไขให้อ่านเข้าใจง่ายแล้วคะ


ผมขออกตัวไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าผมไม่ได้แก้ไขข้อความใดๆ ให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นครับ

ผมแค่ copy กระทู้ที่พี่นกกระจอกเทศเคยโพสต์ไว้ ในเว็บบอร์ดเก่า ก่อนจะล่มไปช่วงน้ำท่วม

ผมแค่เอามาเน้นตัวอักษร ใส่สีตัวอีกษร โดยพยายามเน้นในจุดที่พี่นกเคยเน้นย้ำไว้ครับ

ส่วนคำถามต่างๆ ที่คุณถาม พี่นกก็ยังใจดีกลับมาตอบให้อีกครั้ง

อย่าเพิ่งตกใจ กลัวจนลนลานครับ อ่านกระทู้ต่างๆ ในห้องรู้ทันกฎหมายอย่างมีสติ

คุณอาจจะไม่โดนฟ้องเลยก็ได้ครับ แต่สนง.ทวงหนี้ก็มีสิทธิ์ทวงคุณไปตลอดนะครับ

ไม่มีหมดอายุความ เหมือนอย่างที่พี่นกเขียนไว้

แต่ถ้าโดนฟ้อง ผมว่าดีกว่าเยอะครับ จะได้เห็นดำเห็นแดงกันไปเลย

เมื่อโดนฟ้อง ค่อยเอาหมายศาลไปหาคุณอา (ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของชมรมฯ)

ซึ่งท่านจะให้คำปรึกษาแก่สมาชิกที่สวนลุม ทุกวันอาทิตย์ช่วงบ่าย (กระทู้ปักหมุดด้านบนครับ)

ถ้าเป็นผม ผมจะอ้อนวอน ขอร้อง กราบกราน ให้เขาช่วยฟ้องผมเร็วๆ

อย่ามานั่งโทรทวงให้หงุดหงิดรำคาญใจกันไปเปล่าๆ อีกเลย

ปล. น่าเสียดาย ที่เดี๋ยวนี้พี่นกไม่รับเขียนคำให้การให้ใครแล้วครับ[/color]

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #14007 โดย kamjung
คะอ่านแล้วนะคะ คุณนกกระจอกเทศ / คุณAnakin

ก็หวังว่าเค้าจะฟ้องนะคะ เพราะจะได้จบๆๆไป เพราะมันขาดอายุความไปแล้ว

ข้อ หมายศาลจะส่งมาไม่ได้นั้น ยกไปเพราะเรามีที่อยู่ในทะเบียนบ้านชัดเจน
แต่เรา เพิ่งย้ายทะเบียนบ้าน จนท.คงไปสืบหาข้อมูลทะเบียนบ้านปัจจุบันใช่ไหมคะ
น่าจะไม่น่ามีปัญหาอะไร

แต่รบกวนถามนิดนึงนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ

คือเราเป็นคนค้ำ ใช้สิทธิ์ อายุความเดียวกันกับ ผู้กู้ได้เลยไหมคะ

คงไม่ใช่ เค้าฟ้อง ลูกหนี้จริงก่อน ฟ้องไม่ได้เลยมาฟ้องกับคนค้ำ อายุความก็เลยต้องเลื่อนไป
อันนี้ คำถามโง่ๆๆนะคะ แต่กังวัลจริงคะ^^

ยังไง ตอบข้อนี้ให้สบายหน่อยได้ไหมคะ จะได้รอหมายศาลอย่างยิ้มๆๆนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
ที่คุณเสียเวลามาตอบคะ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา - 10 ปี 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา #14017 โดย jackTs

kamjung เขียน: คะอ่านแล้วนะคะ คุณนกกระจอกเทศ / คุณAnakin

ก็หวังว่าเค้าจะฟ้องนะคะ เพราะจะได้จบๆๆไป เพราะมันขาดอายุความไปแล้ว

ข้อ หมายศาลจะส่งมาไม่ได้นั้น ยกไปเพราะเรามีที่อยู่ในทะเบียนบ้านชัดเจน
แต่เรา เพิ่งย้ายทะเบียนบ้าน จนท.คงไปสืบหาข้อมูลทะเบียนบ้านปัจจุบันใช่ไหมคะ
น่าจะไม่น่ามีปัญหาอะไร

แต่รบกวนถามนิดนึงนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ

คือเราเป็นคนค้ำ ใช้สิทธิ์ อายุความเดียวกันกับ ผู้กู้ได้เลยไหมคะ

คงไม่ใช่ เค้าฟ้อง ลูกหนี้จริงก่อน ฟ้องไม่ได้เลยมาฟ้องกับคนค้ำ อายุความก็เลยต้องเลื่อนไป
อันนี้ คำถามโง่ๆๆนะคะ แต่กังวัลจริงคะ^^

ยังไง ตอบข้อนี้ให้สบายหน่อยได้ไหมคะ จะได้รอหมายศาลอย่างยิ้มๆๆนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
ที่คุณเสียเวลามาตอบคะ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งคะ


การฟ้องร้องหนี้ในคดีแพ่ง

โจทก์(เจ้าหนี้)จะเป็นผู้ฟ้องให้จำเลยที่เกี่ยวข้องในหนี้ดังกล่าว ให้เป็นจำเลยร่วมกันทั้งหมด ในคดีเดียวกัน โดยฟ้องพร้อมกัน


ยกตัวอย่างเช่นในคดีของคุณ หากมีการฟ้องร้องจากทางโจทก์ โจทก์จะต้องฟ้องทั้งผู้ที่ทำสัญญาเช่าซื้อ และผู้ค้ำประกัน ให้เป็นจำเลยด้วยกันทั้งคู่
โดยจะฟ้องผู้ที่ทำสัญญาเช่าซื้อเป็นจำเลยที่1 และฟ้องผู้ที่เป็นบุคคลค้ำประกันให้เป็นจำเลยที่2

หากจำเลยต้องการจะสู้คดี ก็สามารถที่จะเลือกสู้คดีได้ตามนี้

แบบที่1. ฝ่ายจำเลย จะเขียนคำให้การสู้คดีแบบร่วมกันสู้ (เขียนสู้รวมกันทั้ง2คน ทั้งจำเลยที่1 และจำเลยที่2 รวมอยู่ในสำนวนฉบับเดียวกัน)...ก็ได้

แบบที่2. หรือจะเขียนแบบแยกกันสู้ (เขียนคำให้การเป็นของใครของมัน ต่างคนต่างสู้เพื่อตัวเองเพียงคนเดียว)...ก็ได้

ถ้าตัวคุณเอง สู้แบบตัวใครตัวมัน ตามแนวทางในแบบที่ 2. นี้ โดยจำเลยที่1(ผู้ทำสัญญาเช่าซื้อ)ไม่ได้ยื่นคำให้การสู้คดีด้วย
ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องให้เฉพาะกับจำเลยที่2เท่านั้น...ส่วนจำเลยที่1 อาจถูกศาลพิพากษาให้ต้องชดใช้หนี้ทั้งหมด ตามคำฟ้องของโจทก์เพียงแต่ผู้เดียว(ในฐานะที่ไม่ยื่นสู้คดี) ถึงแม้ว่าคดีนี้จะ"ขาดอายุความ"ไปแล้วก็ตาม


แล้วการสู้คดีในแบบที่1. และแบบที่2. มันแตกต่างกันตรงไหนล่ะ?
มันแตกต่างกันตรงที่


แบบที่1.
มุมมองในด้านดีคือ
- จำเลยทั้งสอง ยังคงมีความรักความผูกพันกันอยู่ จึงมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีร่วมกัน
- ถ้าชนะคดีก็ชนะคดีด้วยกันทั้งคู่ แต่ถ้าแพ้คดี ก็อาจแพ้คดีด้วยกันทั้งคู่เช่นกัน (เรียกได้ว่า ยอมร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมพินาศ)

มุมมองในด้านเสียคือ
- จำเลยทั้งสองจะต้องพร้อมใจไปขึ้นศาลด้วยกันทุกครั้ง ในการสืบพยานบนชั้นศาล จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ เพราะอาจส่งผลต่อการ แพ้-ชนะ ของคดีได้
- มีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายและค่าสู้คดีสูง เนื่องจากเป็นการทำคดีสู้ความให้กับบุคคลที่เป็นจำเลยถึง 2 คน
- การต่อสู้คดีอาจใช้เวลายาวนานมาก เพราะต้องสืบพยานจำเลยทั้งสองคน และพยานเอกสารหรือพยานอื่นๆอีกหลายปาก ทำให้ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างที่สู้คดีอันยาวนานเช่นนี้



แบบที่2.
มุมมองในด้านดีคือ
- หากจำเลยทั้งสองไม่ลงรอยต่อกันในปัจจุบัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากหนี้ในคดีนี้ เช่น ในอดีตจำเลยที่1และจำเลยที่2 เคยเป็นเพื่อนกัน ซึ่งในครั้งนั้น จำเลยที่1อยากจะซื้อรถยนต์เป็นตนเอง จึงไปขอร้องให้เพื่อน(จำเลยที่2)ช่วยเป็นบุคคลค้ำประกันให้
ต่อมาจำเลยที่1ไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าว จนกระทั่งรถยนต์ถูกยึดกลับคืนไป และถูกฟ้องศาลเรื่องหนี้ส่วนต่างที่ฝ่ายเจ้าหนี้ขาดทุน(โดยฟ้องจำเลยที่สองคน) จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนนี้ไปด้วย จึงไม่อยากสู้คดีร่วมด้วยกับจำเลยที่1
- ผลของการ แพ้-ชนะ คดี จะถูกตัดสินแยกเป็นรายบุคคลไปอย่างชัดเจน หากมีคำพิพากษาให้มีการชำระหนี้ตามกฏหมาย และตามหลักฐานที่นำมาสู้คดี
- ค่าสู้คดีต่อคนถูกกว่า(เพราะต่างคนต่างจ้างทนายของฝ่ายตัวเอง เพื่อคดีของตนเองเท่านั้น)

มุมมองในด้านเสียคือ
- ถึงแม้นว่าศาลจะพิจารณาเห็นแล้วว่า คดีดังกล่าวควรจะยกฟ้องตามกฏหมาย แต่หากจำเลยที่1ในคดีนี้ ไม่ยอมยื่นคำให้การสู้คดีตามข้อกฏหมายที่กำหนด ศาลก็จำเป็นต้องพิพากษาให้จำเลยที่1 ต้องจ่ายชำระหนี้ไปตามที่โจทก์ฟ้องมา ในขณะเดียวกันกับที่ศาลกลับพิพากษา"ยกฟ้อง"ให้กับจำเลยที่2เพียงแต่ผู้เดียว เนื่องจากคดีได้ขาดอายุความตามที่จำเลยที่2แย้งสู้มา

.

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

11 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #14018 โดย kamjung
โอเค อ่านเข้าใจแล้วนะคะ

ขอบคุณคุณ นกกระจอกเทศมากนะคะ

ถ้าฟ้องมาจริงๆ เราคงต้องไปศาลคนเดียวคะ
จำเลยที่ 1 ติดต่อไม่ได้เลย ก็สุดแล้วแต่ กรรมเค้าแล้วกัน

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.748 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena