เจ้าหนี้สามารถยึดบ้านและที่ดินนี้ได้หรือไม่

5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #105856 โดย ncteera
สวัสดีค่ะ รบกวนเรียนสอบถามค่ะ

เนื่องจากปัจจุบันเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ประมาณ 2 แสนบาทค่ะ หยุดจ่ายตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2561 อยู่ระหว่างรอฟ้อง ทรัพย์สินไม่มีเป็นชื่อตัวเองค่ะ แต่จะมีบ้านและที่ดินของคุณพ่อ ซึ่งชื่อเป็นของคุณพ่อ แต่คุณพ่อได้เสียชีวิตไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และได้ดำเนินการที่ศาล มีคำสั่งให้คุณแม่เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่บ้านและที่ดินนี้ ยังไม่ได้ไปโอนเป็นชื่อคุณแม่ มีเพียงแต่ในทะเบียนบ้าน แม่เป็นเจ้าบ้านแล้วเท่านั้น

คำถามคือ เจ้าหนี้ สามารถยึดทรัพย์บ้านและที่ดินนี้ได้หรือไม่คะ ชื่อเราในทะเบียนบ้านเป็นเพียงผู้อาศัย

ขอบคุณค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #105857 โดย eakkachai
บ้านและที่ดินไม่ใช่ของลูกหน๊้ ไม่น่ายึดได้เพราะสถานะเราแค่ผู้อาศัยอยู่ คุณพึ่งหยุดจ่ายเก็บเงินใว้ครับกว่าจะถึงตอนนั้นอีกนาน เขาต้องประนอมหนี้ก่อน ต้องรอฟ้องศาลก่อน และศาลมีคำพิพากษาก่อน เขาถึงจะบังคับคดียึดได้ เราเก็บเงินใวอย่าให้ไปถึงเขาฟ้องครับ ไม่ต้องเครียดขนาดนั้น


กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)



- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี(จพค.) ทำการตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็น “เจ้าบ้าน”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ หากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตู หรือถูก Lock อยู่ จพค.สามารถใช้อำนาจในการเปิดบ้าน เพื่อทำการยึดทรัพย์ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ได้ เนื่องจากกฏหมายระบุไว้ว่า หากผู้ใดที่มีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”ก็ให้สันนิษฐานว่าทรัพย์สินใดๆที่อยู่ในบ้านของเจ้าบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านเอาไว้ก่อนเป็นหลัก ดังนั้นหากลูกหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”หลังใด ก็สามารถยึดทรัพย์ที่อยู่ภายในบ้านหลังนั้นได้ ถึงแม้นว่าจะถูกปิดประตูอยู่ก็ตาม
โดยอาศัยขั้นตอนให้เจ้าหนี้แถลงความรับผิดชอบ เชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นสักขีพยาน , ตามช่างกุญแจมา ไข/งัด/หรือทุบทำลาย วัสดุที่ใช้ Lock บ้าน , มีการบันทึกภาพถ่ายหรือวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน , ลงบันทึกประจำวัน



- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี(จพค.) ตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นแค่ “ผู้อาศัย”

จพค.ก็อาจไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆได้ เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่า หากลูกหนี้อาศัยอยู่ที่ไหน ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ควรอยู่กับลูกหนี้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย แต่ถ้าหากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตูหรือ ถูก Lock อยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่สามารถ ไข/งัด/หรือทุบทำลาย สิ่งที่ใช้ Lock บ้าน ในการเปิดบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ได้เลย ไม่เหมือนกับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้าน เพราะบุคคลที่อยู่ในฐานะ“เจ้าบ้าน” ก็ได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เจ้าบ้านก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในบ้านเช่นกัน และมีน้ำหนักหลักฐานที่ดีกว่าทางฝ่ายลูกหนี้ ที่เป็นฐานะผู้อาศัยภายในบ้าน

ในกรณีนี้ หาก จพค.จะทำการเข้าไปตรวจสอบหรือยึดทรัพย์ภายในบ้านหลังนั้น จะต้องได้รับการ“อนุญาต”จากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”เสียก่อน เพราะผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แถมยังมีน้ำหนักแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้าน สูงมากกว่าผู้อาศัย

ดังนั้น...
หากเจ้าบ้านอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าไปในตัวบ้านได้ แล้วหลังจากนั้นมีการโต้แย้งจากทางเจ้าหนี้ว่า ทรัพย์ที่ตรวจพบภายในบ้าน เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีหลักฐานมาแสดงยืนยัน โดยผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านไม่มีหลักฐานโต้แย้งกลับ ก็ให้ทำการยึดทรัพย์นั้นๆ

แต่ถ้าหาก“เจ้าบ้าน”ออกมาแสดงตน พร้อมกับหลักฐานความเป็น“เจ้าบ้าน”ต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ.ที่หน้าบ้านของตนเอง พร้อมกับยืนยันว่า ทรัพย์สินทุกอย่างภายในบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านแต่เพียงผู้เดียว...“ผู้อาศัย”(ลูกหนี้)ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้านแต่อย่างใด แค่มาอาศัยอยู่เท่านั้น
ให้ถือว่า“เจ้าบ้าน”เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวตามที่แจ้ง และให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี “งดยึด” แล้วทำรายงานต่อไปยังศาล เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดชอบการยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 ต่อไป

***หมายเหตุ***
หากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”(ที่มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ยังไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกอื่นใดเข้ามาในตัวบ้าน แต่บุคคลภายนอกอื่นใดเข้าไปภายในอาณาบริเวณพื้นที่ครอบครองของ“เจ้าบ้าน” โดยที่ยังไม่ได้รับการ“อนุญาต” จะต้องมีความผิดในข้อหา“บุกรุกเคหสถาน”

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #105858 โดย ncteera
ขอบคุณมากค่ะ รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนิดนึงค่ะ ส่วนใหญ่กว่าจะถึงขั้นตอนฟ้องร้อง นานแค่ไหนคะ
จะได้คำนวนการเก็บเงิน เพื่อจ่ายก่อนถูกฟ้องค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา - 5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #105859 โดย eakkachai
นานไหมตอบไม่ได้ครับ ขึ้นอยู่กับสถานะเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมูลค่าหนี้ด้วย ถ้าหนี้เยอะอาจฟ้องเร็ว แต่อย่าพลาดหมายศาลส่งไปที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ่าน ส่วนมากหลัง4เดือนไปแล้วหรือเกือบสองปีก็ได้ หมายศาลหน้าตาเป็นเล่มจะเหมือนสมุดรายงานมีรายละเอียดทุกอย่าง

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

5 ปี 7 เดือน ที่ผ่านมา #105860 โดย ncteera

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #111097 โดย ncteera
อัพเดทค่ะ ปัจจุบันเป็นคดีแดง

ขอเรียนสอบถามเพิ่มคือ
บ้านถือเป็นบ้านมรดกที่เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ได้หรือไม่คะ เพราะณ ปัจจุบัน ศาลให้คุณแม่เป็นผู้จัดการมรดก (ดำเนินการตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วตั้งแต่พ่อเสีย) แต่ยังไม่ได้ทำการโอนต่อเป็นชื่อคุณแม่
ปัจจุบันกรรมสิทธิ์ยังเป็นชื่อคุณพ่อที่เสียไปแล้ว และชื่อเราในทะเบียนบ้านเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

4 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #111101 โดย jackTs

ncteera เขียน: อัพเดทค่ะ ปัจจุบันเป็นคดีแดง

ขอเรียนสอบถามเพิ่มคือ
บ้านถือเป็นบ้านมรดกที่เจ้าหนี้สามารถยึดทรัพย์ได้หรือไม่คะ เพราะณ ปัจจุบัน ศาลให้คุณแม่เป็นผู้จัดการมรดก (ดำเนินการตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วตั้งแต่พ่อเสีย) แต่ยังไม่ได้ทำการโอนต่อเป็นชื่อคุณแม่
ปัจจุบันกรรมสิทธิ์ยังเป็นชื่อคุณพ่อที่เสียไปแล้ว และชื่อเราในทะเบียนบ้านเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ


กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สิน ภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&view=topic&catid=7&id=2194&Itemid=64




ความรู้ต่างๆ มีอยู่ในนี้หมดแล้ว

www.debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&catid=7&Itemid=64&view=category&limitstart=0&limit=20


.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ผู้ดูแล: MommyangelBadmankonsiam
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.427 วินาที
ขับเคลื่อนโดย ระบบฟอรัม Kunena