คิดอย่างไรกับบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาแก้ไขปัญหาทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาด..

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5646 โดย kite911
*** ปัญหาตอนนี้ ถือว่าหนักเอาการครับ คือ บ้านกำลังถูกขายทอดตลาด ราคาประมาณ สามล้านกว่าๆ***

หลังจากได้รับจดหมายจากกรมบังคับคดีว่า บ้านจะุถูกขายทอดตลาด พร้อมทั้งจดหมายจากบริษัทที่จะอาสาเข้ามาแก้ไขทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาด ด้วยเนื้อความดังข้างล่างนี้

เรื่อง การแก้ไขปัญหาทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาด
เรียน ท่านเจ้าของทรัพย์
ด้วยทางสำนักงานทราบว่าขณะนี้บ้านและที่ดินของท่าน กำลังจะถูกประกาศขายทอดตลาดในวันที่ xxxx และกำหนดขายทอดรวมกัน 4 นัด ทางสำนักงานจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ

1. ให้การขายทอดตลาดทั้ง 4 นัด ถูกระงับหรือหยุดการขายไว้ชั่วคราว(แต่ต้องดำเนินการก่อนวันขายนัดแรกไม่น้อยกว่า 15 วัน)
2. เข้าเจรจาหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินและเจ้าหนี้ เพื่อขอลดยอดหนี้และให้ธนาคารงดการขายทอดตลาดไว้เป็นการชั่วคราว
3. นอกจากการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นแล้้ว ทางสำนักงานจะจัดสถาบันการเงินใหม่เพื่อขอสินเชื่อให้กับบ้านและที่ดินที่กำลังถูกขายทอดตลาด
ดังนั้น หากท่านต้องการให้ทางเราช่วยแก้ไขปัญหา หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการขายทอดตลาด ขอให้ติดต่อกลับโดยด่วน ตามที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ข้างล่างนี้ สามารถติดต่อได้ทุกวัน โดยทางสำนักงานไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สำหรับคำแนะนำเบื้องต้น

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่เกิน 15,000 บาท และรับรองผล 100%

คือสงสัยนะครับ ว่าบริษัทเหล่านี้ มันจะเข้ามาแก้ไข หรือ ช่วยได้จริงไหมครับ?

เคสนี้ มีวิธีรับมือยังไงบ้างครับ?

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5651 โดย Champcyber99
เรื่องนี้มีมานานมากแล้วเป็นบริษัทที่ผมเรียกว่าบริษัทกินเปล่าวจัดการเรื่องของการขายของกรมเป็นบริษัทแอบมาหากินกับคนที่คิดว่าทำได้จริง ในความเป็นจริงแล้วทำไม่ได้มีคนสูนเงินมาแล้วนับไม่ท้วน
ขอโทษนะครับที่นี้ชมรมหนี้บัตรมาผิดบ้านหรือเปล่า :-(

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5774 โดย kite911
หนี้บัตรเครดิต ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมาครับ..

ทำไม ready เจ้าหน้าที่มันหยิ่งจังครับ ลดก้อไม่ลด จะโทรคุยเรื่องหนี้ ให้ไปคุยกับ สำนักงานกฎหมายทุกที

เป็นไปได้หรือครับ ไอ้ที่ สำนักงานกฎหมายมันอ้าง ต้องไปขอร้อง ต่อรองเรื่องเงินในการขอส่วนลดแล้วต้องขอเอกสารยืนยันจากลูกหนี้ หรือว่าเห็นเราเข้าตาจนจริงๆ :wake: พูดซะว่า ตัวเองนั้นแน่ ขอต่อรองได้.



กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5775 โดย Pych
คงเป็นเพราะ ธนาคารส่งเรื่องไปให้สนง.กฎหมายดูแลแล้วน่ะครับ
คุณคงต้องไปเจรจาต่อรองกับสนง.กฎหมายเรื่องส่วนลด Haircut ดู แต่คุณมีเงินก้อนสักกี่เปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้ครับ

มีคำพิพากษาไหมครับ เอามูลหนี้ที่ศาลสั่ง รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนาย และวันที่เริ่มให้คิดดอกเบี้ยมาลองดูหน่อยสิครับ แล้วตอนนี้สนง. กฎหมายหรือกรมบังคับคดีแจ้งยอดค้างอยู่ที่เท่าไรแล้วครับ

คุณในฐานะของลูกหนี้ มีสิทธิ์ร้องคัดค้านได้ด้วยตัวเอง 1 ครั้ง โดยไม่ต้องไปจ้างบริษัทใดๆ (รวมทั้งพวก 18 มงกุฏ) ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา ๓๐๙

มาตรา ๓๐๙ ทวิ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีสวนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่คัดค้านหรือไม่ก็ตาม หาผู้ซื้อที่จะเสนอซื้อในราคาที่บุคคลดังกล่าวต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป โดยให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคาดังกล่าวเป็นระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่เสนอราคานั้น และในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่สูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน หรือไม่มีผู้ใดเสนอราคาเลย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน แต่หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไปในจำนวนสูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น

ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ได้ และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องรับฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องหรือแก้ไขหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควรให้เสร็จภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องนั้น

ให้นำบทบัญญัติในวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหกของมาตรา ๒๙๖ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามวรรคสองโดยอนุโลม

คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด


"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5776 โดย Pych
ส่วนการขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินเมื่อเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่ำเกินควร และการขายทอดตลาดในราคาต่ำนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
กรณีนี้ศาลก็จะมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องที่ลูกหนี้ได้คัดค้าน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 309 วรรคสอง ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ หรือคำคัดค้านของลูกหนี้ที่ขอให้ขายแบบรวมหรือแยก หรือขายตามลำดับนี้ ต้องยื่นคำร้องคัดค้านภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิเสธคำร้องขอ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนี้ คำสั่งของศาลเป็นที่สุด
กรณีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ตาม ป.วิ.แพ่ง
มาตรา 296 วรรคสอง ที่ลูกหนี้เห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดต่ำเกินสมควร และการขายต่ำเกินสมควรนั้น เกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลของผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือความไม่สุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยการยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อศาลอนุญาตตามคำร้องขอ หรือแก้ไข หรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร ให้เสร็จภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องนั้น คำสั่งอนุญาตดังกล่าวเป็นที่สุด


"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5779 โดย kite911
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล

มีคำถามครับ.
1. การถอนอายัด จากกรมบังคับคดี สามารถทำได้ตลอดการขายทอดตลาดเลยหรือเปล่าครับ ? ถ้าเราเคลียร์กับเจ้าหนี้ได้?
2. การขายทอดตลาด จะได้ราคาต่ำอยู่แล้ว แล้วยังจะต้องจ่ายให้กับเจ้าแบงค์ก่อนอีก ถ้าไม่พอก้อต้องไปหาเพิ่ม ส่วนเจ้าหนี้บัตรเครดิต อีกนานกว่าจะได้ ทำไมจึงอยากจะให้ขายทอดตลาดจังครับ.
3. เรื่องล้มละลายนี้ ยังอีกนานไหมครับ? คิดแล้วหวั่นๆ :cry2:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5782 โดย Pych

kite911 เขียน: ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล

มีคำถามครับ.
1. การถอนอายัด จากกรมบังคับคดี สามารถทำได้ตลอดการขายทอดตลาดเลยหรือเปล่าครับ ? ถ้าเราเคลียร์กับเจ้าหนี้ได้?


การถอนการยึดต้องกระทำก่อนวันเอาทรัพย์ขายทอดตลาดครั้งต่อไป

kite911 เขียน: 2. การขายทอดตลาด จะได้ราคาต่ำอยู่แล้ว แล้วยังจะต้องจ่ายให้กับเจ้าแบงค์ก่อนอีก ถ้าไม่พอก้อต้องไปหาเพิ่ม ส่วนเจ้าหนี้บัตรเครดิต อีกนานกว่าจะได้ ทำไมจึงอยากจะให้ขายทอดตลาดจังครับ.


บางทีก็ตอบยากครับ อาจจะเพื่อความสะใจ หรือทำไปตามระบบ ดีกว่าปล่อยให้ลูกหนี้ผ่อนบ้าน มีบ้านอยู่ ทั้งๆ ที่มีหนี้ แต่ไม่ยอมใช้ หรือลองดู อาจมีการประมูลขายทอดตลาดแล้วได้ราคาสูงพอจะมีเงินเหลือมาจ่ายหนี้บัตรก็ได้ครับ

kite911 เขียน: 3. เรื่องล้มละลายนี้ ยังอีกนานไหมครับ? คิดแล้วหวั่นๆ :cry2:


หนี้บัตรฯ ของคุณมากกว่า 1 ล้านบาทเหรอครับ

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5783 โดย kite911

kite911 เขียน: 3. เรื่องล้มละลายนี้ ยังอีกนานไหมครับ? คิดแล้วหวั่นๆ :cry2:


หนี้บัตรฯ ของคุณมากกว่า 1 ล้านบาทเหรอครับ[/quote]

ณ. ตอนนี้ต้น+ ดอกเบี้ย น่าจะเิกินครับ
ถูกอายัดเงินเดือน อีก 30% อะไรจะกดดันขนาดนั้น :cry2:

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5784 โดย Pych

kite911 เขียน:

kite911 เขียน: 3. เรื่องล้มละลายนี้ ยังอีกนานไหมครับ? คิดแล้วหวั่นๆ :cry2:


หนี้บัตรฯ ของคุณมากกว่า 1 ล้านบาทเหรอครับ

ณ. ตอนนี้ต้น+ ดอกเบี้ย น่าจะเิกินครับ
ถูกอายัดเงินเดือน อีก 30% อะไรจะกดดันขนาดนั้น :cry2:


1 ล้านบาทดูที่ยอดตอนฟ้องครับ ไม่ใช่รวมดอกเบี้ยหลังตัดสินไปแล้ว

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5786 โดย kite911
ถามขั้นตอนการประมูล ขายทอดตลาดหน่อยครับ

สมมุติเอกสาร ที่กรมบังคับคดีส่งมาให้ นะครับ

ถ้าราคาเริ่มต้น 3.5 ล้านบาท
ราคาประเมินของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา 2.45 ล้านบาท
ราคาประเมินของเจ้าทรัพย์ 3.5 ล้านบาท
ราคาที่จะทะเบียนจำนำ จดทะเบียนจำนอง จำนวน 3 ล้านบาท

ประมูล 4 งวดขั้นตอนเริ่มแรกจะเป็นอย่างไรบ้างครับ?

รอบแรกนี้ ราคา 3.5 ล้านบาท เลยหรือเปล่า แล้วรอบต่อไปละครับ? มันลดกี่เปอร์เซ็นต์

ถ้าวันนั้นผมเข้าไปร่วมฟัง ไปแต่ตัว สามารถคัดค้านได้ตลอดเวลาใช่หรือเปล่าครับ? ถ้าราคาต่ำมากๆ
หรือว่าต้องมีเงินไปด้วย เพื่อเข้าการสู้ราคา เห็นในเอกสารเขียนว่า ผู้เข้าสู้ราคา ต้องวางหลักประกัน สองแสนบาท

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #5801 โดย Pych

kite911 เขียน: ถามขั้นตอนการประมูล ขายทอดตลาดหน่อยครับ

สมมุติเอกสาร ที่กรมบังคับคดีส่งมาให้ นะครับ

ถ้าราคาเริ่มต้น 3.5 ล้านบาท
ราคาประเมินของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา 2.45 ล้านบาท
ราคาประเมินของเจ้าทรัพย์ 3.5 ล้านบาท
ราคาที่จะทะเบียนจำนำ จดทะเบียนจำนอง จำนวน 3 ล้านบาท

ประมูล 4 งวดขั้นตอนเริ่มแรกจะเป็นอย่างไรบ้างครับ?

รอบแรกนี้ ราคา 3.5 ล้านบาท เลยหรือเปล่า แล้วรอบต่อไปละครับ? มันลดกี่เปอร์เซ็นต์

ถ้าวันนั้นผมเข้าไปร่วมฟัง ไปแต่ตัว สามารถคัดค้านได้ตลอดเวลาใช่หรือเปล่าครับ? ถ้าราคาต่ำมากๆ
หรือว่าต้องมีเงินไปด้วย เพื่อเข้าการสู้ราคา เห็นในเอกสารเขียนว่า ผู้เข้าสู้ราคา ต้องวางหลักประกัน สองแสนบาท


ราคาประเมินเป็นราคาที่เจ้าพนักงานแจ้งราคาประเมินขณะยึดหรือราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาสำนักงานวางทรัพย์กลาง (ถ้ามี) แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน ลงในประกาศขาย ทอดตลาดเพื่อให้คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนผู้สนใจได้ทราบ ทั้งนี้ไม่กระทบถึงประกาศขายทอด ตลาดที่ได้ประกาศไปแล้วก่อนที่อธิบดีจะให้ความเห็นชอบ

ครั้งแรกร้อยละ 80 ของราคาประเมิน (ครั้งแรกอาจไม่มีใครประมูล เพราะไปรอครั้งที่สองดีกว่า)
ครั้งที่สองร้อยละ 50 ของราคาประเมิน แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดในครั้งก่อน

ในกรณีที่คุณเห็นว่าราคาที่กำลังจะเคาะไม้ขายเป็นราคาที่ต่ำเกินไป ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอย่างคุณต้องคัดค้านก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด

คุณไปในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่ผู้เข้าสู้ราคา ก็ไม่ต้องวางหลักประกัน

"Credit card is the path to the dark side. Credit card leads to eager. Eager leads to avarice. Avarice leads to debt. Debt leads to suffering and dark side."
Anakin.Debt
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Nok2865

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

12 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา - 6 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #5830 โดย jackTs

คิดอย่างไรกับบริษัทที่เสนอตัวเข้ามาแก้ไขปัญหาทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาด..
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่เกิน 15,000 บาท และรับรองผล 100%

คือสงสัยนะครับ ว่าบริษัทเหล่านี้ มันจะเข้ามาแก้ไข หรือ ช่วยได้จริงไหมครับ?

ขอตอบว่า บริษัทพวกนี้ ก็คือบริษัทนายหน้า(Broker)ที่อยู่ในวงการหาผลประโยชน์จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ผ่านการประมูลขายทอดตลาดโดยกรมบังคับคดี โดยการจูงใจให้จ่ายค่าคำเนินการ(หรืออ้างว่าเป็นค่าดำเนินคดี)เพื่อให้เกิดการ“ระงับหรือหยุดการขายไว้ชั่วคราว”...ขอย้ำตรงคำว่า“ชั่วคราว”นะครับ...ไม่ใช่ระยะยาวหรือถาวร
ก็คือเป็นการหลอกกินเงินของจำเลย(ลูกหนี้)เพื่อเป็นการต่อท่อลมหายใจในตอนนี้ไปก่อน โดยไม่ให้หมดลมหายใจตายในตอนนี้ แต่ปล่อยให้ไปตายในภายภาคหน้าเมื่อหมดเวลาต่อท่อลมหายใจแล้ว


การถอนอายัด จากกรมบังคับคดี สามารถทำได้ตลอดการขายทอดตลาดเลยหรือเปล่าครับ ? ถ้าเราเคลียร์กับเจ้าหนี้ได้?

ใช่ครับ ถ้าคุณมีเงินก้อนไปจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้ทั้งหมด(ห้ามผ่อนโดยเด็ดขาด) โดยไปชำระเงินที่กองวางทรัพย์ของกรมบังคับคดี
เสร็จแล้วก็เอาใบเสร็จที่ไปจ่ายชำระนี้ ไปยื่นทำเรื่องไถ่ถอนการอายัด พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนการอายัด ร้อยละ 2 หรือร้อยละ 3 หรือร้อยละ 3.5 (ขึ้นอยู่กับว่าถูกฟ้องเป็นกฎหมายฉบับเก่า หรือกฎหมายฉบับใหม่) ซึ่งคิดจากราคาทรัพย์สินนั้นๆ หรือจากมูลหนี้ที่ศาลพิพากษา โดยพิจารณาจากคดี หรือมีการซื้อขายกันก่อนการขายทอดตลาดหรือไม่


เรื่องล้มละลายนี้ ยังอีกนานไหมครับ? คิดแล้วหวั่นๆ

คุณก็ไปดูในหมายศาลที่เจ้าหนี้มันส่งฟ้องคุณสิครับ ว่ามันเป็นคดีอะไร?
ถ้ามันเขียนว่า "คดีแพ่ง ล้มละลาย"...ก็แสดงว่าเป็นล้มละลายจริงๆ
แต่ถ้าไม่ได้เขียนเป็นแบบนั้น ก็ไม่ใช่ล้มละลาย...มันก็แค่นั้นเอง


ถามขั้นตอนการประมูล ขายทอดตลาดหน่อยครับ

ขออธิบายในทางปฏิบัติของการขายทอดตลาดนะครับ

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ ได้วางหลักไว้ว่า

ในวันที่มีการขายทอดตลาด เมื่อมีผู้เสนอราคาสูงสุดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ (ในทางปฏิบัติคือ มีคนรับราคาประเมินเจ้าพนักงาน) บุคคลต่อไปนี้มีสิทธิคัดค้านราคาได้ คือ
1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (โจทก์ในคดีเดิม)
2. ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (จำเลยในคดีเดิม) หรือ
3. ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี (เช่น ผู้รับจำนองในกรณีมีการรับจำนองหลายราย , ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ฯลฯ)

ซึ่งการคัดค้านราคาต่ำเกินสมควรนั้น จะคัดค้านโดยไม่บอกราคาที่ประสงค์จะคัดค้านก็ได้ หรือจะบอกราคาที่ตนเห็นว่าสมควรก็ได้ครับ

ถ้ามีผู้รับราคาตามที่มีการคัดค้าน เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป

แต่ถ้ามีการคัดค้านโดยไม่ระบุราคา หรือไม่มีคนรับราคาตามที่มีผู้คัดค้านเสนอราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปนัดหนึ่งก่อนครับ

เหตุผลที่ให้เลื่อน ตาม มาตรา 309 ทวิ คือ ให้เวลาแก่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนที่คัดค้าน ไปหาผู้ที่สนใจจะซื้อทรัพย์สินนั้นในราคาที่ตนเองต้องการ แล้วให้พามาในวันที่มีการนัดขายทอดตลาดในนัดถัดไป
ถ้าผู้คัดค้านไม่หาผู้สนใจเข้าซื้อในราคาที่ตนเองต้องการ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะต้องดำเนินการขายต่อไปตามปกติ โดยถือว่าผู้เข้าสู้ราคาที่รับราคาในการขายคราวที่แล้ว (ที่มีการคัดค้าน) เป็นผู้ผูกพันราคา

ในการขายครั้งที่สองนี้ เนื่องจากเป็นการผูกพันราคา ดังนั้น ราคาจึงยังคงยืนอยู่ที่ 80% ของราคาประเมิน ไม่ได้ลดไปเหลือ 50% ตามที่หลายท่านสงสัยนะครับ ราคาจะลดลงเหลือ 50% ต่อเมื่อการขายทอดตลาดครั้งก่อนหน้านั้น ไม่มีผู้สนใจเข้าสู้ราคาเลย

ดังนั้น ผลที่ปรากฏโดยปริยาย คือ บรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้มีส่วนได้เสีย ไม่มีสิทธิคัดค้านราคาอีกแล้วครับ เพราะว่าในครั้งแรกได้ใช้สิทธิคัดค้านราคาไปแล้ว และมาในการขายนัดต่อมา ถ้าตนไม่ได้นำผู้ที่จะซื้อทรัพย์นั้นในราคาที่ตนต้องการมาด้วย ก็ถือว่าตนได้ใช้สิทธิทางกฎหมายไปแล้วนะครับ

เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ ถ้าให้คัดค้านราคาได้ไม่รู้จบ ก็คงจะขายทรัพย์สินกันไม่ได้เลย ซึ่งผลเสียก็จะตกแก่ตัวลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นเองล่ะครับ เพราะดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ก็ต้องเพิ่มพูนขึ้น ขายได้เร็ว ก็มีเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เร็วขึ้น ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลงครับ

ข้อยกเว้น : การขายทอดตลาดครั้งหนึ่ง อาจมีการขายทอดตลาดหลายครั้งได้ครับ เช่น
- ในวันประกาศขายนัดแรก โจทก์มาดูแลการขาย แต่จำเลยไม่มา ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่มา
- มีผู้เสนอราคาสูงสุด โจทก์คัดค้านไม่กำหนดราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องเลื่อนการขายออกไป ตามมาตรา 309 ทวิ
- ในวันประกาศนัดสอง โจทก์มาดูแลการขาย จำเลยมาดูแลการขาย ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่มา
- ผู้เสนอผูกพันราคา โจทก์ไม่มีสิทธิคัดค้านราคาแล้ว แต่จำเลยยังไม่เคยใช้สิทธิคัดค้าน ดังนั้น ในนัดสอง จำเลยจึงยังมีสิทธิขอคัดค้านราคาได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องเลื่อนการขายไปเป็นนัดสาม
- ในวันประกาศนัดสาม โจทก์ จำเลย และผู้ร้องขอเฉลี่ยมาดูแลการขายหมด โจทก์-จำเลย หมดสิทธิคัดค้านแล้ว แต่ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ยังมีสิทธิคัดค้านได้ครับ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องเลื่อนการขายเหมือนเดิมครับ
- ในวันประกาศนัดสี่ ไม่มีคนที่มีสิทธิค้านแล้วครับ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องขายให้แก่ผู้ที่ผูกพันราคาตามกฎหมาย

แต่ถ้าในวันประกาศนัดแรก โจทก์-จำเลย-ผู้มีส่วนได้เสียฯ มาดูแลการขายพร้อมกันหมดทุกคน ก็ต้องแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะที่มีการขายไปเลยนะครับ ว่าจะคัดค้าน หรือไม่คัดค้าน จะอ้างว่า โจทก์คัดค้านราคาไว้แล้ว จำเลยเลยจะขอกั๊กเอาไว้คัดค้านในนัดต่อไปไม่ได้นะครับ เพราะถือว่ามาแล้วต้องใช้สิทธิคัดค้านราคาเอาไว้ทันที ถ้าไม่ใช้สิทธิ ถือว่าไม่คัดค้านทั้งหมดครับ


เห็นในเอกสารเขียนว่า ผู้เข้าสู้ราคา ต้องวางหลักประกัน สองแสนบาท

อันนี้แล้วแต่กรณีครับ แต่หลักโดยทั่วๆไปก็คือ

ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องวางเงินเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนเงินคนละ 50,000.- บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ

อย่าลืมว่า"ผู้เข้าสู้ราคา"หมายถึง ผู้เข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อทรัพย์นะครับ จะต้องวางหลักทรัพย์ตามที่กฏหมายกำหนด
ไม่ใช่"ผู้คัดค้านราคา"ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย อันนั้นไม่ต้องวางเงินประกัน เพราะไม่ได้มาซื้อ แต่มาเพื่อค้านราคา


สามารถไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน Web นี้ได้นะครับ
www.led.go.th/dbases/pdf/manual-buyers-th.pdf

.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
สมาชิกต่อไปนี้บอกขอบคุณ: Ly89, Nok2865, Pych

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.694 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena